Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559

2.       ผลลัพธ์จากการปฏิรูประบบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และการวางแนวทางใหม่ของสหภาพยุโรปในประเด็นนี้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา อาชญากร รวมถึงผู้ก่อการร้าย นักรบต่างชาติ ข้ามพรมแดนระหว่างสหรัฐกับสหภาพยุโรป 

3.       เนื่องจากกฎหมายเรื่องนี้ของยุโรปเป็นระดับ Directive ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังต้องไปออกกฎหมายภายใน และสหรัฐก็ปรับกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง รวมสร้างกลไกตรวจตรา ตรวจสอบ และเยียวยา ระหว่างกันเพิ่มเติม

4.       สร้างขอบเขตการประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่าจะเก็บข้อมูลประมวลข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง

5.       การส่งข้อมูลข้ามพรมแดนทั้งหลายจะต้องได้รับการยินยอมจากหน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลต้นทางเสียก่อน

6.       กำหนดระยะเวลาในการเก็บกักข้อมูลให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็น โดยประกาศเป็นการทั่วไปว่าข้อมูลที่จัดเก็บในกรณีต่างๆว่าอยู่ในระยะเวลาเท่าใด ประชาชนค้นหาประกาศและเข้าถึงข้อมูลเงื่อนไขเหล่านั้นได้

7.       ให้สิทธิผู้ทรงสิทธิเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับกับตนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และสามารถร้องขอให้หน่วยงานที่เก็บข้อมูลปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

8.       หน่วยงานที่ควบคุมข้อมูลจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบหากข้อมูลรั่วไหล หรือมีความเสียหายเกิดขึ้น

9.       พลเมืองสหภาพยุโรปมีสิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลสหรัฐหาก หน่วยงานรัฐปฏิเสธการเข้าถึงหรือขอแก้ไขข้อมูล หรือเมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยรั่วไหล  รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิในการได้รับเยียวยาตามกฎหมาย US Judicial Redress Bill ที่สภาคองเกรสประกาศตั้งแต่ 18 มีนาคม 2559  เสมือนพลเมืองสหภาพยุโรปได้รับการปกป้องสิทธิเท่าพลเมืองสหรัฐตาม US Privacy Act of 1974

10.   จัดตั้งหน่วยงานในการควบคุมตรวจตรา (Oversight) การประมวลข้อมูล ส่งต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามหลักประกันที่กำหนดไว้ในข้อตกลง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที