Skip to main content

เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์และละครในช่วงสุดสัปดาห์เหมือนกันเพราะในระหว่างสัปดาห์เราก็ต้องทำงานจนกลับบ้านมาหลับเป็นตายไม่ได้เสพสื่ออะไรกันเลย ต้องมาไล่ดูย้อนหลังนี่ล่ะครับ   แต่ก็อย่างที่เรารู้ว่าอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยยังเข้าไม่ถึงทุกพื้นที่ในประเทศไทยนะครับ โดยเฉพาะเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ ผู้บริโภคไปขอใช้บริการก็ต้องเสียเวลาเป็นอย่างมากในการดึงโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาถึงบ้าน และก็ยังมีปัญหาเมื่อพยายามจะเปลี่ยนเป็นเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแทน ลองไปฟังปัญหาที่ทำให้ประเทศเรายังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศดูครับ ว่ามันเกิดเพราะอะไร และเราจะแก้ได้อย่างไรบ้าง

ผู้บริโภคขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้ขอเปิดใช้บริการต่อบริษัทผู้ให้บริการชื่อดังแห่งหนึ่ง โดยได้มีข้อความในสัญญาข้อหนึ่งระบุไว้ว่า การเปิดใช้บริการผู้ขอเปิดบริการจะต้องผูกพันการใช้บริการอย่างน้อย 12 เดือน หากมีการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด จะเสียค่าปรับ 2,500 บาท หลังจากนั้นผู้ขอใช้บริการได้ติดตั้งอุปกรณ์การใช้อินเตอร์ตามคำแนะนำของผู้ให้บริการ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว กลับพบว่า ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ ผู้ขอให้บริการจึงติดไปยังผู้ให้บริการ ซึ่งทางผู้ให้บริการได้รับปากว่าจะส่งช่างไปตรวจสอบให้ เมื่อเวลาผ่านไป ช่างก็ยังไม่มาจัดการซ่อม ผู้ให้บริการจึงติดต่อไปยังผู้ให้บริการอีกครั้ง พนังงานก็รับปากว่าจะประสานเรื่องให้จนเวลาล่วงเลยนานนับเดือนช่างก็ไม่ได้เข้ามาซ่อม แถมยังมีใบแจ้งหนี้จากผู้ให้บริการตลอด 6 เดือนที่ไม่สามารถใช้บริการเลย ผู้ขอใช้บริการ จึงไปยกเลิกการใช้บริการดังกล่าวแต่ถูกบริษัทปฏิเสธ โดยแจ้งว่าจะต้องชำระค่าบริการที่ค้างชำระและต้องเสียค่าปรับ 2,500บาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงจะยกเลิกการใช้บริการได้ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงสร้างความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ขอใช้บริการเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะไม่ได้ใช้บริการแล้วยังจะต้องเสียค่าบริการแบบฟรีๆ

อีกกรณีผู้บริโภคร้องเรียนว่าถูกเก็บค่า “เน็ตผ่านมือถือ” กว่าสามแสน เพราะบริษัทมือถือให้สิทธิผู้บริโภคเลือกสมัครบริการเสียงและข้อมูล กลายเป็นผู้บริโภคไม่รู้ในตอนตอนทำสัญญาว่าโดนเหมารวมบริการ ทั้งผู้บริโภคยังไม่รู้ว่าต้องปิดการเชื่อมต่อที่เครือข่ายป้องกันปัญหาเน็ตรั่ว ทำให้เกิดการคิดค่าบริการผิดพลาดจากการที่โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง และสาเหตุที่เรื่องใหญ่โตโดนเก็บค่าบริการถึงสามแสนบาท เนื่องจากการคิดค่าบริการผิดพลาดจากบริการระหว่างประเทศและการใช้ภายในประเทศ ซึ่งเกิดจากการใช้เกินโปรโมชั่นและการเชื่อมต่ออัตโนมัติทั้ง WIFI EDGE และ GPRS โดยปัญหามาจากการถูกเรียกเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ โดยเฉพาะในกรณีการเชื่อมต่อในต่างประเทศเมื่อผู้บริโภคขอเปิดใช้บริการโรมมิ่งเสียง แล้วบริษัทเปิดบริการโรมมิ่งดาต้าให้ด้วย ทั้งที่ผู้บริโภคไม่ได้ขอเปิดใช้บริการ ทำให้เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ถูกเรียกเก็บค่าบริการในอัตราสูง จำนวนเงินสูงสุดที่ถูกเรียกเก็บจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ คือสามแสนกว่าบาท นอกจากนี้ยังมีการสมัครใช้บริการในประเทศและโทรศัพท์มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอัตโนมัติให้ตลอด ทำให้ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บค่าบริการทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจใช้

ผู้บริโภคที่มาหาหลายๆคนคิดว่าบริษัทและหน่วยงานรัฐ (ในเรื่องนี้คือ กสทช.) ควรแก้ปัญหาการถูกเรียกเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการว่า  “ในการเปิดให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ผู้ใช้บริการควรมีโอกาสได้แจ้งความจำนงกับบริษัทว่าต้องการใช้บริการหรือไม่ หากผู้ใช้บริการไม่แสดงความจำนงเข้ามา แต่เปิดให้บริการเองย่อมเป็นการยัดเยียด อีกทั้งการที่ผู้บริโภคสมัครใช้บริการเสียง จะเหมารวมว่าผู้บริโภคขอใช้บริการข้อมูลไปด้วยคงไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในกรณีของการสมัครใช้บริการโรมมิ่งควรมีการแยกสมัครระหว่างเสียงและข้อมูลให้ชัดเจน”    จึงรวมตัวกันเรียกร้องให้ บริษัทที่พวกตนร้องเรียนคืนเงินค่าบริการและยุติการเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้บริโภคด้วย เนื่องจากบริษัทไม่แสดงหลักฐานเพื่อยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการภายใน 60 วัน ตามประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม

สำหรับปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นมามากช่วง 4-5 ปีหลังที่ผู้บริโภคที่ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน แต่ขาดความระมัดระวังในการใช้บริการ และไม่ได้ศึกษาระบบเครื่องโทรศัพท์ให้ดี จึงมิได้ตรวจสอบการใช้บริการเป็นระยะ จนเกิดปัญหาเน็ตรั่วจากการลืมปิดการเชื่อมต่อที่เครื่องโทรศัพท์ และลืมปิดการเชื่อมต่อที่ระบบเครือข่ายผู้ให้บริการด้วย ทั้งที่แต่ละเครือข่ายจะมีเบอร์ตรงในการปิด-เปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่ผู้บริโภคเจ้าของปัญหาล้วนบอกตรงกันว่า พนักงานที่ปิดบริการให้ไม่ได้แจ้งรายละเอียดข้างต้นให้เข้าใจ

วิเคราะห์ปัญหา

1. การทำสัญญาติดตั้งอินเตอร์เน็ต บริษัทมีหน้าที่อย่างไรต่อผู้บริโภคที่ได้ทำสัญญากับบริษัทบ้าง

2. การระบุสัญญาสร้างเงื่อนไขในการยกเลิกสัญญาโดยสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภคเป็นค่าปรับ แต่ไม่คำนึงถึงความผิดพลาดในการให้บริการของบริษัท เป็นสัญญาที่บังคับต่อไปได้หรือไม่

3. การเปิดบริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และโรมมิ่ง โดยไม่แจ้งรายละเอียดของการบริการทั้งการเปิดและปิดบริการ ค่าใช้จ่าย และข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเป็นความรับผิดชอบของบริษัทหรือผู้บริโภค

4. หากเกิดปัญหาจากการเก็บค่าบริการ การพิสูจน์ความเสียหายและค่าใช้จ่าย หน้าที่ในการนำสืบเป็นของใคร

5. การลักลอบใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตของผู้อื่นโดยเจ้าของไม่ยินยอมมีความผิดหรือไม่ ใครมีหน้าที่ในการหาตัวผู้กระทำผิด

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1. การทำสัญญาติดตั้งอินเตอร์เน็ต บริษัทมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อโครงข่ายให้ผู้บริโภคตามที่ได้ทำสัญญากับบริษัท จึงจะเกิดหนี้ที่บังคับให้ชำระค่าบริการกันได้

2. การระบุสัญญาสร้างเงื่อนไขในการยกเลิกสัญญาโดยสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภคเป็นค่าปรับ แต่การให้บริการของบริษัทมีข้อบกพร่อง ไม่สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตตามสัญญาที่กันไว้ถือเป็นความผิดของฝั่งบริษัท เป็นสัญญาที่บังคับต่อไปไม่ได้ ผู้บริโภคขอยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ ทั้งยังเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้

3. การเปิดบริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และโรมมิ่ง โดยไม่แจ้งรายละเอียดของการบริการทั้งการเปิดและปิดบริการ ค่าใช้จ่าย และข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเป็นความรับผิดชอบของบริษัทตามคำสั่งของ กสทช. ที่บริษัทผู้เชี่ยวชาญต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าผู้บริโภคซึ่งมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่า

4. หากเกิดปัญหาจากการเก็บค่าบริการ การพิสูจน์ความเสียหายและค่าใช้จ่าย หน้าที่ในการนำสืบเป็นของบริษัทผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและให้บริการ สามารถติดตามและนำหลักฐานมาชี้แจงได้มากกว่าผู้บริโภค เนื่องจากบริษัทเป็นเจ้าของข้อมูลและความรู้ทั้งหลาย

5. การลักลอบใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตของผู้อื่นโดยเจ้าของไม่ยินยอมมีความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม  ผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการหาตัวผู้กระทำผิด

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.  เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะในการรับเรื่องร้องทุกข์ จึงสามารถร้องเรียนไปที่ กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

2. หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3. มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

4. การฟ้องเรื่องความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมนั้นเริ่มด้วยการเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการสั่งฟ้องไปยังศาลอาญาก็ได้เช่นกัน โดยสามารถขอให้เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ในคราวเดียวกันไปเลย

5. ประชาชนสามารถฟ้องบังคับให้ กสทช. และ สคบ. ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน เช่น ออกเกณฑ์ คำสั่ง และบังคับควบคุมบริษัทได้ที่ศาลปกครอง

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญาโดยสุจริต และการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค   ซึ่งผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการให้บริการตามข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เนื่องจากมีการเสียค่าบริการ ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน กสทช. และ สคบ.  หากไม่สำเร็จอาจนำเรื่องเข้าสู่การบังคับคดีในศาลแพ่งฯ โดยฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้   ส่วนการลักลอบใช้สัญญาณมือถือที่รั่วออกมาเป็นความผิดทางอาญาฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมสามารถแจ้งความต่อตำรวจเพื่อให้ฟ้องในศาลอาญาและเรียกค่าเสียหายมาในคราวเดียวกัน


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต