Skip to main content

มีอะไรใหม่ใน EU Directive 2016/680 on Personal Data Protection relate to Criminal Procedure Matters

1.       กฎหมายระดับ Directive ของสหภาพยุโรปที่มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในควบคุมขององค์กรเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมไปถึงการส่งผ่าน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศในเขตอำนาจสหภาพยุโรป

2.       แนวทางยังสนับสนุนให้รัฐสมาชิกร่วมมือกับองค์กรตำรวจสากล Interpol แต่ต้องป้องกันมิให้เกิดการส่งข้อมูล โดยไม่มีมาตรการคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานของ General Data Protection Regulation การส่งข้อมูลพลเมืองสหภาพยุโรปข้ามพรมแดนจึงต้องมีการรับรองโดยรัฐปลายทาง ดังปรากฏการลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกา EU-US Umbrella Agreement

3.       ยกเลิกผลของกฎเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมเดิม คือ กรอบคำตัดสินของสภายุโรปที่ 2008/977/JHA และเป็นแนวทางใหม่มาแทน Directive 2006/24/EC ที่ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปยกเลิกผลไป พิพากษาที่ไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประชาชนในเขตอำนาจของสหภาพยุโรป ตามข้อ 8 แห่ง EU Charter of Fundamental Rights and Freedoms

4.       ยกเลิกกำหนดระยะเวลาที่ให้เก็บข้อมูลไว้เพื่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเดิม (6 เดือน – 2 ปี) เป็นการให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และมีการทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีความจำเป็นแล้วให้ลบทิ้งเสียทันที

5.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานข่าวกรองความมั่นคง และสายลับ

6.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมข้อมูลนิรนาม (Anonymous Information)

7.       กำหนดมาตรการป้องกันความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล และรักษามั่นคงของระบบทั้งในเชิงกายภาพและอิเล็คทรอนิคส์  รวมถึงกระบวนการประเมินความเสี่ยงของการรั่วไหล

8.       ห้าม “ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอัตโนมัติ” (automatic processing of personal data) โดยไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยเฉพาะเจาะจงต่ออาชญากรรม

9.       ให้สิทธิประชาชนในการร้องขอเข้าตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บ และปฏิเสธการจัดประเภทตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มต่างๆ (Profiling) ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกประติบัติในการดำเนินคดีทางอาญาอย่างสุ่มเสี่ยงระมัดระวังการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น การจัดเก็บตามเชื้อชาติ สีผิว ที่นำไปสู่อคติทางอาชญวิทยา  และต้องบอกว่าข้อมูลที่เก็บไปเป็นของใคร ผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย จำเลย อาชญากร

10.    ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับการแก้ไข ชดเชยความเสียหายจากการประมวลข้อมูลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

11.    มีกลไกตรวจสอบการประมวลผลของหน่วยงานต่างๆ มิให้ละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามที่แนวทางรับรอง

*รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องประกาศใช้หรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้ได้มาตรฐานตามแนวทางของสหภาพยุโรป ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2561

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี