Skip to main content

เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีดีเก่ามาขายข้างทางโดนคดีเข้าไปอีก   รู้สึกกันได้ใช่ไหมครับว่าเรื่องพวกนี้มันเข้ามาใกล้ชีวิตเราทุกคนมากขึ้นทุกวัน  ลองดูรวมมิตรปัญหาลิขสิทธิ์ที่เคยมีคนถามเข้ามากันดูเลยครับ

ป้าเจ้าของร้านถ่ายเอกสารมาปรึกษาว่า  “มีคนมาขู่ว่าถ้าไม่มาเคลียร์จะเรียกเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือมาจับ เพราะป้าได้เอาหนังสือของอาจารย์ท่านหนึ่งมาถ่ายเอกสารเพื่อบริการนักศึกษาที่เรียนวิชานั้นกันเป็นพันคน แล้วทุกปีเด็กจะมาสั่งกันตอนต้นเทอมจนถ่ายเอกสารกันไม่หวาดไม่ไหว   เลยวางแผนว่าจะเอาหนังสือมาถ่ายเอกสารไว้ล่วงหน้าสัก ห้าร้อยชุดก่อนเพราะยังไงก็คงหมดเร็วแน่ๆแล้วที่ไม่พอก็ทยอยถ่ายเอกสารไปเรื่อยๆ เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องคอยนาน   หลังจากถ่ายเอกสารเสร็จก็เอามาวางติดป้ายและราคาไว้ให้เด็กมาหยิบแล้วจ่ายเงินได้เลย หลังจากนั้นก็มีคนเข้ามาหาบอกว่า ทำอย่างนี้มันละเมิดลิขสิทธิ์นะ เดี๋ยวจะไปแจ้งความตำรวจมาจับ ถ้าไม่รีบมาเคลียร์เดี๋ยวได้ติดคุกและเสียค่าปรับอานแน่   ป้าก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็คิดไว้แค่ว่าจะบริการนักศึกษาไม่ต้องมาคอยนานและมีเอกสารประกอบการเรียนให้ทันเวลา เพราะนี่ก็เปิดเทอมมาอาทิตย์กว่าแล้ว ถ้าใช้วีเก่าที่ถ่ายเอกสารเอาทีละเล่มตามจำนวนที่นักศึกษามาสั่ง มันเปลืองเวลาและจัดการยากกว่ามาก  จึงอยากถามว่าจะเอายังไงกับปัญหานี้ดี”

เรื่องถัดมามีน้องนักดนตรีมาร้องว่า “กลุ่มข้าพเจ้าโดนขโมยลิขสิทธิ์เพลงมนต์รักมีโอ ซึ่งเป็นงานที่ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆได้ร่วมกันสร้างสรรค์กันแต่งขึ้นมา และถูกคนที่รู้จักเพียงไม่กี่วันหลอกเอาเพลงไป ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ได้คืน เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ และอีกทั้งข้าพเจ้ายังเด็ก ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย  และเนื่องจากพวกข้าพเจ้าและเพื่อนติดเรียนจึงวานให้พี่ที่รู้จักนำเพลงไปจดลิขสิทธิ์ให้ แต่แล้วก็ถูกอ้างว่าเป็นของพวกเขาโดยเขายืนยันว่าเขามีหลักฐานว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีลายลักษณ์อักษร   แถมที่มันเจ็บใจก็เพราะมีคนเอาเพลงของเราไปร้องหากินได้ แต่พอเราจะเล่นบ้างกลับโดนขู่ว่าขโมยลิขสิทธิ์ เดี๋ยวจะเอาตำรวจมาจับอีก”

อีกเรื่องก็มาจากน้องนักกำกับหนังสั้นรุ่นใหม่ที่เข้าใกล้ความฝันแต่ต้องมาพบความจริงที่โหดร้าย “ข้าพเจ้าทำหนังชีวิตบดทรัพย์เพื่อที่จะส่งเข้าประกวดงานหนังสั้นรายการหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้พวกเราตั้งใจทำกันมานาน พอตัดต่อเสร็จก็อยากจะลองกระแสว่ามีคนสนใจมากแค่ไหน จึงได้ลองอัพโหลดลงไปในอินเตอร์เน็ตเพื่อดูยอดชมและการวิพากษ์วิจารณ์เผื่อว่าจะนำมาปรับปรุงให้โดนใจคนดูมากขึ้น ซึ่งก็ผ่านไปไม่มีใครว่าอะไร เห็นยอดวิวเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และมีคนชอบเยอะเหมือนกัน จึงตัดสินใจว่า ได้เวลานำหนังส่งเข้าประกวดได้แล้วล่ะ เพราะว่ากระแสดีอย่างนี้มีลุ้นรางวัลแน่นอน   พอส่งไปได้สักเดือนก็มีหนังสือเตือนจากกองประกวดว่าหนังของเรามีเนื้อหาลอกเลียนแบบหนังอีกเรื่องที่ส่งเข้ามาก่อน ขอให้ถอนตัว ไม่อย่างนั้นอีกเรื่องจะฟ้องร้องและจะกลายเป็นเรื่องใหญ่   เลยตัดสินใจมากปรึกษาเพื่อว่าจะทวงความเป็นธรรมกลับมาให้พวกเราด้วย เพราะเรามั่นใจมากว่าทำเองคิดเองไม่ได้ลอกใครแน่ๆ”

ส่วนเรื่องสุดท้ายมีเพื่อนๆในวงการหนังสือ มาหารือเป็นพักๆ ว่า มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่เป็นมรดกวรรณกรรมคลาสสิกของเหล่าบรรพชนเทพอักษรา ที่ทิ้งผลงานล้ำค่าควรแก่การจัดพิมพ์เผยแพร่ให้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาควรค่าแก่การอ่านและสะสมเพื่อให้ลูกหลานในการต่อยอดทางปัญญาต่อไป แต่กลับติดตรงที่ญาติพี่น้องของทวยเทพเหล่านี้ไม่มีอำนาจอนุญาตให้เผยแพร่ เพราะสำนักพิมพ์เก่าที่เป็นเจ้าของสิทธิในการจัดพิมพ์ในสมัยที่นักเขียนเหล่านี้ยังมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแง่เกี่ยวกับค่าลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ครั้งถัดไป   ทั้งไม่ให้พิมพ์บ้าง ให้พิมพ์แต่ขอแบ่งปันสิทธิในการจำหน่ายอย่างไม่เป็นธรรม   หรือถึงขั้นขู่ว่าจะฟ้องร้องกันให้เสียหายหรือล้มละลายกันไปเลยก็มี   ทำให้ต้องมีการคิดกันอย่างถ้วนถี่ก่อนจะมีการนำต้นฉบับอันล้ำค่าเหล่านั้นมาจัดพิมพ์ใหม่เพื่อให้คนรุ่นถัดไปได้เสพสุนทรียะทางปัญญาเหล่านั้นสืบไป

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การเปิดร้านถ่ายเอกสารโดยรับบริการทำสำเนาหนังสือถือเป็นความผิดทางกฎหมายหรือไม่ กรณีใดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

2.             หากจะทำสำเนาหนังสือจะต้องหารือหรือวางแผนอย่างไรเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา และรักษาสิทธิผู้ประพันธ์

3.             ลิขสิทธิ์ในเพลงเป็นสิ่งที่ต้องจดแจ้งหรือไม่ จึงจะเกิดสิทธิขึ้นมา แล้วเราเล่นเพลงของตนเองได้หรือไม่

4.             มีวิธีในการเรียกร้องสิทธิในเพลงของเรากลับมาอย่างไรบ้าง

5.             หนังที่เรารังสรรค์ขึ้นมา หากถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนหนังของคนอื่นและตัดสิทธิในการแข่งขันจะทำอย่างไร

6.             ลิขสิทธิ์มีระยะเวลาในการคุ้มครองแค่ไหน และใครกันแน่ที่เป็นเจ้าของสิทธิ์หลังจากผู้ประพันธ์เสียชีวิต

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การเปิดร้านถ่ายเอกสารโดยรับบริการทำสำเนาหนังสือถือเป็นความเสี่ยงต่อความผิดทางกฎหมายมาก กรณีการนำหนังสือมาถ่ายเอกสารล่วงหน้าเป็นความผิดแน่นอน และที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษจะมีคนสั่งแต่การถ่ายเอกสารทั้งเล่มก็ยังกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้แต่งในทางการค้า หากหนังสือเล่มดังกล่าวมีวางขายในท้องตลาด

2.             หากจะทำสำเนาหนังสือควรหารือกับเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน แล้ววางแผนร่วมกันกับผู้แต่งหรือสำนักพิมพ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา และรักษาสิทธิผู้ประพันธ์

3.             ลิขสิทธิ์ในเพลงเป็นสิ่งที่ไม่ต้องจดแจ้งเพราะกฎหมายกำหนดว่าลิขสิทธิ์เกิดนับตั้งแต่มีการเผยแพร่  แต่สาเหตุที่มีการพูดเรื่องจดแจ้งหรือไม่จึงจะเกิดสิทธิขึ้นมาเพราะว่าเป็นวิธีการสร้างหลักฐานการเผยแพร่โดยมีพยานคือหน่วยงานที่รับจดแจ้ง ซึ่งเราเล่นเพลงของตนเองได้หากต้องการยืนยันสิทธิ์ หากมีการโต้แย้งสิทธิ์ก็ต้องฟ้องกันในชั้นศาล โดยฝ่ายที่ชนะคดีอาจเรียกค่าเสียหายย้อนหลังได้เช่นกัน

4.             วิธีการเรียกร้องสิทธิในเพลง หรืองานประพันธ์ต่างๆ ทั้งหนัง หรือซอฟท์แวร์ ฯลฯ นั้นจะต้องมีการนำสืบว่าได้มีการเผยแพร่ก่อนผู้อื่น ซึ่งอาจจะนำหลักฐานในการอัพโหลด หรือสำเนาที่มีการยืนยันได้ถึงวันเวลาที่การเผยแพร่ต่อสาธารณะ

5.             หนังที่เรารังสรรค์ขึ้นมา หากถูกลอกเลียนหนังของคนอื่นและตัดสิทธิในการแข่งขัน จะสามารถขอยืนยันสิทธิเพื่อให้มีสิทธิแข่งขันได้ โดยมีการส่งหลักฐานวันเวลาและพยานอื่นๆประกอบ หากมีการโต้แย้งสิทธิก็ต้องสู้คดีกันในศาล

6.             ลิขสิทธิ์มีระยะเวลาในการคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้ประพันธ์และสืบเนื่องต่อไปยังทายาทอีก 50 ปีหลังจากเสียชีวิต แต่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์อาจไม่ใช่ผู้แต่งก็ได้หากมีการทำสัญญาพิเศษเพื่อโอนสิทธิให้บรรษัทห้างร้างหรือนายจ้าง แม้หลังจากผู้ประพันธ์เสียชีวิตไปแล้วก็ไม่โอนไปยังทายาท ยังเป็นของผู้ทรงสิทธิตามสัญญาต่อไปอีก 50 ปี

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             การเจรจาตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญ   และสามารถหาทางออกร่วมกันได้

2.             หากต้องการสร้างหลักฐานที่ยืนยันและกล่าวอ้างได้เข้มแข็งในทางกฎหมายให้ดำเนินการจดแจ้งกับสำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักพาณิชย์จังหวัดฯ

3.             หากมีข้อพิพาทต้องการเรียกร้องสิทธิกันให้ทำการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตาม พรบ.ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ให้ดำเนินคดีทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายนี้ให้เจ้าของสิทธิ์แจ้งต่อตำรวจได้เพราะมีโทษทางอาญาต่อผู้ละเมิดลิขสิทธิ์

4.             หากเป็นข้อพิพาทตกลงกันไม่ได้สามารถฟ้องบังคับตามได้ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเท

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักกฎมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งกรณีนี้เป็นเรื่องลิขสิทธิ์ผู้เป็นเจ้าของเพลงไม่ต้องจดทะเบียน เพียงแต่พิสูจน์ว่าแต่งเองและได้มีการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนระยะเวลานั้นคุ้มครองตลอดชีพและต่อเนื่องไปอีก 50 ปีแก่ทายาทหรือผู้เป็นเจ้าของสัญญา   การเจรจาตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในเบื้องต้นจึงสำคัญ   หากมีข้อพิพาทต้องการเรียกร้องสิทธิกันให้ทำการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตาม พรบ.ทรัพย์สินทางปัญญาให้ดำเนินคดีทางกฎหมาย และบังคับตามสิทธิที่ตนมีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี