Skip to main content

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกต้องการคือ การพยายามหยุดยั้งกิจกรรมต่างๆไม่ให้เกิดขึ้น ก่อนที่มันจะเกิดด้วยซ้ำ   เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันได้เปิดให้รัฐเข้าไปสืบข้อมูลการเคลื่อนไหวของบุคคลทั้งหลาย เพื่อมองหาความเป็นไปได้จากพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสืบให้รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร มีลักษณะสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการกระทบ “ความมั่นคงของรัฐ” หรือไม่ เพื่อบุกเข้าไปควบคุมก่อนที่คนเหล่านั้นจะได้กระทำการ       

เช่นเดียวกับรัฐบรรษัทและกลุ่มทุนทั้งหลายที่ต้องการรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคล่วงหน้าเพื่อจะจัดหา “สินค้า/บริการ” ที่ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าเหล่านั้น   และบางกรณีที่บรรษัทมีกิจกรรมทางธุรกิจกระทบกระทั่งกับประชาชน เช่น โรงงานก่อมลพิษ แย่งชิงทรัพยากร ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่อยู่ในฐานไปใช้   แล้วเกรงว่าประชาชนจะลุกฮือขึ้นประท้วงจนเสียภาพลักษณ์  บรรษัทก็จะนำยุทธวิธีข่าวกรองเหล่านี้มาวางแผนเพื่อหาทางสะกดกั้นและตอบโต้ประชาชนล่วงหน้า เช่นกัน

อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลล่วงหน้า จึงเป็นอำนาจในการรู้ “เขา” ก่อนจะทำสงครามทุกรูปแบบ  

อย่างไรก็ดีหากไม่มีมาตรการตรวจสอบกระบวนการสอดส่องพฤติกรรมของคนทั้งหลายโดยสังคม ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่า อำนาจมากล้นที่รัฐและบรรษัทมีอยู่จะไม่ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนของเจ้าหน้าที่บางคน หรือมีไว้เพื่อใช้ประหัตประหารประชาชนที่คิดต่าง คัดค้านโครงการของรัฐ ต่อต้านกิจกรรมของบรรษัท    กล่าวคือ หากผู้มีอำนาจใช้เทคโนโลยีสอดส่องไม่ได้เป็น “คนดี” มี “จิตสำนึก” ตลอดเวลา ใครจะรู้ว่าเขาจะเอาพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลทางการเงิน ความลับทางการค้า หรือ ความสัมพันธ์ลับๆของประชาชน มาใช้เป็นเครื่องมือ “แบล็คเมล์” บีบคั้นให้ประชาชนทำอะไรตามที่บงการ หรือไม่

แล้วสังคมอุดมคติที่ต้องการให้ประชาชนตื่นตัวลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการแสดงออกอย่างเสรี หรือเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร   หากประชาชนถูกสกัดกั้นไล่ล่าหลังฉากตั้งแต่ยังไม่ได้แสดงออกมาสู่สาธารณะ   หรือ   ถ้าเกิดคนกล้า ก็จะถูกจับเข้าสู่รายชื่อสอดส่องและสืบข้อมูลทั้งหลายย้อนหลัง เพื่อนำข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนมาโจมตี หรือมีการเฝ้าระวังบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลาทุกมิติ  ว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต   จนบุคคลเหล่านี้ไม่กล้าแสดงออกหรือทำกิจกรรมต่างๆอีกต่อไปเพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบรรษัทที่ตนเองต่อต้านได้จับตาความประพฤติของตนอยู่  
                การชักกะเย่อทางอำนาจ ระหว่าง รัฐ/บรรษัท กับ ประชาชน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา อยู่ที่ใครจะดึงมาให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตน   หลังการแฉความลับว่ารัฐล้ำเส้นประชาชนในประวัติศาสตร์หลายครั้ง ประชาชนจะลุกฮือขึ้นปกป้องสิทธิและเรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิโดยรัฐและกลุ่มทุนทั้งหลาย   แต่เมื่อนานไปจนประชาชนนอนใจรัฐและบรรษัทก็จะค่อยรุกคืบขยายอำนาจของตนเงียบๆด้วยเทคโนโลยีและสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และหาโอกาสที่จะเพิ่มอำนาจของรัฐด้วยการออกกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการควบคุมประชาชนอีก  

โอกาสที่รัฐมองหา ก็คือ การเกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ที่ประชาชนทั้งหลายรับรู้และเกิดความสะพรึงกลัว จนยอมมอบอำนาจให้รัฐเพื่อหวังจะได้รับการปกป้องตอบแทน   เช่น การก่อการร้ายโจมตีผู้บริสุทธิ์ หรืออาชญากรรมร้ายแรง จนประชาชนที่ดูเหตุการณ์ผ่านสื่อก็จะโกรธเกรี้ยว หรือเกรงอันตรายจะมาถึงตัว   เมื่อรัฐยื่นข้อเสนอว่าจะใช้อำนาจจัดการกับ “คนเลว” อย่างเด็ดขาด แต่ขออำนาจกฎหมายใช้เทคโนโลยีในการสอดส่อง หาข้อมูล   ประชาชนก็อาจโผเข้ารับข้อเสนออย่างไม่ทันยั้งคิด เนื่องจากโดนความรู้สึกหวาดกลัว โกรธแค้นเข้าครอบงำ 

จนเวลาผ่านไปเมื่อรัฐและบรรษัทเจ้าของเทคโนโลยีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจที่ได้มาถูกใช้ไปตามอำเภอใจและละเมิดสิทธิประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นผู้ทรงสิทธิต้องได้รับการปกป้องตามกฎหมาย    ก็กลายเป็นว่าประชาชนต้องลุกขึ้นมาสู้และล้มล้างกฎหมายที่ตนเคยให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้   การเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกและการสร้างสติยั้งคิดในการร่างกฎหมายทุกฉบับ จึงเป็น “สงคราม” ที่สำคัญในนิติรัฐที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะสันติ

สหรัฐอเมริกาหลังการสังหาร บินลาเด็น ด้วยยุทธศาสตร์ข่าวกรอง แทน การรีดเค้าข้อมูลด้วยการทรมาน ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและบรรษัท ได้หยิบมาโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนคล้อยตามว่าการสอดส่องการเคลื่อนไหวโดยละเมิดความเป็นส่วนตัว เป็นสิ่งจำเป็นแทนการใช้กำลังปราบปรามหรือทรมานในคุกลับ (เปลี่ยนบทบาทจาก Big Brother เป็น Big Mama แทน) แล้วผลักดันกฎหมายออกมาเอื้อฝ่ายความมั่นคงของรัฐและอำนวยความสะดวกให้กับบรรษัทที่ให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข่าวกรองกับรัฐ  

การกลับมาของฝ่ายความมั่นคงจึงต้องติดตามมิให้คลาดสายตา
                ความสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วยการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว กับ การให้อำนาจรัฐในการสอดส่องเพื่อป้องกันภัยผ่านเทคโนโลยีของบรรษัท จึงเป็นวาระสำคัญทุกยุคทุกสมัย และสังคมต้อง “จับตามอง” มิให้ดุลย์แห่งอำนาจเคลื่อนย้ายไปจนไม่อาจปกป้องตัวเองให้รอดพ้นภัยจากการคุกคามทั้งใน “ที่ลับ” และ “ที่แจ้ง” 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม