Skip to main content

เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ ก็เข้าไปรวมกันในห้างหมดแล้ว บางทีอยากเบิกเงินฝากเงินในวันหยุดหรือหลังเวลาราชการก็ไปธนาคารในห้างได้อีก   คนจำนวนมากจึงเข้าไปใช้บริการในห้างกันเป็นกิจวัตรไปแล้ว   แต่อย่างที่รู้กันว่าที่ไปห้างไม่ใช่แค่ไปซื้อของนะครับ เพราะบางทีเราไม่มีอะไรทำหลังจากว่างงานหรือเรียนเสร็จ ก็อาจนัดกันในห้างเพราะสะดวกและมีกิจกรรวมอะไรให้ทำร่วมกันเยอะเชียว   บางคนก็บอกว่าทำไมไม่ไปเดินเล่น  หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งบ้าง  เอ้า! ก็สวนสาธารณะในเมืองไทยมันเยอะแค่ไหนเชียว หลังๆก็ห้ามโน่นห้ามนี่ คนก็เยอะ อากาศก็ร้อนไหนจะฝนตกอีก  ยิ่งไปกว่านั้นศูนย์ออกกำลังกายยังย้ายเข้ามาอยู่ในห้างฯอีก แต่ที่ไหนก็ไม่เหมาะเท่าเดินห้างฯอีกแล้วหากพูดถึงประเด็นการไปมองคน จะอะไรเสียอีกถ้าไม่ใช่คนที่แต่งตัว จัดเต็ม เสื้อผ้า หน้า ผม เป๊ะกันซะขนาดนั้น อย่างกับหลุดออกมาจากหนังสือแฟชั่น ก็เขามารวมกันอยู่ในนั้นแล้วจะเสียเวลาออกไปดูที่อื่นทำไม   เคยถามเพื่อนสาวๆสวยๆหลายคนว่าทำไมชอบไปเดินห้างกันนัก เธอก็บอกว่ามันไปคนเดียวได้เพราะปลอดภัย ไม่มีใครมายุ่งวุ่นวาย ก็เวลาไปห้างก็ไม่ต้องคอยพะวงเรื่องลักวิ่งชิงปล้นอีก ห้างเค้ามีคนดูแลให้อยู่แล้ว   ครับพูดมาซะตั้งนานก็จะเข้าประเด็นนี้แหละครับ ว่าห้างปลอดภัยและรับผิดชอบในชีวิตและทรัพย์สินของเราจริงหรือไม่

        กิจวัตรการเดินห้างฯของคนจำนวนมากก็เชื่อมกับการเดินทางเข้ายังห้างที่อยู่บริเวณศูนย์กลางการค้าของเมือง คือ เราจะเริ่มมีความสัมพันธ์กับห้างก็ตั้งแต่ขับรถเข้าไปจอดในห้างเลยใช่ไหมครับ มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่าทำไมเดี๋ยวนี้มีหลายห้างที่ยกเลิกระบบแจกบัตรจอดรถไปแล้ว ส่วนที่แจกบัตรอยู่ก็เพราะเก็บเงินค่าที่จอด แต่หลังบัตรจอดรถถ้าอ่านดีๆ จะเห็นว่าทางห้างฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับรถเรา   อ้าว! แล้วถ้าเกิดอะไรกับรถเราเมื่อเอามาจอดในห้างแล้วจะทำอย่างไร ก็เพราะที่เรามาห้างฯ ก็นึกว่าจะปลอดภัยและมีคนคอยตรวจตราสร้างความอุ่นใจให้กับการเดินห้างฯ ไม่ใช่หรือ เดี๋ยวผมตอบให้นะครับ  แต่ลองไปดูเรื่องที่เกิดน้องคนนี้ดูนะครับ ว่าใครควรมีหน้าที่ดูแลชีวิตและทรัพย์สินคนเดินห้างฯ

“สมัยเรียนที่หนูเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดชลบุรี มีห้างฯชื่อดังในกรุงเทพฯปรับปรุงและเพิ่งเปิดใหม่อีกครั้ง มีการโฆษณาน่าสนใจและเพื่อนๆก็ไปกันแล้วถ่ายรูปกลับมาอวดให้ดูกัน ห้างสวยจัดร้านกันน่ารักมาก  เพื่อนถ่ายรูปกลับมาก็ดูดีเชียว หนูก็คิดว่าอย่างกจะไปบ้างจะได้รู้ว่ามันเป็นยังไง และถ้าแอบไปคนเดียวแล้วถ่ายรูปกลับมาคงเก๋ไก๋ใช่ไหมล่ะ   วันเสาร์ก็ตัดสินใจนั่งรถเข้าไปกรุงเทพฯเลย ด้วยอารมณ์สนุกสนานร่าเริงที่จะได้ออกไปเที่ยวกรุงเทพตามประสาเด็กต่างจังหวัด พอไปถึงก็รีบพุ่งตรงไปเดินห้างฯแห่งนั้นทันทีเพราะมีเวลาไม่มาก เข้าห้างปุ๊บ   โอ้โห! เหมือนหลุดไปอยู่อีกโลกเลยครับ ร้านนั้นก็สวย ตู้โชว์นี่ก็เก๋ เอ๊ะ นั่นดาราที่เล่นละครเรื่องใหม่นี่นา ว้าววว มีนักร้องค่ายดังมาจัดคอนเสิร์ตเปิดตัว ไหนจะมีลานจัดกิจกรรมสินค้าที่มีพรีเซนเตอร์ขวัญใจหนูมาอีก กรี้ดดดดด....คุ้มจริงๆ ไม่เสียทีเลยที่มา   แต่เดินเดินมาหน้าเริ่มไม่เปะแล้วแถมปวดท้องเพราะกินเข้าไปหลายชุด ก็ต้องขอเข้าห้องน้ำหน่อยครับ พอเข้าห้องน้ำไปก็ยิ่งตะลึง ด้วยความเห็นว่าห้องน้ำสวยมากมีไฟสีส้มและกระจกบานใหญ่บนผนัง จึงคว้าโทรศัพท์มาถ่ายรูปอยู่นาน จนลืมโทรศัพท์ที่วางไว้ หลังจากล้างมือ แล้วเดินออกไป

จนเดินไปสักพักก็เพิ่งรู้สึกว่านี่ก็หลายชั่วโมงแล้วจะกลับไปขึ้นรถกลับบ้านทันไหม นึกขึ้นได้จะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูเวลา แต่กลับไม่หาเจอ เทกระเป๋าออกมาแล้วก็ไม่พบ  หนูจึงรีบกลับไปที่ห้องน้ำ แล้วถามป้าคนทำความสะอาดว่าพบเห็นหรือไม่ ป้าตอบว่า “ไม่รู้ไม่เห็นมีนี่นา” จากนั้นฉันจึงรีบวิ่งไปที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ห้างฯเพื่อสอบถามว่ามีใครเก็บมาคืนไหม   และขอร้องให้ลองถาม รปภ.ห้างฯดูว่ามีใครพบเห็นหรือไม่ ใจคอไม่ดีเสียแล้ว มาครั้งแรกก็เกิดเรื่องเลย กลับบ้านไปจะโดนพ่อแม่ด่ารึเปล่าก็ไม่รู้

หลังจากนั้นไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่ของห้างฯ 2 คน มาเชิญพวกเราไปที่ห้องรักษาความปลอดภัย พวกเราช่วยกันซักถามแม่บ้าน แต่เธอก็ตอบปฏิเสธ    ไม่นานนักก็มีทนายความประจำห้างฯเข้ามา เพื่อมาไกล่เกลี่ย คุณทนายปากเอกก็สรุปคำให้การว่า เราไม่มีหลักฐาน ไม่มีพยาน คนของเขาไม่ผิดและจะไม่มีการรับผิดชอบใดๆเกิดขึ้น    หากยังดึงดันจะกล่าวหาคนของเค้าอีกก็จะฟ้องกลับฐานหมิ่นประมาทนะ   ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปแจ้งความดูห้างฯก็จะไปแจ้งความด้วยเหมือนกัน

ตอนนั้นหนูตกใจทำไมเรื่องกลายเป็นอย่างนี้ แถมมีหนูตัวคนเดียวกับพวกเค้าเกือบสิบคนในห้องแคบๆ ชั้นใต้ดิน แล้วเวลาก็งวดเข้ามาใกล้จะได้เวลารถกลับชลบุรีแล้ว ถ้ากลับบ้านช้าไปแถมโทรศัพท์มือถือหายด้วยต้องโดนด่าเละแน่ๆ  หนูจึงทำได้แต่คว้ากระเป๋ามากอดแน่นและก้าวออกมาด้วยความสับสนและผิดหวัง  การเดินห้างฯ ถือว่าเป็นประสบการณ์ร้ายที่มีค่ามากสำหรับฉันจากคนรอบข้างที่อุตส่าห์ไว้วางใจ”

วิเคราะห์ปัญหา

1.             ห้างฯ มีหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนที่มาเดินห้างฯ หรือใช้บริการต่างๆ หรือเอารถมาจอดเพื่อเดินห้างฯหรือไม่

2.             การระบุรายละเอียดในบัตรจอดรถว่า ห้างฯจะไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของเรา มีผลบังคับใช้ได้รึเปล่า

3.             หากเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นหน้าที่ของใครที่จะต้องติดตามตรวจสอบ 

4.             การพาไปคุยและข่มขู่คุกคามในพื้นที่ปิดลับ จนทำให้เกิดความหวาดกลัวมีความผิดหรือไม่

5.             หากเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ห้างฯจะต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ การปฏิเสธหรือร่วมกันปกปิดความจริงถือเป็นความผิดหรือไม่

6.             หากเกิดความเสียหายเราจะเรียกร้องจากรัฐให้จัดการกับปัญหาได้ไหม การแจ้งความกล่าวโทษถือเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             ห้างฯ มีหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนที่มาเดินห้างฯ หรือใช้บริการต่างๆ หรือเอารถมาจอดเพื่อเดินห้างฯ เนื่องจากประชาชนมาจับจ่ายแลทำกิจกรรมเพราะคาดเดาได้ว่าจะได้รับบริการทั้งหลายร่วมทั้งการประกันความปลอดภัยในระหว่างที่มาเสียเงินให้ห้าง

2.             การระบุรายละเอียดในบัตรจอดรถว่า ห้างฯจะไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของเรา ไม่มีผลบังคับเนื่องจากเป็นการทำสัญญาสำเร็จรูปปัดความรับผิดที่กฎหมายกำหนดไว้   จึงมีลักษณะของข้อสัญญาไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค   ห้างฯจำนวนไม่น้อยจึงเลิกเก็บค่าจอด ไม่แจกบัตร เพื่อลดความรับผิดให้น้อยลง แต่ก็ยังมีความรับผิดชอบอยู่

3.             หากเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นหน้าที่ของห้างฯผู้เป็นเจ้าของสถานที่ซึ่งได้เงินจากการมาจับจ่ายของเราไปแล้วที่จะต้องติดตามตรวจสอบ เพราะเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมดูแลพื้นที่ และคนในการบังคับบัญชาของตน

4.             การพาไปคุยและข่มขู่คุกคามในพื้นที่ปิดลับ จนทำให้เกิดความหวาดกลัว อาจมีความผิดเกี่ยวกับการกระทำต่อเสรีภาพ เช่น กักขังหน่วงเหนี่ยว

5.             หากเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ห้างฯจะต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในฐานผู้เป็นเจ้าของกิจการที่ต้องให้ความดูแลผู้มาใช้บริการ และนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง การปฏิเสธหรือร่วมกันปกปิดความจริงถือเป็นความผิดทางอาญาในฐานะผู้สนับสนุน หรือตัวการร่วมถ้ารู้เห็นเป็นใจการกระทำผิดตั้งแต่แรก

6.             หากเกิดความเสียหายเราจะเรียกร้องจากรัฐให้จัดการกับปัญหาได้ การแจ้งความกล่าวโทษถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทั่วไปของประชาชน มิใช่การหมิ่นประมาทเนื่องจากเกิดความเสียหายขึ้นจริงกับตน

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             หากยังพอจะตกลงกับห้างฯ ได้ก็ให้เจรจาเพื่อให้มีการรับผิดชอบโดยชดเชยค่าเสียหาย หรือทำสัญญาตกลงกันว่าจะชดเชยค่าเสียหายกันอย่างไรโดยทางห้างฯ ต้องลงนามรับผิดชอบ

2.             ถ้าตกลงกันไม่ได้ต้องแจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายปกครอง เช่น ตำรวจ เพื่อให้สอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด และชดใช้ค่าเสียหายหรือเอาของมาคืนต่อไป

3.             การกักขังหน่วงเหนี่ยว คุกคาม ข่มขู่ สามารถแจ้งความดำเนินคดีทางอาญาได้ที่สถานีตำรวจเช่นกัน

4.             หากคิดว่าเป็นการให้บริการที่ไม่เป็นธรรมของห้าง อาจร้องให้ สคบ. ตรวจสอบการให้บริการ หรือตรวจสอบการปัดความรับผิดในบัตรจอดรถ หรือเอกสารสัญญาต่างๆที่ห้างปัดความรับผิด

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสถานที่มีหน้าที่ตามธรรมดาในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการ และความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ   ซึ่งห้างฯมีหน้าที่ต้องชดเชยค่าเสียหายแก่ลูกค้าเมื่อมีของสูญหายในบริเวณที่อยู่ใต้การควบคุมของห้างฯ และไม่มีอำนาจในการควบคุมตัวลูกค้าไปอยู่ในสถานที่ปิดทึบและใช้พฤติกรรมข่มขู่ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดต่อเสรีภาพสามารถแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้   กรณีการดูแลรถที่มาจอดในห้าง ถ้ามีการเก็บค่าจอดห้างต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่ได้เก็บค่าจอดก็ต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร คำอธิบายในบัตรที่ปัดความรับผิดบังคับใช้ไม่ได้

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี