Skip to main content

 

            ในยุคนี้คงไม่มีใครปฏิเสธหลักการที่เรียกว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาคส่วนไหนก็ได้นำหลักการนี้มาปรับใช้กับการทำงานและแสดงออกว่าเป็นภาพลักษณ์หลักขององค์กรตนเอง

            ภาครัฐนำหลักการนี้มาเป็นกรอบในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ทั้งหลายจนกลายมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีที่วางอยู่บนรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            บรรษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มุ่งหวังจะก้าวไปเป็นองค์กรระดับโลกก็สร้างความร่วมมือกับโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อปรับภาพลักษณ์องค์กรตนเองที่โดนถาโถมจากหลายภาคส่วน โดยจัดวางองค์กรตนเองให้มุ่งไปสู่การเป็นบริษัทที่มีเป้าหมายและกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

            แต่คำถามที่ยังคาใจใครหลายๆ คน คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนทำอย่างไร และหลักการใดบ้างที่เป็นแก่นในการพิจารณาว่าการพัฒนานั้นยั่งยืนจริง

            หลักการที่จะหยิบมาพูดในบทความนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในสังคมไทยที่คนรุ่นใหญ่เริ่มออกมาตักเตือน สั่งสอน คนรุ่นใหม่ ให้คิด วิเคราะห์แยกแยะ ว่า ให้ระวังอะไร เลือกอะไร ในลักษณะกึ่งชี้นำเมื่อองศาทางการเมืองเริ่มจะเดือดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาตัดสินใจที่ใกล้จะถึงวันหย่อนบัตร

            การปะทะกันทางความคิดและโวหารระหว่างคนต่างรุ่นจึงเกิดขึ้น วาทะประเภท “อาบน้ำร้อนมาก่อน” หรือ “ลำเลิกบุญคุณ” จึงกลายมาเป็นแนวทางหลักของคนรุ่นเก่าที่เริ่มเพลี่ยงพล้ำในเวทีการถกเถียงเชิงเหตุผล

            ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่น้อยก็ตั้งข้อกังขาว่าคนรุ่นเก่าได้ทิ้งสมบัติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอะไรไว้ให้พวกเขา โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยได้ผ่านยุคสมัยแห่งความโกลาหลทางการเมืองมาเกินกว่าหนึ่งทศวรรษ

            หลักการที่นำมาวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ดี คือ หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุค (Inter-Generation Justice)

            หลักการนี้ปรากฏอยู่เป็นส่วนหนึ่งของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนเคียงคู่กับหลักการอื่นๆ โดยหลักการที่เกี่ยวข้องและสร้างความเข้าใจต่อหลักการนี้อย่างเห็นได้ชัด คือ หลักการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ในการตัดสินใจเรื่องใดๆที่จะมีผลกระทบในวงกว้าง จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามารับรู้ข้อมูล แสดงออกถึงจุดยืนและความคิดเห็น ไปจนถึงการร่วมกำหนดอนาคตด้วยการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ หรือลงคะแนนเสียง

            หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุคได้สร้างพันธะข้ามกาลเวลาเพื่อกระตุ้นเตือนคนในยุคต่าง ๆ ด้วยว่า การตัดสินใจใด ๆ ก็ตาม ย่อมสร้างผลลัพธ์ตามมาสู่คนรุ่นหลักด้วย   ดังนั้นการเลือกทำหรือไม่ทำอะไรในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งได้กลุ่มหนึ่งเสีย จะต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อคนในยุคหลังด้วย

            ไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันจึงได้ตั้งคำถามเอากับคนรุ่นใหญ่ว่า เหตุใดตนจึงต้องมาอยู่ท่ามกลางสภาวะความเสี่ยงภัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความคับข้องทางการเมืองที่ตนไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย แม้กฎหมายจะกำหนดไว้ว่าตนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะร่วมกำหนดอนาคตของชาติได้ก็ตาม

            ยิ่งไปกว่านั้นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับสภาวะการจ้างงานยืดหยุ่นไร้ความมั่นคง สืบเนื่องมาจากนโยบายทางเศรษฐกิจและกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคมมิได้รองรับความด้อยสิทธิของคนทำงานในรูปแบบการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายอย่าง ฟรีแลนซ์ ช่างฝีมืออิสระ หรือผู้ประกอบการรายย่อย ย่อมเป็นตัวกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ ต้องการให้มีโครงการทางการเมืองหรือพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจสถานการณ์ของพวกเขาเสนอนโยบายมารองรับปัญหาใหม่ ๆ เหล่านี้

            ในทางสังคมการอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาเป็นระยะเกินกว่าสิบปีได้ทวีความเกลียดชังหรือไม่ไว้วางใจระหว่างกลุ่มคนให้กว้างขวาง หลายกรณีเกิดเป็นความรังเกียจเดียดฉันท์ถาวร ทำให้บั่นทอนภราดรภาพของผู้คนในสังคมจนผลักดันให้เกิดความเปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมมาจากทั่วโลกอย่างมหาศาล การขาดไร้ซึ่งขบวนการทางสังคมที่สามารถรองรับคนรุ่นใหม่ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างหลากหลาย มิใช่การบังคับให้รัก ชอบ ยึดมั่นถือมั่นสถาบันสังคมเพียงบางอย่าง จึงกลายเป็นการฝืนใจคนรุ่นใหม่จำนวนมาก

            สืบเนื่องไปถึงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะปลีกย่อยไปตามความสนใจและถนัดของแต่ละคนที่กระตุ้นเร้าไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสาร  การบังคับให้เชื่อค่านิยมเดียว กระทำการร่วมกันแบบวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว เช่นการไล่ให้ไปฟังเพลงๆเดียว ที่เปิดไว้ให้คนเกลียดชังกันเมื่อครั้งสงครามเย็น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรู้ไม่เท่าทันของคนรุ่นเก่า

            ความเปลี่ยนแปลงมาเร็วและแรง แต่ทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน หากคนรุ่นใหญ่อยากจะเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ การรับฟังเสียงที่ต่างไปจากตนอย่างนอบน้อม และติดตามความหลากหลายที่คนรุ่นใหม่พยายามสะท้อนให้ได้ยินได้ฟังอย่างสุภาพ ย่อมเป็นขุมทรัพย์ทางข่าวกรองอันมีมูลค่ามหาศาลกว่าการจ้างหน่วยปฏิบัติการข่าวใดๆทั้งสิ้น

            บรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายทยอยปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เช่นเดียวกับประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศขนาดใหญ่ระดับโลก เพราะล้วนมองเห็นว่าอนาคตยังคงต้องส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป อยู่ที่ว่าคนรุ่นเก่าจะส่งอะไรไปให้กับคนรุ่นถัดไป

            หากส่งของเสียเน่าพังไปให้ก็ไม่พ้นต้องได้รับคำประณามดุจคำปราศรัยของ  Greta Thunberg ในเวทีประชุมสิ่งแวดล้อมโลก

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,