Skip to main content

มีอะไรใหม่ใน EU Directive 2016/680 on Personal Data Protection relate to Criminal Procedure Matters

1.       กฎหมายระดับ Directive ของสหภาพยุโรปที่มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในควบคุมขององค์กรเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมไปถึงการส่งผ่าน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศในเขตอำนาจสหภาพยุโรป

2.       แนวทางยังสนับสนุนให้รัฐสมาชิกร่วมมือกับองค์กรตำรวจสากล Interpol แต่ต้องป้องกันมิให้เกิดการส่งข้อมูล โดยไม่มีมาตรการคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานของ General Data Protection Regulation การส่งข้อมูลพลเมืองสหภาพยุโรปข้ามพรมแดนจึงต้องมีการรับรองโดยรัฐปลายทาง ดังปรากฏการลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกา EU-US Umbrella Agreement

3.       ยกเลิกผลของกฎเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมเดิม คือ กรอบคำตัดสินของสภายุโรปที่ 2008/977/JHA และเป็นแนวทางใหม่มาแทน Directive 2006/24/EC ที่ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปยกเลิกผลไป พิพากษาที่ไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประชาชนในเขตอำนาจของสหภาพยุโรป ตามข้อ 8 แห่ง EU Charter of Fundamental Rights and Freedoms

4.       ยกเลิกกำหนดระยะเวลาที่ให้เก็บข้อมูลไว้เพื่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเดิม (6 เดือน – 2 ปี) เป็นการให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และมีการทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีความจำเป็นแล้วให้ลบทิ้งเสียทันที

5.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานข่าวกรองความมั่นคง และสายลับ

6.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมข้อมูลนิรนาม (Anonymous Information)

7.       กำหนดมาตรการป้องกันความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล และรักษามั่นคงของระบบทั้งในเชิงกายภาพและอิเล็คทรอนิคส์  รวมถึงกระบวนการประเมินความเสี่ยงของการรั่วไหล

8.       ห้าม “ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอัตโนมัติ” (automatic processing of personal data) โดยไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยเฉพาะเจาะจงต่ออาชญากรรม

9.       ให้สิทธิประชาชนในการร้องขอเข้าตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บ และปฏิเสธการจัดประเภทตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มต่างๆ (Profiling) ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกประติบัติในการดำเนินคดีทางอาญาอย่างสุ่มเสี่ยงระมัดระวังการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น การจัดเก็บตามเชื้อชาติ สีผิว ที่นำไปสู่อคติทางอาชญวิทยา  และต้องบอกว่าข้อมูลที่เก็บไปเป็นของใคร ผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย จำเลย อาชญากร

10.    ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับการแก้ไข ชดเชยความเสียหายจากการประมวลข้อมูลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

11.    มีกลไกตรวจสอบการประมวลผลของหน่วยงานต่างๆ มิให้ละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามที่แนวทางรับรอง

*รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องประกาศใช้หรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้ได้มาตรฐานตามแนวทางของสหภาพยุโรป ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2561

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต