Skip to main content

 

            ในยุคนี้คงไม่มีใครปฏิเสธหลักการที่เรียกว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาคส่วนไหนก็ได้นำหลักการนี้มาปรับใช้กับการทำงานและแสดงออกว่าเป็นภาพลักษณ์หลักขององค์กรตนเอง

            ภาครัฐนำหลักการนี้มาเป็นกรอบในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ทั้งหลายจนกลายมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีที่วางอยู่บนรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            บรรษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มุ่งหวังจะก้าวไปเป็นองค์กรระดับโลกก็สร้างความร่วมมือกับโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อปรับภาพลักษณ์องค์กรตนเองที่โดนถาโถมจากหลายภาคส่วน โดยจัดวางองค์กรตนเองให้มุ่งไปสู่การเป็นบริษัทที่มีเป้าหมายและกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

            แต่คำถามที่ยังคาใจใครหลายๆ คน คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนทำอย่างไร และหลักการใดบ้างที่เป็นแก่นในการพิจารณาว่าการพัฒนานั้นยั่งยืนจริง

            หลักการที่จะหยิบมาพูดในบทความนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในสังคมไทยที่คนรุ่นใหญ่เริ่มออกมาตักเตือน สั่งสอน คนรุ่นใหม่ ให้คิด วิเคราะห์แยกแยะ ว่า ให้ระวังอะไร เลือกอะไร ในลักษณะกึ่งชี้นำเมื่อองศาทางการเมืองเริ่มจะเดือดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาตัดสินใจที่ใกล้จะถึงวันหย่อนบัตร

            การปะทะกันทางความคิดและโวหารระหว่างคนต่างรุ่นจึงเกิดขึ้น วาทะประเภท “อาบน้ำร้อนมาก่อน” หรือ “ลำเลิกบุญคุณ” จึงกลายมาเป็นแนวทางหลักของคนรุ่นเก่าที่เริ่มเพลี่ยงพล้ำในเวทีการถกเถียงเชิงเหตุผล

            ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่น้อยก็ตั้งข้อกังขาว่าคนรุ่นเก่าได้ทิ้งสมบัติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอะไรไว้ให้พวกเขา โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยได้ผ่านยุคสมัยแห่งความโกลาหลทางการเมืองมาเกินกว่าหนึ่งทศวรรษ

            หลักการที่นำมาวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ดี คือ หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุค (Inter-Generation Justice)

            หลักการนี้ปรากฏอยู่เป็นส่วนหนึ่งของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนเคียงคู่กับหลักการอื่นๆ โดยหลักการที่เกี่ยวข้องและสร้างความเข้าใจต่อหลักการนี้อย่างเห็นได้ชัด คือ หลักการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ในการตัดสินใจเรื่องใดๆที่จะมีผลกระทบในวงกว้าง จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามารับรู้ข้อมูล แสดงออกถึงจุดยืนและความคิดเห็น ไปจนถึงการร่วมกำหนดอนาคตด้วยการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ หรือลงคะแนนเสียง

            หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุคได้สร้างพันธะข้ามกาลเวลาเพื่อกระตุ้นเตือนคนในยุคต่าง ๆ ด้วยว่า การตัดสินใจใด ๆ ก็ตาม ย่อมสร้างผลลัพธ์ตามมาสู่คนรุ่นหลักด้วย   ดังนั้นการเลือกทำหรือไม่ทำอะไรในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งได้กลุ่มหนึ่งเสีย จะต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อคนในยุคหลังด้วย

            ไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันจึงได้ตั้งคำถามเอากับคนรุ่นใหญ่ว่า เหตุใดตนจึงต้องมาอยู่ท่ามกลางสภาวะความเสี่ยงภัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความคับข้องทางการเมืองที่ตนไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย แม้กฎหมายจะกำหนดไว้ว่าตนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะร่วมกำหนดอนาคตของชาติได้ก็ตาม

            ยิ่งไปกว่านั้นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับสภาวะการจ้างงานยืดหยุ่นไร้ความมั่นคง สืบเนื่องมาจากนโยบายทางเศรษฐกิจและกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคมมิได้รองรับความด้อยสิทธิของคนทำงานในรูปแบบการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายอย่าง ฟรีแลนซ์ ช่างฝีมืออิสระ หรือผู้ประกอบการรายย่อย ย่อมเป็นตัวกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ ต้องการให้มีโครงการทางการเมืองหรือพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจสถานการณ์ของพวกเขาเสนอนโยบายมารองรับปัญหาใหม่ ๆ เหล่านี้

            ในทางสังคมการอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาเป็นระยะเกินกว่าสิบปีได้ทวีความเกลียดชังหรือไม่ไว้วางใจระหว่างกลุ่มคนให้กว้างขวาง หลายกรณีเกิดเป็นความรังเกียจเดียดฉันท์ถาวร ทำให้บั่นทอนภราดรภาพของผู้คนในสังคมจนผลักดันให้เกิดความเปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมมาจากทั่วโลกอย่างมหาศาล การขาดไร้ซึ่งขบวนการทางสังคมที่สามารถรองรับคนรุ่นใหม่ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างหลากหลาย มิใช่การบังคับให้รัก ชอบ ยึดมั่นถือมั่นสถาบันสังคมเพียงบางอย่าง จึงกลายเป็นการฝืนใจคนรุ่นใหม่จำนวนมาก

            สืบเนื่องไปถึงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะปลีกย่อยไปตามความสนใจและถนัดของแต่ละคนที่กระตุ้นเร้าไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสาร  การบังคับให้เชื่อค่านิยมเดียว กระทำการร่วมกันแบบวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว เช่นการไล่ให้ไปฟังเพลงๆเดียว ที่เปิดไว้ให้คนเกลียดชังกันเมื่อครั้งสงครามเย็น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรู้ไม่เท่าทันของคนรุ่นเก่า

            ความเปลี่ยนแปลงมาเร็วและแรง แต่ทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน หากคนรุ่นใหญ่อยากจะเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ การรับฟังเสียงที่ต่างไปจากตนอย่างนอบน้อม และติดตามความหลากหลายที่คนรุ่นใหม่พยายามสะท้อนให้ได้ยินได้ฟังอย่างสุภาพ ย่อมเป็นขุมทรัพย์ทางข่าวกรองอันมีมูลค่ามหาศาลกว่าการจ้างหน่วยปฏิบัติการข่าวใดๆทั้งสิ้น

            บรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายทยอยปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เช่นเดียวกับประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศขนาดใหญ่ระดับโลก เพราะล้วนมองเห็นว่าอนาคตยังคงต้องส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป อยู่ที่ว่าคนรุ่นเก่าจะส่งอะไรไปให้กับคนรุ่นถัดไป

            หากส่งของเสียเน่าพังไปให้ก็ไม่พ้นต้องได้รับคำประณามดุจคำปราศรัยของ  Greta Thunberg ในเวทีประชุมสิ่งแวดล้อมโลก

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว