Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Privacy Shield 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาในการให้หลักประกันแก่ผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลมั่นใจว่า ข้อมูลของตนจะได้รับการคุ้มครองในเขตอำนาจของทั้งสองฝ่าย และผู้ประกอบการที่มาลงทะเบียนภายใต้ระบบมาตรฐานนี้   โดยลงนามรับรองระหว่างกันตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2559

2.       สหรัฐเปิดให้ผู้ประกอบการมาลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559 มีเวลาปรับตัวจนถึง 25 พฤษภาคม 2561 หาไม่แล้วจะเข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรปไม่ได้ เพราะขัดกับ EU General Data Protection Regulation

3.       ข้อตกลง EU-US Privacy Shield จึงเป็นผลลัพธ์โดยตรงของการประกาศใช้ EU General Data Protection Regulation  ข้อตกลงทั้งสองจึงมีภาวะนำในการกำหนดมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาคมโลก เพราะเป็นกฎหมายของตลาดดิจิตัลโลกเสรีที่กินพื้นที่กว้างครอบคลุมพลเมืองเน็ตเยอะ

4.       มีการเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะสิทธิในการได้รับข้อมูลและแจ้งข่าวสาร อาทิ ข้อมูลอะไรที่จะถูกเก็บ ถูกประมวลผล ส่งข้ามแดน ผู้ประกอบการได้ขึ้นทะเบียนรับรองแล้ว นโยบายของผู้ประกอบการ ช่องทางในการติดต่อผู้ประกอบการ วิธีการร้องเรียนหน่วยงานตรวจสอบเยียวยาสิทธิ

5.       กำหนดข้อจำกัดในการประมวลผลจากข้อมูลให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น วัตถุประสงค์ ขอบเขต และเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในการปฏิเสธการส่งข้อมูลต่อไปยังองค์กรอื่น หรือส่งข้ามแดน หากไม่ตรงกับความยินยอมขั้นต้น   หากผู้ควบคุมประมวลผลข้อมูลฝ่าฝืนจะต้องรับผิดจากการละเมิดดังกล่าวด้วย

6.       การกำหนดขอบเขตในการประมวลผลให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และทันสถานการณ์เสมอ  และตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปเท่าที่จำเป็น และต้องลบข้อมูลออกเมื่อเกินกว่าความจำเป็นแล้ว

7.       สร้างมาตรการป้องกันภัยพิบัติทั้งจากภัยในเชิงกายภาพ และการล่วงละเมิดบุกรุกคุกคามระบบทุกรูปแบบ และมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงเพื่อระวังภัยล่วงหน้า

8.       ให้สิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ทันสมัย และมีสิทธิในการร้องให้ผู้ประกอบการแก้ไข และผู้ประกอบการต้องแจ้งถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อมูลให้สอดคล้องกับความจริง หากปฏิเสธก็ต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบด้วย

9.       การจัดตั้งกลไกให้หน้าที่การตรวจตราผู้ประกอบการทั้งหลายที่มาลงทะเบียนปฏิบัติตามข้อตกลง รวมถึงให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ (Data Protection Authority – DPA) ทั้งที่มีในแต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และที่มีในสหรัฐและมีคณะทำงานร่วมสองฝ่ายในการรับเรื่องเพื่อพิจารณา (Panel)

10.   การสร้างช่องทางเยียวยาให้กับผู้ทรงสิทธิที่ถูกละเมิดหรือไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขึ้น โดยอาจร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการสิทธิ (Data Protection Ombudsman) หากความเสียหายเกิดจากการละเมิดของหน่วยงานรัฐของสหรัฐ

11.   ออกแบบกระบวนการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทและเยียวยาความเสียหายทางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR)

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที