Skip to main content

ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์

เรามักจะจำกัดความคำว่ารัฐว่าประกอบด้วยอำนาจอธิปไตย ดินแดน และประชาชน ในขณะที่โลกไซเบอร์นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่นั้น การจำกัดความดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องที่จะนำมาใช้ในโลกไซเบอร์ และด้วยความที่โลกไซเบอร์นั้นกว้างกว่าอำนาจในมือของรัฐ ทางภาครัฐจึงมีความพยายามที่จะเข้ามากำกับดูแลเพื่อควบคุมการใช้งานของผู้ใช้ให้เป็นไปด้วยดีแต่ในขณะเดียวกันการที่รัฐเข้ามากำกับการใช้งานของประชาชนผู้ใช้งานก็อาจเป็นการลุกล้ำสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนและความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการมากขึ้นตามไปด้วย

ทั้งนี้การกำกับดูแลโลกไซเบอร์นั้นต้องอาศัยรูปแบบต่างๆมาพิจารณาและปรับใช้ประกอบ โดยศึกษารูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด , การใช้ตลาดเป็นตัวขับเคลื่อน, การกำกับตนเอง ,การกำกับโดยรัฐ และการร่วมมือกันกำกับ เพื่อหาวิธีที่ดีสุดมาปรับใช้อย่งเหมาะสม

รัฐบาลของประเทศซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างสหราชอาณาจักรก็เช่นกัน โดยมีข่าวว่าได้เตรียมออกมาตราการใช้กฎหมายด้านภาษีใหม่กับบริษัทเทคโนโลยีเพื่อหวังให้บริษัทเทคโนโลยีให้ความร่วมมือมากขึ้นกับทางการในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการการรักษาความปลอดภัยหรือใช้ในทางป้องกันการก่อการร้าย ด้วยเหตุที่ประเทศอังกฤษต้องเผชิญเหตุก่อการร้ายจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา  (https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000000019)

การที่รัฐบาลอังกฤษใช้กฎหมายภาษีเป็นเครื่องมือในการต่อรองบริษัทเจ้าของเทคโนโลยี จึงสะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลบนโลกไซเบอร์ได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของเทคโนโลยี แม้โลกไซเบอร์จะเป็นพื้นที่ๆ บันทึกสิ่งต่างๆ อันสามารถสืบย้อนติดตามได้เสมอแต่เมื่อไม่สามารถเปิดเผยได้ก็ไร้ความหมาย ภาครัฐจึงต้องหากลวิธีเพื่อบีบบังคับให้เอกชนเปิดเผยข้อมูลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยใช้วิธีเพิ่มภาษีเพื่อจูงใจให้เอกชนเจ้าของเทคโนโลยีให้ร่วมมือในการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ การกระทำดังกล่าวยิ่งแสดงให้เห็นว่ามีรูปแบบการใช้เทคโนโลยีในการกำกับโดยอำนาจในการกำกับโลกไซเบอร์เป็นของเจ้าของเทคโนโลยีอย่างแท้จริง

การที่รัฐใดรัฐหนึ่งจะเข้ามาควบคุมโลกไซเบอร์ที่ไร้ขอบเขตจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้งบนโลกไซเบอร์ที่ไร้พรมแดนก็ไม่มีรูปแบบการปกครองชัดเจนที่สามารถมาใช้บังคับกับผู้ใช้งานในทุกๆ ประเทศได้ ประกอบกับการระบุตัวตนของบุคคลผู้ใช้งานบนโลกไซเบอร์นั้นมีข้อจำกัด บ้างก็ไม่สามารถตรวจสอบตัวตนได้ บ้างก็มีหลายบัญชีผู้ใช้งานทำให้การจะบังคับต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะจึงเป็นเรื่องที่ยากในการติดตามและระบุตัวตนผู้ใช้งาน รัฐจึงต้องร่วมมือกับเอกชนในการให้ข้อมูลหรือออกมาตรการควบคุมต่างๆ เพื่อแสวงหาข้อมูลที่ภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงได้

แต่ในขณะเดียวกันหากการเพิ่มภาษีนี้ทำให้ภาคเอกชนยอมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ การกระทำดังกล่าวอาจเป็นการละเมิดสิทธิพื้นฐานด้านเสรีภาพของประชาชนโดยที่ประชาชนไม่อาจทราบหรือได้รับความยินยอม ทั้งยังส่งผลต่อความไว้วางใจที่ผู้ใช้งานบนโลกไซเบอร์ที่มีต่อเจ้าของเทคโนโลยีที่มีนั้นลดลงและอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจให้มีปัญหาตามไปด้วย

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อหาสมดุลของแต่ละฝ่ายจึงต้องมีความร่วมมือกันเพื่อไม่กระทบต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกินไปโดยอาจใช้วิธีการกำกับร่วมช่วยกันสอดส่องดูแล ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับระบบการปกครองในแต่ละรัฐ อาทิเช่น เผด็จการ ทุนนิยม เสรีนิยม เป็นต้น เพื่อนำมาปรับใช้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

นภัสสร์   ฟ้าสะท้อน

 

 

 

ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่โลกไซเบอร์

ประเด็นข้อมูลข่าวสารปลอม ที่เกิดขึ้นในสังคมดิจิทัล มีประเด็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าขบคิดและเฝ้าสังเกตการณ์ว่า   แท้จริงแล้ว ใครคือผู้มีอำนาจในพื้นที่ไซเบอร์ อันเป็นพื้นที่ไร้พรมแดนและพื้นที่ที่ค่อนข้างใหม่  โดยพื้นที่ไซเบอร์มีส่วนคล้ายกับพื้นที่ทางกายภาพที่อยู่บนโลกที่แท้จริงของเราคือการแย่งชิงพื้นที่ของกันและกัน หากแต่พื้นที่ในโลกไซเบอร์นั้น ไม่อาจจะจับต้องได้ดังพื้นที่กายภาพในโลกความเป็นจริง พื้นที่ในที่นี้จึงอาจจะหมายถึงที่ว่า ใครสามารถดึงดูดหรือจูงใจให้ผู้รับข้อมูลมีอารมณ์ร่วมหรือสามารถคล้อยตามสื่อที่ผู้ส่งสารต้องการแสดงออกมาได้มากกว่า เพราะถ้าหากยิ่งมีผู้ใช้งานหรือผู้ติดตามมากเท่าใด นั่นก็แสดงถึงความกว้างใหญ่ไพศาลของพื้นที่ทางโลกไซเบอร์ของระบบเครือข่ายเทคโนโลยีนั้นว่ามีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมากเท่านั้น

จริงอยู่ที่ว่าหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารปลอม อาจจะเป็นหน้าที่ของรัฐหรือผู้ประกอบการด้านสื่อสารมวลชนเสียมากกว่าโดยตามหลักการ แต่ทว่า ทุกท่านต้องตระหนักว่า ผู้บริโภค หรือ ผู้เสพข่าวนั้นก็ถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่อาจจะส่งผลต่อการมีอยู่หรือถูกกำจัดทิ้งของข้อมูลข่าวสารปลอมเหล่านั้นได้ เนื่องจากว่า เมื่อมีข้อมูลข่าวสารปลอมเกิดขึ้น บุคคลที่จะเห็นเป็นคนแรกไม่ใช่ภาครัฐหรือผู้ประกอบการด้านการสื่อสารมวลชนที่ถูกแอบอ้างหรือได้รับผลกระทบ หากแต่เป็นบุคคลผู้ที่ใช้social media อยู่เป็นประจำ นั่นก็คือผู้ใช้งานทั่วไป หรือ ประชาชนทั่วๆไปนั่นเอง ที่จะเป็นกลุ่มบุคคลแรกๆในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ เพราะกว่าที่ภาครัฐหรือผู้ประกอบการจะสังเกตเห็นความผิดปกติ ก็อาจจะล่าช้าเกินไปเสียแล้ว เนื่องจากต้องรอประชาชนผู้รู้เห็นข้อมูลดังกล่าวมาแจ้ง หรือ ต้องรอให้เจ้าหน้าที่เห็นก่อน ซึ่งก็แน่นอน ว่าการที่เจ้าหน้าที่เห็นรวดเร็วเกินไปอาจจะถูกหัวหน้างานมองได้ว่าเล่นอินเทอร์เน็ตในขณะชั่วโมงการทำงานก็เป็นได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคนั้น ถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่ส่งผลกระทบต่อการมีอยู่ของข้อมูลข่าวสารเท็จเหล่านั้นโดยตรง หรืออาจจะกล่าวว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อข้อมูลเหล่านั้น เนื่องจากว่า กลุ่มผู้เสพสื่อsocial media เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดมากกว่าภาครัฐหรือผู้ประกอบการหลายเท่าตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการสอดส่องกำกับดูแลในเรื่องข่าวปลอมจะเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคเป็นหลักแต่เพียงฝ่ายเดียว จะต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานของภาครัฐควบคู่กันไปด้วย เช่น อาจจะเปิดให้มีการรับเรื่องราวร้องทุกข์ในประเด็นข่าวปลอมขึ้นมา และจัดตั้งองค์กรหนึ่งมาจัดการกับปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะ แม้อาจจะถือว่ากลุ่มผู้เสพ social media เป็นตลาดหลักและเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของปัญหาข่าวเท็จจริงนี้ แต่จะปล่อยให้หน้าที่การกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์มาเน้นอยู่ที่ผู้บริโภคฝ่ายเดียวเห็นจะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรก็เป็นได้ ดังประโยคที่ว่า ไม่มีผู้เสพ ก็ไม่มีสื่อ แต่แม้มีสื่อ ก็ต้องมีผิด และเมื่อมีผิด ก็ต้องมีผู้แก้ นั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิงบทความที่ 3 : http://www.bbc.com/thai/thailand-41438401

เอกวุฒิ   ทองโสภา

 

ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์

ข่าว Instagram ประกาศข้อกำหนดและเงื่อนไข Privacy Policy ใหม่ มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของการนำข้อมูลของผู้ใช้ไปใช้ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และภาพถ่ายของผู้ใช้ทำให้ผู้ใช้ไม่มั่นใจและเกิดความไม่สบายใจในการนำข้อมูลบน instagram ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาตรา 27 และการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว(ภาพถ่าย) ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยมิชอบ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับในเรื่องนี้ยังเป็นเพียงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น ผู้ก่อตั้ง instagram ยืนยันว่าไม่มีนโยบายในการนำข้อมูลของผู้ใช้ไปใช้ หรือเข้าถึงเพื่อนำไปใช้ทางการค้าหรือโฆษณา ทาง Instragram มีการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดและเงื่อนไขด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว โดยไม่สอบถามความยินยอมแก่ผู้ใช้งาน มีข้อความทำให้เข้าใจผิดว่าทาง Instragram จะนำภาพของผู้ใช้งาน เป็นตัวแบบการกำกับตนเอง (Self-Regulation) ใช้อำนาจในการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ตามอำเภอใจในฐานะของผู้ให้บริการโดยไม่มีการควบคุมดูแลจากรัฐ และผลที่ตามมาคือ ผู้ใช้งานเกิดความไม่พอใจในการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว ที่ดูเหมือนเป็นการนำภาพของผู้อื่นไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว โดยใช้กรรมสิทธิ์ของตนเองที่เป็นผู้ก่อตั้ง ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ขององค์กร

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.it24hrs.com/2012/privacy-and-terms-of-service-changes-on-instagram/

นภาวรรณ   พิมสวน

 

 

 

ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์

บีบีซี เผย “ผลวิจัยชี้รัฐบาลแทรกแซงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ทอนเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นออนไลน์”

            รายงานประจำปีของฟรีดอมเฮาส์ฉบับนี้ ศึกษาเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตใน 65 ประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 87 ของประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก พบว่าเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตลดลงเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน ในขณะที่รัฐบาลเพิ่มความพยายามควบคุมสิ่งที่ประชาชนสื่อสาร แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแบ่งปันออนไลน์ หรือ แชร์สิ่งต่าง ๆ ในวงกว้าง ในรูปแบบวิธีการ ดังเช่น

  • บอท ที่คอยสะท้อนข้อความอย่างเป็นทางการของรัฐ
  • การว่าจ้างผู้นำความคิด ให้คอยสื่อสารมุมมองที่สนับสนุนรัฐบาล
  • เว็บไซต์ข่าวเท็จ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน
  • การก่อกวนเป็นรายบุคคล ที่ทำให้นักวิจารณ์ต้องเสียเวลาไปกับการรับมือ

            นอกจากวิธีดังกล่าวที่เป็นวิธีที่เห็นได้ยากยังมีวิธีการดังเช่น การบล็อกการเข้าถึงเนื้อหาของตัวเว็บไซต์ต่างๆที่รัฐไม่ต้องการที่จะให้ประชาชนได้รับทราบถึงเนื้อหานั้นๆ

            จากผลสำรวจดังกล่าวของฟรีดอมเฮาส์ ทำให้ทราบถึงการแทรกแซงของอำนาจรัฐที่อยู่เนื้อเสรีภาพในโลกไซเบอร์ รัฐต้องการจะควบคุมกับกำพื้นที่ของการดำเนินกิจกรรมต่างๆบนโลกไซเบอร์ของประชาชน การปล่อยให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการควบคุมกำกับดูแลมากไปนั้น ทำให้เสรีภาพในโลกไซเบอร์ ที่ประชาชนนั้นต้องการความเป็นอิสระอย่างมากในโลกเสมือนจริงนี้ ไม่ต้องการการควบคุมหรือแทรกแซงของรัฐที่เป็นการจำกัดสิทธิ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การกระทำต่างๆยังคงมีอำนาจของรัฐที่เข้ามาแทรกแซงอยู่ตลอดเวลาแม้เราจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งความจริงรัฐยังคงมีอำนาจเหนือความเป็นเจ้าของของประชาชนคือยังคงสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาได้

หลักการกำกับดูแลพื้นที่ในโลกไซเบอร์ ที่ผู้ใช้นั้นกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆออกจากการรวมศูนย์อำนาจผูกขาดของรัฐไปยังผู้เล่น การธำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางของอินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ การกำกับที่หลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับควบคุม จะต้องเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายในระบอบการจัดการพื้นที่ร่วมในโลกไซเบอร์ เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนต่างๆ เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ไม่มีฝ่ายใดมีอำนาจในการควบคุมโลกไซเบอร์ต่างๆเพียงฝ่ายเดียว รัฐต้องกระจายอำนาจความเป็นเจ้าของให้กับส่วนต่างๆ คุ้มครองความปลอยภัยของการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตของประชาชน ไม่ให้ถูกจำกัดขอบเขตและถูกสอดส่องจากรัฐโดยไม่แจ้งให้ทราบ ทั้งนี้การเลือกรูปแบบในการกำกับโลกไซเบอร์ก็สำคัญต่อการที่จะบรรลุเป้าหมายของกระการจายอำนาจ

(http://www.bbc.com/thai/international-41993512)

อรกมล   อรุณปรีย์

 

 

ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลไซเบอร์

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ถือเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ การโจมตีทางไซเบอร์มีหลายรูปแบบ เช่น การเจาะระบบคอมพิวเตอร์ การสอดแนมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสปายแวร์ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์  การโจมตีโดยชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ หรือการรุมสอบถามข้อมูลจนระบบล่ม เป็นต้น  ซึ่งไทยพยายามสร้างนโยบายให้บูรณาการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือ การสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการทั้งทางเทคนิคและทางกฎหมาย รวมถึงการกำกับดูแลตนเอง และการกำกับดูแลร่วมกันของบุคคล แม้มาตรการทางกฎหมายอาจมีความจำเป็นในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อันอาจกระทบถึงความมั่นคงของชาติ  จะเห็นได้ว่าความพยายามของรัฐบาลนี้ พยามจะกำกับและดูแลโลกไซเบอร์ให้เทียบเท่ากับโลกแห่งความเป็นจริง เพื่อสร้างความปลอดภัย และความมั่นคงในนั้น รัฐเองจึงมีความจำเป็นที่จะมีมาตรการในการดูแลและกำกับ โดยต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งความพยายามและการทำนโยบายชุดนี้ขึ้นและการออกกฎหมายไซเบอร์ของไทยนั้นควรมุ่งเน้นในการสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน ทำในลักษณะของการกำกับดูแลตนเอง และการกำกับดูแลร่วมกัน มากกว่าการใช้ตัวบทกฎหมาย ที่เข้มงวดเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบถึงสิทธิเสรีภาของประชาชนในการติดต่อสื่อสารได้

จากข้อความดังกล่าวทำให้เห็นว่าการกำกับดูแลและตัวกำกับในโลกไซเบอร์เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนที่ควรให้ความร่วมมือและกำกับดูแลร่วมกัน บนพื้นฐานที่ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศ โดยปรับให้เข้ากับหลักปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของ Free Speech เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการแสดงออกความคิดเห็น อย่างเช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560 แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษปรับหรือจำคุก ฐานส่งข้อมูลก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ หรือนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ บิดเบือน ลามก ตัดต่อภาพผู้อื่นให้เสียชื่อเสียง อับอาย ซึ่งมองว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีความพยายามจะปกป้องคุ้มครองประชาชนในโลกออนไลน์ แต่ในมุมกลับกันด้วยความไม่ชัดเจนของเนื้อหา ทำให้ประชาชนหวาดระแวง ฉะนั้นความพยายามนี้ที่รัฐบาลพยายามหามาตรการกำกับและดูแลในโลกไซเบอร์ควรคำนึงหรือมองถึงหลักสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองด้วย เพื่อไม่ให้ไปกระทบสิทธิของประชาชนและเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง รัฐบาลควรให้ความร่วมมือทุกภาคส่วน ไม่ใช่แค่เพียงรัฐบาลกับภาครัฐ ควรมีร่วมมือกันกับภาคส่วนอื่นๆ และประชาชน

https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-82440

http://apdf-magazine.com/iAPDF_V41N3_THAi.pdf

ณัฐริณี   กิตติเมธีกุล

 

 

ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

แอพหาคู่ ภัยอันตรายที่คาดไม่ถึง

            ในปัจจุบันนี้เราใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากมาย ไม่ว่าจะในแง่ของการศึกษา การสื่อสาร การบันเทิง หรือแม้กระทั้งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในบริการบนโลกออนไลน์ที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอยู่นั้นก็คือ แอพลิเคชั่นหาคู่ ไม่ว่าจะเป็น แอพลิเคชั่น Tinder  ที่โด่งดังมากในหมู่วัยรุ่น แอพลิเคชั่น Azar ที่ช่วยค้นหาเพื่อนผ่านวิดีโอแชท หรือ Badoo แอพหาคู่จากประเทศอังกฤษ ที่สามารถใส่ข้อมมูลสิ่งที่ชอบและไม่ชอบลงไป เพื่อค้นหาเพื่อนในบริเวณใกล้เคียงที่พอจะแมตซ์กับเราได้

            บริการหาคู่ต่างๆ เหล่านี้ดูเผินๆ ก็เหมือนจะไม่เป็นอันตรายกับเรามากนัก เพราะในขณะนั้นคงไม่มีใครให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวที่กรอกลงไปมากกว่าคู่เดตที่มาจากบริการเหล่านี้ แต่อยางไรก็ตามการให้ข้อมูลส่วนตัวกับแอพลิเคชั่นเหล่านี้ก็เป็นถือเรื่องที่เสี่ยงพอตัว เพราะจากผลวิเคราะห์โดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไอทีของไอบีเอ็ม (IBM Security) พบว่า กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของแอพหาคู่ยอดนิยมเหล่านี้ มีโอกาสสูงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์หลากหลายรูปแบบ   ซึ่งถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวในการใช้บริการในโลกออนไลน์ และถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเพราะอาจถูกใช้ในการดาวน์โหลดมัลแวร์ได้เนื่องจากผู้ใช้ลดความระมัดระวังลง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะถูกขโมยหมายเลขบัตรเครดิตจากแอพ และอาจจะถูกเข้าควบคุมกล้องหรือไมโครโฟนของโทรศัพท์ได้ถึงแม้จะไม่ได้ล็อคอิน

            ดังนั้นในการใช้บริการบางอย่างบนโลกออนไลน์ เราควรที่จะต้องคำนึงถึงความปลอดถัยเป็นอันดับแรก เพราะการเกิดขึ้นของโลกออนไลน์นั้นส่งผลให้เกิดการละเมิดความเป็นส่วนตัว (privacy) ต่อตัวผู้ใช้อย่างกว้างขวางและง่ายดาย ถึงแม้รัฐบาลไทยในปัจจุบันจะพยายามรวมศูนย์อำนาจในการผูกขาดระบบอินเทอร์เน็ตแค่ไหน แต่ก็ไม่สามารถกระจายอำนาจไปได้อย่างทั่วถึง เพราะการเกิดขึ้นของโลกอินเทอร์เน็ตนั้นทำให้เกิดผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาท้าทายอำนาจของรัฐมากขึ้น และละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะสิทธิในความเป็นส่วนตัว (Right to privacy) ซึ่งก็คือสิทธิของบุคคลตามหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายที่จะอยู่ตามลำพังโดยปราศจากการรบกวนหรือสอดแทรกจากผู้อื่น  เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในระบอบประชาธิปไตยที่มีการรับรองตามรัฐธรรมนูญถึงแม้จะยังขาดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ อีกประเด็นหนึ่งที่น่านำมาพิจารณาก็คือ คนไทยนั้นยังไม่ค่อยมีความตระหนักต่อ information privacy ที่มากพอ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยละเลยถึงความอันตรายในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มากเกินไป

            ที่มา : https://women.mthai.com/love-sex/single/207857.html

            ที่มา : https://www.voicetv.co.th/read/166413

ณัฐวรา   เทพเกษร

 

 

ภาคประชาสังคมค้านปอท.ตรวจสอบใช้" line" ชี้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

            ที่มา : http://news.thaipbs.or.th/content/189618

            กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท.ถูกจับตามองจากสังคมอีกครั้งเมื่อออกมาเคลื่อนไหว เตรียมตรวจสอบข้อมูลที่อาจกระทบต่อความมั่นคง ผ่านโปรแกรมแชทออนไลน์ชื่อดังอย่าง Line

            โดยทาง ปอท. ระบุถึงการประสานขอความร่วมมือไปยังบริษัทผู้ให้บริการโปรแกรม Line พร้อมระบุถึงขั้นตอนการตรวจสอบ ที่ ปอท.จะทำการตรวจสอบข้อมูลก่อน และจะประสานขอข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการขอความร่วมมือ ที่ไม่จำเป็นต้องมีหมายศาล เพราะเป็นข้อมูลอยู่นอกราชอาณาจักร จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะให้ข้อมูลย้อนหลัง 90 วัน เฉพาะข้อมูลรายบุคคล ว่ามีการติดต่อกับผู้ใดบ้าง โดยจะไม่มีเนื้อหาของการสื่อสารกันผ่านโปรแกรม ซึ่งเบื้องต้น ได้รับการยืนยันกลับมาว่า  ทางบริษัท LINE Corporation ยังไม่ได้รับคำขออย่างเป็นทางการจาก ปอท. ทั้งนี้ Line ยังคงมีนโยบายหลักในการรักษาข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน และยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล

            แม้ผู้บังคับการปอท.จะยืนยันชัดเจนว่า การตรวจสอบจะเป็นไปเพื่อการติดตามตรวจสอบเฉพาะบุคคล ตามฐานข้อมูลกระทำความผิด ที่มีด้วยกัน 4 ข้อ คือการซื้อขายอาวุธ, ยาเสพติด, การค้าประเวณี และการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ทันทีที่มีรายงานเรื่องนี้ออกมา มีเสียงคัดค้านในการดำเนินการครั้งนี้มากมาย แม้แต่ฝ่ายรัฐบาลอย่างกระทรวงไอซีทีเอง ก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการดำเนินการดังกล่าว และไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการใช้งานของประชาชนที่สื่อสารผ่านทาง Line ได้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในการสื่อสารระหว่างกัน อีกทั้งทางกระทรวงยังเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่อย่างใดที่จะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

            ด้านกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า การใช้กฎหมายของแต่ละหน่วยงานต้องยึดโยงกับหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งการใช้อำนาจของ ปอท.ในการเข้าไปแทรกแซงโซเชียลมีเดียต้องแยกให้ออก เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิด โดยต้องยึดรัฐธรรมนูญ (สมัยนายกฯยิ่งลักษณ์) มาตรา 45 ซึ่งให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การใช้อำนาจของ ปอท.แทรกแซงไลน์และโซเชียลมีเดีย อาจเป็นการกระทำโดยไม่ถูกต้อง และตามรัฐธรรมนูญมาตรา 36 ระบุให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร โดยที่รัฐจะไปรับรู้หรือแทรกแซงไม่ได้ ปอท.จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และต้องตีความเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐให้ชัดเจน รวมทั้งดูเจตนาและเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ ผู้ให้บริการการสื่อสารและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ควรออกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้ โดยเฉพาะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

            กรณีดังกล่าวทำให้เห็นว่า การทำงานของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ถือว่าเป็นการกระทำที่กระทบต่อความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่น Line ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ซึ่งทางบริษัทของ Line หรือบริษัทที่ควบคุมการให้บริการแอพพลิเคชั่นที่มีความส่วนตัวที่ลักษณะคล้ายคลึงกับ Line ต่างก็มีการออกนโยบายป้องกันความเป็นส่วนของแอคเคาท์หรือของผู้ใช้บริการของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการเข้ามีบทบาทของปอท.ในการเข้ามาเพื่อควบคุมกิจกรรมการสนทนาระหว่างบุคคลถือเป็นการทำหน้าที่ที่นอกเหนืออำนาจของรัฐบาล เป็นการเข้าไปแทรกแซงกิจการของเอกชนและละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวในข้อมูลของประชาชนภายในรัฐอีกด้วย ซึ่งความต้องการที่ปอท.เข้าควบคุมกิจกรรมของประชาชนดังกล่าวถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนในสิทธิความเป็นส่วนตัวและขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 36 และ 45 ซึ่งให้เสรีภาพในการสื่อสารและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามลำดับในสมัยของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อีกทั้งการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550 ยังสร้างความไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ใช้บริการสังคมออนไลน์ เพราะยังมีช่องโหว่ที่เอื้อให้หน่วยงานของรัฐ อย่างปอท.เข้ามาแทรกแซงและการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชนในพื้นที่ไซเบอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแอคเคาท์และบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ดูแลระบบอย่างบริษัท Line ทั้งนี้การควบคุมและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในข้อมูลของผู้ใช้บริการที่เป็นแนวทางที่ดีที่สุด คือ การที่ผู้ใช้บริการแต่ละคนต้องดำเนินตามกฎข้อบังคับของแอพพลิเคชั่นที่เป็นผู้ให้บริการช่องทางการสนทนาแบบส่วน อ่านเงื่อนไขของการบริการแม้จะเป็นไปได้ยากก็ตาม อีกทั้งพยายามรักษาความปลอดภัยของตนเองโดยการไม่ใช้แอพพลิเคชั่นไปในทางที่ผิดกฎหมายและกฎข้อบังคับที่ทำให้บริษัทของแอพพลิเคชั่นนั้นคุ้มครองได้ยากจนอาจจะต้องร่วมมือกับรัฐและใช้อำนาจรัฐมาจัดการเพื่อสร้างความเป็นระเบียบในการโลกไซเบอร์

ณัฐวรา   เทพเกษร

 

 

 

       จากข่าวเรื่อง ลองไหม แอปฯ ใหม่อนุญาตให้พนักงานส่งสินค้าเข้าบ้านได้ ยามเจ้าของไม่อยู่ซึ่งเป็นแอปที่มีการจัดส่งสินค้าด้วย 'แอมะซอน คีย์' หรือเทคโนโลยีการปลดล็อกประตู ที่อนุญาตให้ผู้จัดส่งสินค้าสามารถเปิดเข้าประตูบ้านของลูกค้าได้ ด้วยการยินยอมจากเจ้าของบ้านผ่านแอปพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟน ซึ่งมีคนจำนวนมากที่รู้สึกว่า เทคโนโลยี แอมะซอน คีย์ มีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าหมายการแฮกอุปกรณ์และระบบรักษาความปลอดภัยจากอาชญากรไซเบอร์

จากกรณีดังกล่าวทำให้เห็นว่ามีการจัดส่งสินค้าผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีการสื่อสารโดยที่ระบบก็จะมีการจดจำที่อยู่ไว้ และเมื่อเจ้าของบ้านปลดล็อกประตูบ้านผ่านระบบก็จะมีการจดจำและอาจจะเป็นอันตรายได้หากในกรณีที่มีการเจาะระบบและล่วงข้อมูลออกไปได้ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ในภายหลัง โดยอาชญากรรมไซเบอร์ในกรณีนี้อาจจะมาในรูปแบบของ cyber security หรือการคุกคามจากการทำลายข้อมูล แก้ไขข้อมูล ทำลายระบบหรือถอดรหัสจากแอปเหล่านั้นซึ่งเป้าหมายหลักก็คือ การล้วงเอาข้อมูลสำคัญจากแอป และทำการคัดลอกข้อมูลของผู้ใช้แอป ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใช้ ไวรัส แฮกระบบ การ Spoofing เทคนิคการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลโดยการปลอมแปลงที่อยู่อินเตอร์เน็ต หรือ IP Address ของเหยื่อที่เข้าถึงได้ง่าย และลักลอบเข้าไปในคอมพิวเตอร์นั้น หรือการSniffer ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ดักจับข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบรหัสผ่าน (Password) ของบุคคลอื่นที่ส่งผ่านระบบเครือข่ายนั้น ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงปลอดภัยของผู้ใช้ได้ อาจจะเป็นการดักจับรหัสผ่านเข้าบ้านเพื่อขโมยทรัพย์ หรืออาจจะเป็นพวก Stalker ที่เป็นโรคจิตซึ่งคอยติดตามและเมื่อสังเกตเห็นว่าผู้ใช้มักจะใช้แอปดังกล่าวในการรับส่งของจึงอาจเป็นโอกาสให้Stalkerใช้วิธีการดังกล่าวในการเข้าถึงตัวผู้ใช้ จะเห็นได้ว่าแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาไปมากแต่หากการพึ่งเทคโนโลยีมากจนเกินไปอาจจะส่งผลเสียตามมาในภายหลังได้

โดยที่แอปเหล่านี้จะมีลักษณะที่เอื้อต่ออาชญากกรรมไซเบอร์เนื่องจากการทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหล่านี้มักจะถูกจดจำข้อมูลของผู้ใช้ไว้ใช้ในการหาผลประโยชน์ต่างๆไม่ว่าจะในเชิงพาณิชย์หรืออื่นๆก็ตาม ยกตัวอย่างได้จากกรณี Facebook ที่แม้จะมีการตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวซึ่งจะทำให้ผู้ใช้แอคเคานท์อื่นไม่รับรู้แต่ผู้ควบคุมเฟสบุ๊คจะรู้ความเคลื่อนไหวของผู้ใช้มาใช้ในทางการตลาดขายข้อมูลที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ให้ความสนใจ แสดงถึงความพยายามที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ใช้จากการเขียนยืนยันว่าจะยอมรับเงื่อนไขต่างๆที่เฟสบุ๊คตั้งขึ้น ก่อนที่จะใช้งานได้ แม้ว่าจะตั้งต้นด้วยการบอกว่าเป็นแอปพลิเคชั่นฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่แอปเหล่ากลับกอบโกยผลประโยชน์จากผู้ใช้โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวและกลับไม่ค่อยให้ความสนใจกันมากนัก และถึงแม้ว่าเจ้าของจะได้ลบข้อมูลไปแล้วในฐานะสิทธิที่จะถูกลืมหากเจ้าของข้อมูลต้องการแต่จะรู้ได้อย่างไรว่าแอปพลิเคชั่นเหล่านั่นได้ลบข้อมูลตามที่เราต้องการแล้ว ทำให้เสี่ยงต่อการโจรกรรมทางข้อมูลและการคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่เพื่อเรียกทรัพย์ การปลอมแปลงข้อมูลแอบอ้างเพื่อเป็นต้น

จากประเด็นดังกล่าวทำให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยในโลกไซเบอร์และความมั่นคงที่มีอยู่น้อยเนื่องจากเทคโนโลยีนั้นพัฒนามากขึ้น การรักษาความปลอดภัยทำได้ยากและข้อมูลส่วนตัวนั้นมักจะรั่วไหลอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งแอปที่คือว่าปลอดภัยก็อาจถูกคุกคามได้ทั้งจากการแฮกข้อมูล หรือปล่อยไวรัสก็ตาม จะเห็นได้จากกรณีที่ดาราต่างชาติถูกขโมยข้อมูลที่เก็บในระบบ Cloud ซึ่งให้เก็บข้อมูลโดยไม่ต้องยุ่งยากในการจัดเก็บในโทรศัพท์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆกรณีดังกล่าวทำให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยในการใช้แอปเหล่านี้ ซึ่งทำให้ข้อมูลและผู้ใช้เสียหายได้และรวมถึงการที่ผู้ใช้อาจจะไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตหากเปิดเผยข้อมูลทางไซเบอร์มากจนเกินไป

 

จากข่าวเรื่อง “ขออนุญาต” งานศิลปะจาก 12 ศิลปิน สะท้อนภาวะการเซ็นเซอร์ยุครัฐบาลทหาร นั้นได้กล่าวถึงประเด็นสะท้อนความคิดผ่านงานศิลปะเชิงทดลองเรื่อง "ขออนุญาต Seeking Permission" ในยุคที่รัฐสอดส่อง ตรวจตรา ควบคุม ไปถึงอาณาบริเวณของศิลปะ ซึ่งมาจากแนวคิดที่ว่า "หากวิพากษ์ความคิดหรือระบอบที่ครอบงำต้องถูกตรวจสอบ" เป็นคำอธิบายจากงานชุดนี้ โดยได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับวงการศิลปะเวียดนามที่ศิลปินต้อง "ขออนุญาต" เจ้าหน้าที่รัฐก่อนเผยแพร่งาน ซึ่งตัวอย่างหนึ่งจากบทความนี้ก็คือ การพูดถึงความกลัวที่คนส่วนใหญ่มีต่อการเมือง จากคำอธิบายของศิลปินในงานที่ว่า ศิลปินก็ไม่ต่างจากประชาชนทั่วไปที่อยู่ในภาวะความกลัว  แฟ้มที่ว่างเปล่าไม่มีแม้กระทั่งแผ่นกระดาษของฟอร์มอนุญาต หรือถ้าจะต้องเขียนแบบฟอร์มขออนุญาตจริงๆก็จะต้องเขียนให้คลุมเครือ กำกวม หรือบางทีก็ใช้ศัพท์ทางศิลปะมาเขียนให้มันรู้สึกว่า ไม่ได้ท้าทายอำนาจ ไม่ได้มีนัยยะในเชิงสังคมการเมือง ซึ่งต้องการจะสื่อถึงการที่แม้กระทั่งในงานศิลปะเองก็ถูกควบคุม สอดส่องจากภาครัฐ ด้วยความกลัวยังมีผลต่ออิสระในการพูด จึงยังมีการสอดส่องเซ็นเซอร์ แต่นั่นก็สะท้อนความอ่อนไหวของผู้ควบคุม ประเด็นนี้ทำให้ได้รับความสนใจในโลกไซเบอร์มากขึ้น และส่งผลให้ประชาชนมีมุมมองในการรับรู้ทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

จากบทความข้างต้นจะเห็นว่ากรอบการสอดส่องและควบคุมเนื้อหาการแสดงออกทางเสรีภาพ ในประเทศไทยเราเองที่ถูกปกครองด้วยทหารศิลปินผู้ซึ่งสร้างสรรค์งานศิลปะเองก็ถูกเซนเซอร์ในสิ่งที่รัฐมองว่าคุกคามหรือจะสั่นคลอนอำนาจของตนจะเห็นได้จากกรณีที่ในช่วงที่ผ่านมาเองภาพศิลปะแสดงการเสียดสีทางการเมืองก็ถูกปลด ซึ่งการที่เป็นเช่นนี้ก็อาจมาจากการที่รัฐเองก็มีความหวั่นเกรงต่ออำนาจที่ไม่มั่นคงที่ตนมีอยู่จากที่ศิลปินในบทความได้กล่าวถึง และไม่ต่างจากที่ประเทศเวียดนามเองนั้นมีประเด็นในเรื่องของวิธีการเซนเซอร์ ควบคุม หรือสอดส่องการแสดงออกผลงานทางศิลปะ ด้วยการให้ศิลปินที่ต้องการแสดงผลงานศิลปะต่อสาธารณะจะต้องกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตเพื่อเเสดงผลงานเหล่านั้น แสดงให้เห็นว่าการกระทำของรัฐบาลเวียดนามนี้ทำให้ศิลปินไม่มีโอกาสในการแสดงออกทางการเมืองในแง่มุมที่รัฐเห็นว่าไม่เหมาะสมซึ่งก็สื่อให้เห็นว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการแสดงออกทางการเมืองในมุมมองของศิลปินชั้นดี

แบบฟอร์มในการขออนุญาตนี้กลายเป็นเครื่องมือในการสอดส่องชั้นดีให้กับรัฐบาลเมื่อไม่ทำตามก็จะมีคนของทางการเข้ามาจัดการ ซึ่งไม่ได้เข้าไปจัดการกับผู้จัดงานโดยตรง แต่จะไปเอาเรื่องกับเจ้าของสถานที่ที่ให้เช่าแสดงงานเป็นการจัดการปัญหาด้วยวิธีการทางลัดที่สามารถทำให้เจ้าของสถานที่จัดแสดงรู้สึกกลัวและไม่กล้าให้ศิลปินเหล่านั้นมาแสดงผลงานอีกหากไม่มีใบอนุญาต และแม้พวกเขาจะเขียนเเบบฟอร์มขออนุญาตก็จะถูกเซนเซอร์อยู่ดี ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขาจะถูกเซนเซอร์ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่ม แสดงถึงการขาดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งทางการเมืองหรือเรื่องใดๆก็ตามที่รัฐเห็นว่าไม่สมควร ทำให้ประชาชนได้รับรู้ที่น้อยลง งานศิลปะเองที่ถูกมองว่าจรรโลงใจหรือแม้กระทั่งการสะท้อนภาพชีวิตก็ยังถูกควบคุม

BBC ไทย, ลองไหม แอปฯ ใหม่อนุญาตให้พนักงานส่งสินค้าเข้าบ้านได้ ยามเจ้าของไม่อยู่, 10 มีนาคม 2561: http://www.bbc.com/thai/international-41777803.

BBC ไทย, “ขออนุญาต” งานศิลปะจาก 12 ศิลปิน สะท้อนภาวะการเซ็นเซอร์ยุครัฐบาลทหาร, 24 เมษายน 2561: http://www.bbc.com/thai/thailand-43854478.

ณัฐวรา   เทพเกสร

 

 

การที่เฟสบุ๊กบล้อกโพสสะท้อนระบบการกำกับโลกไซเบอร์ในรัฐไทยอย่างไร

            จากกรณีที่ได้มีข่าวการนำเสนอว่าเฟสบุ๊กได้ออกมายอมรับว่าได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการควบคุมเนื้อหา สามารถสะท้อนถึงระบบคุมการกำกับพื้นที่ไซเบอร์โดยใช้รูปแบบทั้ง ๖ มาช่วยในการวิเคราะห์ที่จะทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างเฟสบุ๊กกับรัฐไทยได้ในอีกมุมหนึ่ง

            ในระบบการกำกับโลกไซเบอร์นี้มีรูปแบบอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๖ รูปแบบด้วยกัน แต่การวิเคราะห์ระบบการกำกับในกรณีนี้นั้นจะนำรูปแบบที่ ๕.ระบบที่มีการกำกับร่วมกัน(Co-Regulation )มาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ให้เห็นภาพ

ระบบที่มีการกำกับร่วมกัน(Co-Regulation ) เป็นระบบที่รัฐได้มีการร่วมมือกับผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการโดยอาจเป็นการที่รัฐนั้นได้มีกำหนดกฎหมายหลักเอาไว้แล้วผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการนำกฎหมายหลักดังกล่าวไปออกเป็นนโยบายหรือกฎปลีกย่อยที่สอดคล้องกับกฎหมายหลักดังกล่าว

            ซึ่งจากสาระสำคัญของระบบการควบคุมพื้นที่ไซเบอร์ดังกล่าวเมื่อนำไปวิเคราะห์กับกรณีดังกล่าวประกอบกับการให้เหตุผลของเฟสบุ๊กว่า เหตุที่ต้องการปิดกั้นนั้นเป็นเพราะอิงตามกฎหมายไทย

            โดยเนื้อหาที่ถูกควบคุมนั้นเฟสบุ้คได้ให้เหตุผลไว้ว่าเป็นเนื้อหาที่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักของประเทศไทยและได้มีนโยบายปลีกย่อยในการควบคุมเนื้อหาดังกล่าวขึ้น

            เมื่อพิจารณาถึงระบอบที่แฝงมาในการกระทำของเฟสบุ๊กในกรณีนี้อาจพิจารณาได้ว่าเฟสบุ๊กซึ่งเป็นผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการพยายามหาทางลดช่องว่างทางความขัดแย้งผู้เป็นรัฐปลายทางที่จะเข้าไปลงทุนแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำให้ความน่าเชื่อถือของผู้ใช้บริการในไทยต่อเฟ๊สบุ้กที่ลดลงเมื่อได้ยินข่าวถึงความร่วมมือระหว่างรัฐและเฟสบุ๊กในกรณีเช่นนี้

  https://themomentum.co/momentum-feature-facebook-blocking-content-in-thailand/

  ไม่มีแดนเถื่อนในโลกไซเบอร์?: ตัวแบบในการกากับดูแลโลกไซเบอร์ ทศพล ทรรศนะกุลพันธ์

พสธร   อ่อนนิ่ม

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว