Skip to main content

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ

หากจะจับตามหาอำนาจสหรัฐ ประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนนั้น เรื่อง การสอดส่องจารกรรมข้อมูลของหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐในอินเตอร์เน็ต (State Surveillance and Espionage on Internet Activities) มาแรง

                หากถามว่าทำไมเราต้องติดตามข่าวจับจ้องใคร/ประเทศใด คงไม่ใช่ว่าเราอยากรู้เพียงสิ่งที่เขาได้ทำไปแล้ว หรืออดีตเท่านั้น แต่มันเป็นการมองเพื่อคาดเดาอนาคต เหมือนที่เราชอบคิดว่า

“ถ้ารู้ว่ามันจะออกมาแบบนี้ ฉันจะ.....ไปแล้ว”

                ประเทศมหาอำนาจจึงทุ่มเททรัพยากร และลงทุนในอุตสาหกรรมที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างอินเตอร์เน็ต ดังปรากฏอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอเมริกันเปิดเผยข้อมูลว่าหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐ ร่วมมือกับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต/แอฟพลิเคชั่น ดักข้อมูลประชาชนทั่วโลกอย่างกว้างขวางเพื่อสอดส่องหาอาชญากรและผู้ก่อการร้ายในลักษณะ “เหวี่ยงแห” จนไปละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน “ผู้บริสุทธิ์” ทั่วโลก

                ศาสตร์แห่งการทำนายพฤติกรรมบนโลกออนไลน์เป็นส่วนผสมระหว่าง การให้บริการของผู้ประกอบการเสมือนฟรี บวกกับ การทำให้คนจำนวนมากมาใช้ชีวิตบนอินเตอร์เน็ต

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยนั้น กว่าครึ่งของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไทยออนไลน์ทุกวัน และยิ่งใช้มากขึ้นเมื่อประชากรไทยใช้สมาร์ทโฟนเพิ่ม และอินเทอร์เน็ตเริ่มแย่งชิงความสนใจไปจากการดูทีวี  การบริโภคสื่อดิจิตอลของคนไทยจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีการคาดไว้ เนื่องจากปัจจัยและความสะดวกต่างๆ ที่เอื้อต่อการ “ใช้ชีวิตออนไลน์” ที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย

การทำนายชีวิตคน จึงต้องอาศัย ข้อมูลส่วนบุคคลบนอินเตอร์เน็ต มากขึ้นเรื่อยๆ

คำถามสำคัญมาก คือ ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นของใคร   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นมีสิทธิในการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้ หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแอฟพลิเคชั่นเป็นเจ้าของข้อมูล มีอำนาจควบคุม โอนถ่ายข้อมูล ประมวลผล ซื้อขายข้อมูลเหล่านั้นเสมือนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือข้อมูลเด็ดขาดไปเลยหรือยัง

เงื่อนไขในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตและบริการของแอฟพลิเคชั่นต่างๆ มีสถานะเป็นสัญญา มอบอำนาจในข้อมูลส่วนบุคคลไปให้เป็น “ทรัพย์สิน” ของบรรษัทผู้ให้บริการแล้วหรือไม่   หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเป็น “สิทธิมนุษยชน” ติดตัวผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเสมอ

ระบบสัญญาที่ผู้ให้บริการฯ ใช้อยู่ในปัจจุบัน มักมีลักษณะเป็น “สัญญาสำเร็จรูป” ผู้ใช้บริการจำต้องตอบตกลงก่อนที่จะได้ใช้บริการ เราจึงมักต้องติ้กรับเงื่อนไขไปอย่างเสียมิได้ หรือบางทีก็ไม่ได้อ่านอะไรเลยด้วยซ้ำ

การบังคับให้ตกลงจึงมีลักษณะเป็นการด้อยอำนาจของฝ่ายผู้บริโภคในการเข้ารับบริการ หากมองในแง่การเข้าทำสัญญา นี่ไม่ใช่เสรีภาพในการเข้าทำสัญญาโดยคู่สัญญามีสถานะปราศจากการบังคับ

สิทธิมนุษยชนด้านเทคโนโลยีมีเรื่อง สิทธิในการเข้าถึงเทคโนโลยีและได้ใช้สอยความก้าวหน้าทางวิทยาการเพื่อความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ  ซึ่งบางท่านบอกว่าไปกันใหญ่แล้ว  ถ้ากลัวนักก็อย่าใช้ ไม่ได้มีใครบังคับ        ลองถามใจตัวเองดูว่าใครคือคนที่บังคับให้เราใช้ ถ้าไม่ใช่เพื่อน ญาติพี่น้อง คนรัก เจ้านาย ลุกน้อง ที่ล้วนต้องติดต่อสื่อสารกันผ่านอินเตอร์เน็ตและแอฟพลิเคนสื่อสารชั่นทั้งหลาย   หรือเราจะย้อนกลับไปสู่ยุคที่ต้องเดินไปพบหน้าคุยกัน

ผู้ที่เดือดร้อนตัวจริงหากประชาชนไม่กล้าใช้บริการ ก็คือ ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างหาก เพราะในตลาดที่มีการแข่งขัน ผู้บริโภคอาจเลือกไปใช้บริการจากยี่ห้ออื่น ซึ่งประกันความมั่นใจให้ได้มากกว่า   การรักษาความลับให้ลูกค้าจึงเป็นเสมือนเครื่องหมายการค้าที่บริษัทห้างร้านทั้งหลายต้องปกป้องไว้เท่ากับความลับของตัวเอง

ข้อมูลเหล่านี้มักมีเรื่อง “อ่อนไหว” มิควรเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล  เช่นเดียวกับ พวกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยจัดเก็บโดยสถานพยาบาล และลูกศิษย์ที่สถานศึกษาเก็บไว้  และยังรวมไปถึงข้อมูลที่หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจเก็บไว้อีกจำนวนมาก

ดังปรากฏกรณีแฮคเกอร์ประกาศชัยชนะเหนือหน่วยงานของรัฐ ด้วยการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลอ่อนไหวสามารถนำไปแบล็คเมล์ได้

นี่ยังไม่นับธุรกิจขายตรงหรือประกันฯ ที่พยายามเจาะข้อมูลเหล่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ทางการตลาดแบบมุ่งเป้าหมายรายบุคคลอีกด้วย

ปัจจุบันประชาคมโลก มีการปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขนานใหญ่เลย เริ่มตั้งแต่สหภาพยุโรปออกกฎหมายหลักในการคุ้มสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล และมีการวางกรอบกลไกตรวจสอบหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้เคารพสิทธิมนุษยชน   โดยได้ขยายการคุ้มครองออกไปด้วยการทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาและจะขยายไปยังกลุ่มประเทศเครือจักรภพอีกด้วย   นั่นคือ ประเทศที่อยู่ในระบบตลาดเสรีมีประชาธิปไตย รับรองเรื่องนี้เป็นเงื่อนไขพื้นฐานในทางเศรษฐกิจดิจิตอลหมดแล้ว  

พลเมืองเน็ตของประเทศเหล่านั้นยังปกป้องสิทธิตัวเองได้ตั้งแต่เริ่มใช้บริการ โดยการออกแบบสัญญาเข้าใช้ร่วมกับผู้ให้บริการตั้งแต่ต้น

ส่วนไทย ยังไม่มีแม้แต่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ  แต่ต้องระวังการออกกฎหมายใหม่ให้เจ้าหน้าที่ล้วงตับดักข้อมูลส่วนบุคคลไป โดยอาศัยข้ออ้างด้านความมั่นคง ไว้ด้วยก็แล้วกันครับ  ไม่งั้นรัฐบาลไทย ก็ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลประเทศมหาอำนาจที่มีปฏิบัติการด้านความมั่นคงละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านนโยบายกฎหมาย นั่นเอง

ฤารัฐบาลไทยจะหันหัวเรือเศรษฐกิจดิจิตอลไปประเทศมหาอำนาจอีกขั้วอย่าง จีน และรัสเซีย โดยไม่สนใจอนาคตในกลุ่มตลาดเศรษฐกิจดิจิตอลเสรีประชาธิปไตย ซึ่งโตเต็มที่แล้ว

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี