Skip to main content

จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา

              แต่สิ่งน่าสังเกต คือ เหตุใด ฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาที่รู้ล่วงหน้าว่า จะมีแผนก่อวินาศกรรมขึ้น กลับไม่สามารถป้องกันเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่มีแผนปฏิบัติการใดๆในการควบคุมสถานการณ์   หลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า   นี่เป็นจุดเริ่มต้น ของการหวนคืนสู่อำนาจของฝ่ายความมั่นคงทั่วโลก    หลังจากหมดความสำคัญลงไปเมื่อสงครามเย็นและกำแพงแห่งความหวาดกลัวสิ้นสุดลงในต้นทศวรรษ 1990

                จุดเริ่มต้นแห่งการสูญเสีย เกิดขึ้นนับแต่ การประกาศทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเต็มรูปแบบของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรทั้งในและนอกนาโต้   การทำสงครามระหว่างประเทศรุกรานโดยไม่ขอมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประชาชนชาวอัฟกานิสถาน อิรัก ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการโจมตีไม่จำกัดขอบเขต การทำลายบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน   แล้วส่งโครงการฟื้นฟูเข้าไปโดยแลกกลับการใช้น้ำมันของสองประเทศเป็นค่าใช้จ่าย 

                แต่ความสูญเสียที่กระทบกับพวกเราทุกคนทั่วโลก คือ การสร้างระบอบอำนาจทหารให้เข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหลังการพัฒนาความแข็งแกร่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทั่วโลก   กองทัพและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกฉวยใช้ ความหวาดกลัวต่อภัยก่อการร้ายมาเป็น “ข้ออ้าง” ในการจัดซื้อจัดจ้างเทคโนโลยี อาวุธ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงเป็นมูลค่ามหาศาล

                ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐแก่ฝ่ายบริหาร เพื่ออ้างความมั่นคงเข้าไปตรวจตรา ตรวจสอบ เฝ้าระวัง หรือติดตามสืบสวนบุคคล โดยไม่ต้องขออำนาจศาลก็เพิ่มขึ้น  ดังปรากฏกฎหมายความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และกฎหมายข่าวกรองระหว่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ  

                ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ใช้ข้ออ้างในการจัดการภัยก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อออก พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548   ต่อมารัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตามการร้องขอและผลักดันของกองทัพในช่วงที่เป็นรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 นั่นเอง 

                การใช้กฎหมายทั้งสองฉบับ รวมไปถึง กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลทหารและพลเรือนในการใช้ควบคุมประชาชนที่เห็นต่าง คัดค้านรัฐบาลเสมอ   ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม รวมไปถึงให้อำนาจ “สืบในทางลับ” และนำไปสู่การจับกุม และดำเนินคดีโดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายเหล่านี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าเนื้อหาในกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และมี พระราชบัญญัติอนุวัติการให้มีผลบังคับใช้ในศาลไทยอยู่   แต่แนวทางการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ยอมตามอำนาจรัฐและฝ่ายความมั่นคง  มากกว่า การประกันสิทธิของประชาชน

                คนจำนวนมากไม่สนใจ ไม่เข้าใจ และไม่คิดว่าเป็นปัญหา ตราบเท่าที่ “คุณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะกลัวอะไร”   แต่คนหลายกลุ่มก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า   แม้ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำอะไรไม่เป็นที่สบายใจของผู้มีอำนาจก็อาจต้องโทษทัณฑ์ขั้นร้ายแรงได้ เช่น ไม่ไปรายงานตัวเมื่อโดนเรียก   หรือ การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด   หรือ ยืนชูสามนิ้วในที่สาธารณะ  เรื่อยไปจนถึงการตั้งรางวัลนำจับให้ พลเมืองดีจับตาดูผู้ที่เป็นภัยต่อชาติในอินเตอร์เน็ต

                หากท่านยังคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่อง “ปกติ” และ “ยอมรับได้”   นั่นหมายความว่า ท่านได้เอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงเช่นกัน   เพราะวันหนึ่งท่านอาจเป็นฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจได้เช่นกัน   เมื่อวันเวลาของขั้วอำนาจเปลี่ยนไป

                ในฐานะประชาชนทั่วไปในหลายประเทศทั่วโลก   ภัยที่ชัดเจนและมาพร้อมยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การคุกคามความเป็นส่วนตัว ด้วยเทคโนโลยีติดตาม ตรวจดักข้อมูล และการเฝ้าระวัง (Surveillance Technology) โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจากอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ NSA – Eric Snowdens ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า ข้อมูลที่เราคิดว่าไม่มีใครรู้ เป็นความลับของเรา การใช้อินเตอร์เน็ตนั้นปลอดภัย อยู่ในการดูแลของบริษัทผู้บริการ นั้นไม่เป็นความจริงเสมอไป   ทำให้เกิดความตื่นตระหนกทั่วโลก แต่อาจไม่ใช่ประเทศไทย

                หากเพราะเราอาจคุ้นชินกันไปแล้วกับการถูกรุกรานเข้ามาในชีวิตส่วนตัว รวมถึงการฝังหัวว่าสิ่งสำคัญสูงสุดมิใช่ ความเป็นมนุษย์ที่เสมอภาค มีเสรีภาพในคิดเห็น และแสดงออกตามความคิดความเชื่อของตน   โดยที่ไม่ถูก “จับตา” ควบคุมสอดส่องให้แสดงความเห็นอยู่ในร่องที่รัฐเผด็จการขีดวางไว้

                การควบคุมไปจนถึงการกำหนดว่า “ความสุข” แบบใดที่รัฐมอบให้และประชาชนต้องอภิรมย์ แทนที่ความสุขทั่วไปที่ประชาชนเลือกชมได้ ถือเป็นการพยายามกลืนกลายประชาชนให้กลายเป็นก้อนกลมเดียวกัน   ไม่เหลือความคิดสร้างสรรค์อื่นใดให้พัฒนาตนเอง และสังคมไปในทิศทางที่ รัฐไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และหวาดระแวง

                ความเป็นส่วนตัว ในการคิดและการแสดงออกโดยปราศจากการจับจ้อง จึงเป็น “รากฐาน” ขั้นต่ำสุดของสังคมที่ต้องการความก้าวหน้าแบบไม่ต้องมีใครมาชักนำพาจูงจมูก

                หากมองย้อนกลับไปคงได้เห็นแล้วว่า เหตุการณ์ 9/11 ที่เกิดขึ้นในปี 2001 ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร และสังคมต้นทางอย่างสหรัฐได้ตื่นรู้ และประชาชนอเมริกันได้ลุกขึ้นสู้เพื่อต่อต้านการครอบงำของฝ่ายความมั่นคงอย่างไรบ้าง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต