Skip to main content

เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ

“เนื่องจากบ่ายวันหนึ่งมีตำรวจสองคนขอค้นที่พักอาศัยของคนงานที่ทำงานให้กับโรงงานของพ่อแม่ โดยอ้างว่าเมื่อวานแม่ค้าในตลาดมาแจ้งความว่ามอเตอร์ไซค์ถูกขโมยและเห็นคนร้ายขับเข้ามาในระแวกนี้ แม่ค้าสงสัยว่าน่าจะเป็นคนทำงานในโรงงาน ทางตำรวจจึงขอเข้าตรวจค้นว่ามีรถที่ถูกขโมยมาซ่อนในโรงงานหรือไม่

ด้วยความที่พ่อแม่ของน้องมั่นใจว่าคนงานของตนไม่มีพฤติกรรมเช่นนั้นอย่างแน่นอนจึงปล่อยให้ตำรวจคนหนึ่งเข้าไปค้นบริเวณหอทั้ง ซึ่งตำรวจเข้าไปทั้งค้นในและนอกอาคารเพียงลำพัง ทว่าตำรวจนายหนึ่งเดินออกมาจากห้องพักคนงานพร้อมยาบ้าครึ่งเม็ด และขอจับกุมคนงานทุกคนตรวจปัสสาวะ ซึ่งผลออกมาก็ไม่มีผู้ใดที่บ่งบอกว่าติดยา จึงปล่อยทุกคนกลับบ้านและขอคุมตัวคนงานเจ้าของห้องที่พบยาบ้าไว้ก่อน   และได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องยาบ้าแทนจากการค้นหารถที่ถูกขโมย

พ่อกับแม่เดินทางไปขอประกันตัวคนงานเจ้าของห้องที่ถูกจับไว้แต่ก็ไม่ได้รับการยินยอม  แล้วมีตำรวจชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเดินออกมาพร้อมกล่าวหาว่าแม่ขัดขวางการทำงานเจ้าพนักงานและพยายามปกปิดความผิดคนงานนายตำรวจบอกให้แม่เอาเงินให้เขาจำนวน 50,000 บาทแล้วคดีก็จะสิ้นสุดลง แต่แม่ไม่ยอมให้ นายตำรวจคนนั้นจึงขู่ว่าจะสั่งปิดกิจการทางบ้านและของอายัดทรัพย์สิ้นทั้งหมด 

ทั้งนี้ตำรวจคนนั้นยังจะจับแม่ไว้ด้วยโดยให้เหตุผลว่ากลัวแม่จะหนีความผิด   ซึ่งมองอย่างไรก็ดูเหมือนว่าตำรวจผู้นั้นต้องการแค่เงินของแม่ และเรื่องที่เกิดขึ้นก็ยังทำให้กิจการของทางบ้านจำเป็นต้องหยุดชะงักลงอีกด้วย

ในที่สุดพ่อจึงตัดสินใจนำเงินจำนวน 50,000 บาทไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเตรียมเงินสดใส่ไปในกล่องของขวัญและกระเช้าผลไม้   เนื่องจากในช่วงนั้นตรงกับเทศกาลขึ้นปีใหม่พอดี   หลังจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่คนนั้นได้รับเงินไป เรื่องก็จบไปโดยไม่มีการฟ้องร้องคนงานดังกล่าวที่เป็นเจ้าของห้องที่พบยาบ้าครึ่งเม็ด   รวมถึงปล่อยตัวแม่ออกมาพร้อมกันทำให้ครอบครัว

วิเคราะห์ปัญหา

1.        การเข้าค้นที่พักเพื่อหาสิ่งของโดยไม่มีหมายค้นทำได้หรือไม่ หากต้องมีหมายต้องแสดงหมายค้นหรือไม่

2.        การเข้าค้นที่พักเพื่อตามหาคนในข้อหาหนึ่ง แล้วพบวัตถุผิดกฎหมายซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหมายจับ เป็นการเข้าค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีที่อยู่นอกเหนือหมายจับได้หรือไม่ เพราะกรณีนี้ไม่มีหมายค้นเกี่ยวกับยาเสพติด

3.        การกดดัน ปรักปรำ และเพิ่มข้อหาตามอำเภอใจของเจ้าพนักงาน และการเรียกรับสินบน เป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่  การจ่ายสินบนและไม่มีการดำเนินคดีถือเป็นความผิดด้วยหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.            การค้นสถานที่ส่วนบุคคลหรือที่รโหฐานเพื่อหาสิ่งของหรือบุคคลข้างในนั้นที่ไม่เข้าข้อยกว้นใดๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องร้องขอศาลให้ออกหมายค้น โดยหมายค้นจะระบุสถานที่ที่ค้น อะไรที่จะถูกค้นหา เจ้าพนักงานคนใดทำการค้น เวลาที่ทำการเริ่มค้น และเมื่อค้นสิ่งใดได้ให้ทำบัญชีสิ่งของและเก้บสิ่งของไว้ ณ สถานที่ตามที่หมายระบุ  

2.             ยาเสพย์ติดถือเป็นวัตถุผิดกฎหมาย หากเจ้าพนักงานพบเห็นซึ่งหน้าก็อาจขอควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่ครอบครองยาเสพย์ติดได้   แต่การจับกุมและการพิสูจน์ความผิดอาจจะมีปัญหาต้องต่อสู้กันต่อไป เช่น ตอนที่พบนั้นมีพยานไหมว่าเจอที่ไหน หรือมีการพกยามาจัดวางไว้ในห้อง ฯลฯ ทั้งในการจับกุมเจ้าพนักงานต้องแจ้งเหตุผลหรือความผิดที่ถูกจับ สิทธิในการพบ/มีทนายความ สิทธิในการได้พบบุคคลที่ตนไว้ใจ สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

3.             การข่มขู่ ปรักปรำ ตั้งข้อหาของเจ้าพนักงาน ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบ ขัดกับหลักกระบวนการยุติธรรมที่ดี อาจทำให้กระบวนการทั้งหมดเสียไปเพราะขัดกับขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้   การเรียกรับสินบนเป็นความผิดทั้งทางวินัย และความผิดอาญา

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.        กระบวนการเข้าค้นแล้วปรักปรำเรื่องยาเสพย์ติดนั้น สามารถร้องเรียนเบื้องต้นกับผู้บังคับบัญชาได้ แต่กรณีนี้ผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจึงอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการตำรวจประจำสถานีตำรวจแห่งนั้น

2.        หากไม่คืบหน้าสามารถร้องเรียนไปยังคณะกรรมการ ปปช. ได้เนื่องจากเป็นการเรียกรับสินบนซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าพนักงาน  ซึ่งอาจจะนำไปสู่การส่งให้อัยการสั่งฟ้องในศาลยุติธรรมเพื่อให้เจ้าพนักงานรับผิดและชดเชยค่าเสียหายต่อผู้ที่ถูกปรักปรำโดยมิชอบได้

3.        การร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการยุติธรรมและกิจการตำรวจประจำรัฐสภา ก็เป็นช่องทางอื่นๆที่สามารถร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมได้

สรุปแนวทางแก้ไข

                กรณีเข้าตรวจค้นมิชอบ ใช้หลักการตรวจค้นและตั้งข้อหาตามกระบวนการทางอาญา ซึ่งกรณีนี้การตรวจค้นกระทำได้ตามหมายค้น แต่ยังมีข้อต่อสู้เรื่องการพบยาเพียงครึ่งเม็ดแต่ไม่พบสารเสพติดในร่างกายของผู้ใด ส่วนเรื่องการโต้เถียงเป็นการใช้สิทธิธรรมดาที่กระทำได้ไม่ถือเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกเงินถือเป็นความผิดทางอาญาของเจ้าพนักงานสามารถฟ้องต่อศาลอาญาได้ โดยอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปปช. หรือแต่งทนายขึ้นสู้คดีเอง

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี