Skip to main content

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกต้องการคือ การพยายามหยุดยั้งกิจกรรมต่างๆไม่ให้เกิดขึ้น ก่อนที่มันจะเกิดด้วยซ้ำ   เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันได้เปิดให้รัฐเข้าไปสืบข้อมูลการเคลื่อนไหวของบุคคลทั้งหลาย เพื่อมองหาความเป็นไปได้จากพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสืบให้รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร มีลักษณะสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการกระทบ “ความมั่นคงของรัฐ” หรือไม่ เพื่อบุกเข้าไปควบคุมก่อนที่คนเหล่านั้นจะได้กระทำการ       

เช่นเดียวกับรัฐบรรษัทและกลุ่มทุนทั้งหลายที่ต้องการรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคล่วงหน้าเพื่อจะจัดหา “สินค้า/บริการ” ที่ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าเหล่านั้น   และบางกรณีที่บรรษัทมีกิจกรรมทางธุรกิจกระทบกระทั่งกับประชาชน เช่น โรงงานก่อมลพิษ แย่งชิงทรัพยากร ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่อยู่ในฐานไปใช้   แล้วเกรงว่าประชาชนจะลุกฮือขึ้นประท้วงจนเสียภาพลักษณ์  บรรษัทก็จะนำยุทธวิธีข่าวกรองเหล่านี้มาวางแผนเพื่อหาทางสะกดกั้นและตอบโต้ประชาชนล่วงหน้า เช่นกัน

อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลล่วงหน้า จึงเป็นอำนาจในการรู้ “เขา” ก่อนจะทำสงครามทุกรูปแบบ  

อย่างไรก็ดีหากไม่มีมาตรการตรวจสอบกระบวนการสอดส่องพฤติกรรมของคนทั้งหลายโดยสังคม ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่า อำนาจมากล้นที่รัฐและบรรษัทมีอยู่จะไม่ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนของเจ้าหน้าที่บางคน หรือมีไว้เพื่อใช้ประหัตประหารประชาชนที่คิดต่าง คัดค้านโครงการของรัฐ ต่อต้านกิจกรรมของบรรษัท    กล่าวคือ หากผู้มีอำนาจใช้เทคโนโลยีสอดส่องไม่ได้เป็น “คนดี” มี “จิตสำนึก” ตลอดเวลา ใครจะรู้ว่าเขาจะเอาพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลทางการเงิน ความลับทางการค้า หรือ ความสัมพันธ์ลับๆของประชาชน มาใช้เป็นเครื่องมือ “แบล็คเมล์” บีบคั้นให้ประชาชนทำอะไรตามที่บงการ หรือไม่

แล้วสังคมอุดมคติที่ต้องการให้ประชาชนตื่นตัวลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการแสดงออกอย่างเสรี หรือเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร   หากประชาชนถูกสกัดกั้นไล่ล่าหลังฉากตั้งแต่ยังไม่ได้แสดงออกมาสู่สาธารณะ   หรือ   ถ้าเกิดคนกล้า ก็จะถูกจับเข้าสู่รายชื่อสอดส่องและสืบข้อมูลทั้งหลายย้อนหลัง เพื่อนำข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนมาโจมตี หรือมีการเฝ้าระวังบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลาทุกมิติ  ว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต   จนบุคคลเหล่านี้ไม่กล้าแสดงออกหรือทำกิจกรรมต่างๆอีกต่อไปเพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบรรษัทที่ตนเองต่อต้านได้จับตาความประพฤติของตนอยู่  
                การชักกะเย่อทางอำนาจ ระหว่าง รัฐ/บรรษัท กับ ประชาชน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา อยู่ที่ใครจะดึงมาให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตน   หลังการแฉความลับว่ารัฐล้ำเส้นประชาชนในประวัติศาสตร์หลายครั้ง ประชาชนจะลุกฮือขึ้นปกป้องสิทธิและเรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิโดยรัฐและกลุ่มทุนทั้งหลาย   แต่เมื่อนานไปจนประชาชนนอนใจรัฐและบรรษัทก็จะค่อยรุกคืบขยายอำนาจของตนเงียบๆด้วยเทคโนโลยีและสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และหาโอกาสที่จะเพิ่มอำนาจของรัฐด้วยการออกกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการควบคุมประชาชนอีก  

โอกาสที่รัฐมองหา ก็คือ การเกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ที่ประชาชนทั้งหลายรับรู้และเกิดความสะพรึงกลัว จนยอมมอบอำนาจให้รัฐเพื่อหวังจะได้รับการปกป้องตอบแทน   เช่น การก่อการร้ายโจมตีผู้บริสุทธิ์ หรืออาชญากรรมร้ายแรง จนประชาชนที่ดูเหตุการณ์ผ่านสื่อก็จะโกรธเกรี้ยว หรือเกรงอันตรายจะมาถึงตัว   เมื่อรัฐยื่นข้อเสนอว่าจะใช้อำนาจจัดการกับ “คนเลว” อย่างเด็ดขาด แต่ขออำนาจกฎหมายใช้เทคโนโลยีในการสอดส่อง หาข้อมูล   ประชาชนก็อาจโผเข้ารับข้อเสนออย่างไม่ทันยั้งคิด เนื่องจากโดนความรู้สึกหวาดกลัว โกรธแค้นเข้าครอบงำ 

จนเวลาผ่านไปเมื่อรัฐและบรรษัทเจ้าของเทคโนโลยีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจที่ได้มาถูกใช้ไปตามอำเภอใจและละเมิดสิทธิประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นผู้ทรงสิทธิต้องได้รับการปกป้องตามกฎหมาย    ก็กลายเป็นว่าประชาชนต้องลุกขึ้นมาสู้และล้มล้างกฎหมายที่ตนเคยให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้   การเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกและการสร้างสติยั้งคิดในการร่างกฎหมายทุกฉบับ จึงเป็น “สงคราม” ที่สำคัญในนิติรัฐที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะสันติ

สหรัฐอเมริกาหลังการสังหาร บินลาเด็น ด้วยยุทธศาสตร์ข่าวกรอง แทน การรีดเค้าข้อมูลด้วยการทรมาน ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและบรรษัท ได้หยิบมาโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนคล้อยตามว่าการสอดส่องการเคลื่อนไหวโดยละเมิดความเป็นส่วนตัว เป็นสิ่งจำเป็นแทนการใช้กำลังปราบปรามหรือทรมานในคุกลับ (เปลี่ยนบทบาทจาก Big Brother เป็น Big Mama แทน) แล้วผลักดันกฎหมายออกมาเอื้อฝ่ายความมั่นคงของรัฐและอำนวยความสะดวกให้กับบรรษัทที่ให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข่าวกรองกับรัฐ  

การกลับมาของฝ่ายความมั่นคงจึงต้องติดตามมิให้คลาดสายตา
                ความสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วยการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว กับ การให้อำนาจรัฐในการสอดส่องเพื่อป้องกันภัยผ่านเทคโนโลยีของบรรษัท จึงเป็นวาระสำคัญทุกยุคทุกสมัย และสังคมต้อง “จับตามอง” มิให้ดุลย์แห่งอำนาจเคลื่อนย้ายไปจนไม่อาจปกป้องตัวเองให้รอดพ้นภัยจากการคุกคามทั้งใน “ที่ลับ” และ “ที่แจ้ง” 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ