Skip to main content

จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์

ต่างจากอดีตที่เคยคิดกันว่าโลกออนไลน์เป็นเพียงโลกสมมติ แยกกับ โลกแห่งความเป็นจริง อะไรที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ไม่เกี่ยวข้องกับโลกภายนอก   แต่เมื่อคนจำนวนมากขึ้นเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและใช้อุปกรณ์สื่อสารเกือบตลอดเวลา   ย่อมทำให้ปริมาณข้อมูลและการเสพสื่อผ่านอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มตามไปด้วย   โลกไซเบอร์จึงกลายเป็นพื้นที่สำคัญทางธุรกิจจนแม้แต่รัฐยังต้องให้ความสนใจ

การมองว่าโลกออนไลน์เป็นที่เล่นสนุกสนาน เต็มไปด้วย กิจกรรมผ่อนคลายสนุกสนาน เป็นเพียงงานอดิเรก กิจกรรมยามว่าง หรือเรื่องผ่อนคลาย จึงไม่ถูกไปเสียหมดอีกแล้ว เพราะคนใช้อินเตอร์เน็ตด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลายและมีผลกระทบต่อโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น ร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจำนวนมากที่ถูกเช็คอินคลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วสารทิศ ไม่ใช่แค่ไทยแต่ชาวต่างชาติด้วย

ปัจจุบันความคิดเห็นและอารมณ์ของ “ชาวเน็ต” หรือ “กระแสโซเชียล”  กลายเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายของธุรกิจจำนวนมาก หากเจอกระทู้ด่า สเตตัสประจาน งานจะเข้าเอาหากแชร์กันไปหลายร้อย   แม้แต่สื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลมาก่อนยังต้องปรับตัวเข้าตอบสนองผู้อ่านที่จ้องหน้าจอมากขึ้นเรื่อยๆ

รัฐต้องปรับตัวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะ “ข้ามชาติ” โดยพยายามเว็บไซต์และเนื้อหาของสินค้า บริการ วัฒนธรรมไทยไปเตะตาคนที่นั่งรีวิวข้อมูลสินค้าและบริการในอีกซีกโลก   รวมไปถึงการสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และระงับข้อพิพาทเมื่อเกิดความขัดแย้ง   หากต้องการให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเบียดแทรกเข้าไปแข่งขันได้ 

แต่ดูเหมือนว่ารัฐไทยจะกังวลกับกิจกรรมทางการเมืองเกรงว่า “คนนอกประเทศ” จะส่งข้อมูลข่าวสารข้ามแดนมาปลุกระดมประชาชนในประเทศ หรือพูดเรื่องอ่อนไหว แล้วรัฐจะคุมไม่ได้            ซึ่งแน่นอนว่ารัฐต้องการเข้ามาควบคุมกิจกรรมออนไลน์ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินที่ต้องการทราบข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชน

แก่นของการปกครองและการบริหารธุรกิจ อยู่ที่ “ข้อมูลข่าวสาร” การทำกิจกรรมทั้งหลายของประชาชน   ซึ่งขุมทรัพย์นั้นคือการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและกิจกรรมของประชาชนเข้าไปรวมอยู่ในฐานข้อมูลของรัฐและบรรษัท นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นจึงต้องรักษาสมดุลระหว่างการกระตุ้นให้คนกล้าใช้เน็ตมากขึ้น กับ การไม่ออกนโยบายล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว จนประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้อินเตอร์เน็ต จนปริมาณข้อมูลลดฮวบ

แนวโน้มในโลกปัจจุบันรัฐได้จากการยึดพื้นที่ในโลกแห่งความจริง ควบคุมการปิดถนน เดินขบวน ล้อมสถานที่สำคัญได้ราบคาบ ประชาชนจึงย้ายไปเคลื่อนไหวเรื่องความยุติธรรมทางสังคมไปสู่พื้นที่ไซเบอร์หากไม่ต้องการลงเดินสู่ท้องถนน   ความเป็นไปได้ในการทำกิจกรรมรณรงค์ต่างๆในโลกออนไลน์จึงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคือ “ด้านสว่าง”

ตรงกันข้าม “สายมืด” ที่เกิดขึ้นหลายครั้งในโลก คือ คนตัวเล็กตัวน้อยได้ใช้ศักยภาพทางเทคโนโลยี แฮค ล้วงข้อมูล ไปจนถึงขั้นทำลายระบบปฏิบัติการ หรือทำให้ระบบอืดช้า ชะงักงัน   ผู้กระทำไม่น้อยอยู่นอกเขตอำนาจรัฐเป้าหมาย ซึ่งยากต่อการติดตามดำเนินคดีทางกฎหมาย

สิ่งที่มีร่วมกันของสายมืดและด้านสว่าง ก็คือ มีแรงจูงใจบางอย่างที่ถูกกระตุ้นโดยความรู้สึกอยุติธรรมต่ออะไรบางอย่าง เช่น นโยบายของรัฐที่เบียดขับพวกตน เข้ามายุ่งวุ่นวายชีวิตส่วนตัว หรือขัดขวางการติดต่อสื่อสารของตนกับคนอื่นในโลกเสมือน   นำไปสู่การตอบโต้ด้วยความรุนแรงในแบบที่ตนถนัดข้างต้น

ทางแยกของการวางแผนทางธุรกิจและการปกครอง คือ หากต้องการสร้างรัฐและระบบเศรษฐกิจที่อิงกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็ต้องวางระบบรักษาความมั่นคงและปกป้องข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในฐานด้วย

การป้องกันระบบด้วยมาตรการเฝ้าระวังอาชญากร ผู้ก่อการร้าย โดยเหวี่ยงแหตั้งระบบสอดส่องประชาชนไปทั่ว นั้นมีประสิทธิภาพต่ำทั้งในแง่ข้อจำกัดเชิงทรัพยากร และยังทำให้ปริมาณข้อมูลท่วมทับยากเกินจับตาเพราะสิ้นเปลืองเวลา กำลังคน งบประมาณ มาก   ไม่ว่าจะให้มีการจดทะเบียนหรือลงทะเบียนล่วงหน้าอย่างไรก็มิอาจสกัดการโจมตีได้หมด เป็นเพียงการเพิ่มความสามารถในการติดตามหลังเกิดปัญหาแล้วเท่านั้น

แถมใช้ไม่ได้กับ อาชญากร ผู้ก่อการร้าย “ข้ามชาติ”

ดังนั้นวิธีการป้องกันการโจมตีล่วงหน้าจึงอยู่ที่การลดแรงจูงใจของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมิให้ปรารถนาโจมตีระบบ หรือกระตุ้นให้ต้องการพิทักษ์รักษาระบบต่างหาก เพราะมักมีเซียนขั้นเทพซ่อนตัวอยู่นอกการควบคุมของรัฐและบรรษัทเสมอ อยู่ที่ว่าจะทำให้เขาต้องการใช้ศักยภาพไปในทิศทางใด 

อินเตอร์เน็ตคือเทคโนโลยีที่ฝ่ายความมั่นคงออกแบบสร้างมาเพื่อกระจายความเสี่ยง กล่าวคือ การกระจายข้อมูลชุดตั้งต้นให้กระจายไปอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ต่างสถานที่ หากมีการโจมตีจากใครก็ตามข้อมูลที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์บางเครื่องอาจหายไปพร้อมกับระบบที่ถูกถล่ม แต่ก็ยังคงมีข้อมูลชุดอื่นที่กระจายไปในอีกหลายเซิร์ฟเวอร์

การรักษาความมั่นคง จึงต้องอยู่บนกระจายความเสี่ยง ทั้งการออกแบบระบบให้มีเส้นทางไหลเวียนข้อมูล “มากกว่าหนึ่ง” และเลี่ยงนโยบายที่เรียกแขกจากทั่วทุกมุมโลกมาโจมตี

การแหย่รังแตนที่ไม่เห็นตัว และไม่มีเครื่องมือในการจับ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อรัฐเอง และยังสร้างผลสะเทือนไปสู่ประชาชนทั่วไปด้วย

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,