Skip to main content

ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมุ่งเสาะแสวงหาผู้ที่คิดต่างกับรัฐเพื่อปราบปรามโดยใช้มาตรการทางกฎหมายที่รุนแรง  แสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนองค์ความรู้อย่างรอบด้านในการธำรงความมั่นคงและสงบเรียบร้อยในโลกไซเบอร์ โดยส่งเสริมความก้าวหน้าของตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลไปในคราวเดียวกัน  

จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริม "ความรู้" ที่มุ่งสู่การส่งเสริมความเบ่งบานของโครงการไทยแลนด์ 4.0 บนพื้นฐานของการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากผู้คนหลากหลายในสังคม   การรักษาความปลอดภัยและมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่พึงระลึกเสมอว่า เป้าหมายของมันคือ การรักษาสิทธิของพลเมืองเน็ตทั้งหลายให้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงามทางความคิดจินตนาการ  มิใช่ควบคุมให้อยู่ในกระถางบอนไซเล็กๆที่ล้อมกรอบไว้   เพราะการแข่งขันในตลาดโลกสูง ความคิดที่สดใหม่ ไร้กรอบเท่านั้นที่จะทะลุปล้องไปแข่งขันได้

กฎหมายอาชญากรรม สงคราม และความมั่นคงไซเบอร์ 
Law on Cybercrime, Cyber warfare and Cybersecurity

วิชานี้จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาระบบปฏิบัติการและโครงสร้างการสื่อสารด้านโทรคมนาคมที่มีลักษณะเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายคลื่นและสร้างพื้นที่ชนิดใหม่ที่เรียกว่า “พื้นที่ไซเบอร์” (Cyberspace)

โดยในปัจจุบันมีกรณีศึกษาทั้งระดับรัฐและระดับโลกที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์ รวมทั้งการกำหนดความผิดและโทษต่อการโจมตีหรือก่ออาชญากรรมต่อระบบ อันได้แก่
1) การก่ออาชญากรรมต่อเครือข่ายการสื่อสารทางอินเตอร์ หรือการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
2) การทำสงครามระหว่างประเทศ หรือการโจมตีระบบโดยองค์กรอาชญากรรม หรืออาชญากรข้ามชาติ
3) การแทรกซึม บ่อนทำลายหรือแพร่ข้อมูลที่ทำอันตรายระบบปฏิบัติและเครือข่ายการสื่อสารและความมั่นคง


เวทีประชาคมโลกที่เจรจาหาระบอบในการควบคุมการกระทำความผิดและปกป้องสิทธิของพลเมืองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผลักดันให้รัฐสมาชิกตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกันสถาปนากฎหมายและกลไกมาบังคับใช้มาตรการร่วมกันใน 3 ประเด็น คือ
1) กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งในระดับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และรัฐบัญญัติของแต่ละประเทศ
2) สนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการโจมตีระบบปฏิบัติการระหว่างประเทศ และกลไกระหว่างรัฐ
3) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ร่วม และการผลักดันกลไกภายในรัฐ


กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ องค์กร หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติการทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจทั้ง 3 ด้านดังกล่าวไปแล้ว อาทิ กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพ สภาความมั่นคงแห่งชาติ บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงไซเบอร์ และผู้ควบคุมระบบปฏิบัติการในหน่วยงานรัฐ และเอกชน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมไทยตามแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

*หวังว่าจะไม่มีอาจารย์ผู้สอนวิชาเหล่านี้ให้ความเห็นว่า Like สเตตัสเป็นความผิดอาญาอีกนะครั่บ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม