Skip to main content

มีอะไรใหม่ใน EU Directive 2016/680 on Personal Data Protection relate to Criminal Procedure Matters

1.       กฎหมายระดับ Directive ของสหภาพยุโรปที่มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในควบคุมขององค์กรเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมไปถึงการส่งผ่าน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศในเขตอำนาจสหภาพยุโรป

2.       แนวทางยังสนับสนุนให้รัฐสมาชิกร่วมมือกับองค์กรตำรวจสากล Interpol แต่ต้องป้องกันมิให้เกิดการส่งข้อมูล โดยไม่มีมาตรการคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานของ General Data Protection Regulation การส่งข้อมูลพลเมืองสหภาพยุโรปข้ามพรมแดนจึงต้องมีการรับรองโดยรัฐปลายทาง ดังปรากฏการลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกา EU-US Umbrella Agreement

3.       ยกเลิกผลของกฎเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมเดิม คือ กรอบคำตัดสินของสภายุโรปที่ 2008/977/JHA และเป็นแนวทางใหม่มาแทน Directive 2006/24/EC ที่ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปยกเลิกผลไป พิพากษาที่ไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประชาชนในเขตอำนาจของสหภาพยุโรป ตามข้อ 8 แห่ง EU Charter of Fundamental Rights and Freedoms

4.       ยกเลิกกำหนดระยะเวลาที่ให้เก็บข้อมูลไว้เพื่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเดิม (6 เดือน – 2 ปี) เป็นการให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และมีการทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีความจำเป็นแล้วให้ลบทิ้งเสียทันที

5.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานข่าวกรองความมั่นคง และสายลับ

6.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมข้อมูลนิรนาม (Anonymous Information)

7.       กำหนดมาตรการป้องกันความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล และรักษามั่นคงของระบบทั้งในเชิงกายภาพและอิเล็คทรอนิคส์  รวมถึงกระบวนการประเมินความเสี่ยงของการรั่วไหล

8.       ห้าม “ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอัตโนมัติ” (automatic processing of personal data) โดยไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยเฉพาะเจาะจงต่ออาชญากรรม

9.       ให้สิทธิประชาชนในการร้องขอเข้าตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บ และปฏิเสธการจัดประเภทตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มต่างๆ (Profiling) ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกประติบัติในการดำเนินคดีทางอาญาอย่างสุ่มเสี่ยงระมัดระวังการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น การจัดเก็บตามเชื้อชาติ สีผิว ที่นำไปสู่อคติทางอาชญวิทยา  และต้องบอกว่าข้อมูลที่เก็บไปเป็นของใคร ผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย จำเลย อาชญากร

10.    ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับการแก้ไข ชดเชยความเสียหายจากการประมวลข้อมูลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

11.    มีกลไกตรวจสอบการประมวลผลของหน่วยงานต่างๆ มิให้ละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามที่แนวทางรับรอง

*รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องประกาศใช้หรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้ได้มาตรฐานตามแนวทางของสหภาพยุโรป ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2561

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที