Skip to main content

มีอะไรใหม่ใน EU Directive 2016/680 on Personal Data Protection relate to Criminal Procedure Matters

1.       กฎหมายระดับ Directive ของสหภาพยุโรปที่มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในควบคุมขององค์กรเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมไปถึงการส่งผ่าน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศในเขตอำนาจสหภาพยุโรป

2.       แนวทางยังสนับสนุนให้รัฐสมาชิกร่วมมือกับองค์กรตำรวจสากล Interpol แต่ต้องป้องกันมิให้เกิดการส่งข้อมูล โดยไม่มีมาตรการคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานของ General Data Protection Regulation การส่งข้อมูลพลเมืองสหภาพยุโรปข้ามพรมแดนจึงต้องมีการรับรองโดยรัฐปลายทาง ดังปรากฏการลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกา EU-US Umbrella Agreement

3.       ยกเลิกผลของกฎเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมเดิม คือ กรอบคำตัดสินของสภายุโรปที่ 2008/977/JHA และเป็นแนวทางใหม่มาแทน Directive 2006/24/EC ที่ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปยกเลิกผลไป พิพากษาที่ไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประชาชนในเขตอำนาจของสหภาพยุโรป ตามข้อ 8 แห่ง EU Charter of Fundamental Rights and Freedoms

4.       ยกเลิกกำหนดระยะเวลาที่ให้เก็บข้อมูลไว้เพื่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเดิม (6 เดือน – 2 ปี) เป็นการให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และมีการทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีความจำเป็นแล้วให้ลบทิ้งเสียทันที

5.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานข่าวกรองความมั่นคง และสายลับ

6.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมข้อมูลนิรนาม (Anonymous Information)

7.       กำหนดมาตรการป้องกันความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล และรักษามั่นคงของระบบทั้งในเชิงกายภาพและอิเล็คทรอนิคส์  รวมถึงกระบวนการประเมินความเสี่ยงของการรั่วไหล

8.       ห้าม “ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอัตโนมัติ” (automatic processing of personal data) โดยไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยเฉพาะเจาะจงต่ออาชญากรรม

9.       ให้สิทธิประชาชนในการร้องขอเข้าตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บ และปฏิเสธการจัดประเภทตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มต่างๆ (Profiling) ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกประติบัติในการดำเนินคดีทางอาญาอย่างสุ่มเสี่ยงระมัดระวังการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น การจัดเก็บตามเชื้อชาติ สีผิว ที่นำไปสู่อคติทางอาชญวิทยา  และต้องบอกว่าข้อมูลที่เก็บไปเป็นของใคร ผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย จำเลย อาชญากร

10.    ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับการแก้ไข ชดเชยความเสียหายจากการประมวลข้อมูลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

11.    มีกลไกตรวจสอบการประมวลผลของหน่วยงานต่างๆ มิให้ละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามที่แนวทางรับรอง

*รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องประกาศใช้หรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้ได้มาตรฐานตามแนวทางของสหภาพยุโรป ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2561

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ