Skip to main content

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ

หากจะจับตามหาอำนาจสหรัฐ ประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนนั้น เรื่อง การสอดส่องจารกรรมข้อมูลของหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐในอินเตอร์เน็ต (State Surveillance and Espionage on Internet Activities) มาแรง

                หากถามว่าทำไมเราต้องติดตามข่าวจับจ้องใคร/ประเทศใด คงไม่ใช่ว่าเราอยากรู้เพียงสิ่งที่เขาได้ทำไปแล้ว หรืออดีตเท่านั้น แต่มันเป็นการมองเพื่อคาดเดาอนาคต เหมือนที่เราชอบคิดว่า

“ถ้ารู้ว่ามันจะออกมาแบบนี้ ฉันจะ.....ไปแล้ว”

                ประเทศมหาอำนาจจึงทุ่มเททรัพยากร และลงทุนในอุตสาหกรรมที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างอินเตอร์เน็ต ดังปรากฏอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอเมริกันเปิดเผยข้อมูลว่าหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐ ร่วมมือกับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต/แอฟพลิเคชั่น ดักข้อมูลประชาชนทั่วโลกอย่างกว้างขวางเพื่อสอดส่องหาอาชญากรและผู้ก่อการร้ายในลักษณะ “เหวี่ยงแห” จนไปละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน “ผู้บริสุทธิ์” ทั่วโลก

                ศาสตร์แห่งการทำนายพฤติกรรมบนโลกออนไลน์เป็นส่วนผสมระหว่าง การให้บริการของผู้ประกอบการเสมือนฟรี บวกกับ การทำให้คนจำนวนมากมาใช้ชีวิตบนอินเตอร์เน็ต

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยนั้น กว่าครึ่งของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไทยออนไลน์ทุกวัน และยิ่งใช้มากขึ้นเมื่อประชากรไทยใช้สมาร์ทโฟนเพิ่ม และอินเทอร์เน็ตเริ่มแย่งชิงความสนใจไปจากการดูทีวี  การบริโภคสื่อดิจิตอลของคนไทยจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยมีการคาดไว้ เนื่องจากปัจจัยและความสะดวกต่างๆ ที่เอื้อต่อการ “ใช้ชีวิตออนไลน์” ที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย

การทำนายชีวิตคน จึงต้องอาศัย ข้อมูลส่วนบุคคลบนอินเตอร์เน็ต มากขึ้นเรื่อยๆ

คำถามสำคัญมาก คือ ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นของใคร   ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นมีสิทธิในการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้ หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแอฟพลิเคชั่นเป็นเจ้าของข้อมูล มีอำนาจควบคุม โอนถ่ายข้อมูล ประมวลผล ซื้อขายข้อมูลเหล่านั้นเสมือนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือข้อมูลเด็ดขาดไปเลยหรือยัง

เงื่อนไขในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตและบริการของแอฟพลิเคชั่นต่างๆ มีสถานะเป็นสัญญา มอบอำนาจในข้อมูลส่วนบุคคลไปให้เป็น “ทรัพย์สิน” ของบรรษัทผู้ให้บริการแล้วหรือไม่   หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเป็น “สิทธิมนุษยชน” ติดตัวผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเสมอ

ระบบสัญญาที่ผู้ให้บริการฯ ใช้อยู่ในปัจจุบัน มักมีลักษณะเป็น “สัญญาสำเร็จรูป” ผู้ใช้บริการจำต้องตอบตกลงก่อนที่จะได้ใช้บริการ เราจึงมักต้องติ้กรับเงื่อนไขไปอย่างเสียมิได้ หรือบางทีก็ไม่ได้อ่านอะไรเลยด้วยซ้ำ

การบังคับให้ตกลงจึงมีลักษณะเป็นการด้อยอำนาจของฝ่ายผู้บริโภคในการเข้ารับบริการ หากมองในแง่การเข้าทำสัญญา นี่ไม่ใช่เสรีภาพในการเข้าทำสัญญาโดยคู่สัญญามีสถานะปราศจากการบังคับ

สิทธิมนุษยชนด้านเทคโนโลยีมีเรื่อง สิทธิในการเข้าถึงเทคโนโลยีและได้ใช้สอยความก้าวหน้าทางวิทยาการเพื่อความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ  ซึ่งบางท่านบอกว่าไปกันใหญ่แล้ว  ถ้ากลัวนักก็อย่าใช้ ไม่ได้มีใครบังคับ        ลองถามใจตัวเองดูว่าใครคือคนที่บังคับให้เราใช้ ถ้าไม่ใช่เพื่อน ญาติพี่น้อง คนรัก เจ้านาย ลุกน้อง ที่ล้วนต้องติดต่อสื่อสารกันผ่านอินเตอร์เน็ตและแอฟพลิเคนสื่อสารชั่นทั้งหลาย   หรือเราจะย้อนกลับไปสู่ยุคที่ต้องเดินไปพบหน้าคุยกัน

ผู้ที่เดือดร้อนตัวจริงหากประชาชนไม่กล้าใช้บริการ ก็คือ ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างหาก เพราะในตลาดที่มีการแข่งขัน ผู้บริโภคอาจเลือกไปใช้บริการจากยี่ห้ออื่น ซึ่งประกันความมั่นใจให้ได้มากกว่า   การรักษาความลับให้ลูกค้าจึงเป็นเสมือนเครื่องหมายการค้าที่บริษัทห้างร้านทั้งหลายต้องปกป้องไว้เท่ากับความลับของตัวเอง

ข้อมูลเหล่านี้มักมีเรื่อง “อ่อนไหว” มิควรเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล  เช่นเดียวกับ พวกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยจัดเก็บโดยสถานพยาบาล และลูกศิษย์ที่สถานศึกษาเก็บไว้  และยังรวมไปถึงข้อมูลที่หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจเก็บไว้อีกจำนวนมาก

ดังปรากฏกรณีแฮคเกอร์ประกาศชัยชนะเหนือหน่วยงานของรัฐ ด้วยการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลอ่อนไหวสามารถนำไปแบล็คเมล์ได้

นี่ยังไม่นับธุรกิจขายตรงหรือประกันฯ ที่พยายามเจาะข้อมูลเหล่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ทางการตลาดแบบมุ่งเป้าหมายรายบุคคลอีกด้วย

ปัจจุบันประชาคมโลก มีการปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขนานใหญ่เลย เริ่มตั้งแต่สหภาพยุโรปออกกฎหมายหลักในการคุ้มสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล และมีการวางกรอบกลไกตรวจสอบหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้เคารพสิทธิมนุษยชน   โดยได้ขยายการคุ้มครองออกไปด้วยการทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาและจะขยายไปยังกลุ่มประเทศเครือจักรภพอีกด้วย   นั่นคือ ประเทศที่อยู่ในระบบตลาดเสรีมีประชาธิปไตย รับรองเรื่องนี้เป็นเงื่อนไขพื้นฐานในทางเศรษฐกิจดิจิตอลหมดแล้ว  

พลเมืองเน็ตของประเทศเหล่านั้นยังปกป้องสิทธิตัวเองได้ตั้งแต่เริ่มใช้บริการ โดยการออกแบบสัญญาเข้าใช้ร่วมกับผู้ให้บริการตั้งแต่ต้น

ส่วนไทย ยังไม่มีแม้แต่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ  แต่ต้องระวังการออกกฎหมายใหม่ให้เจ้าหน้าที่ล้วงตับดักข้อมูลส่วนบุคคลไป โดยอาศัยข้ออ้างด้านความมั่นคง ไว้ด้วยก็แล้วกันครับ  ไม่งั้นรัฐบาลไทย ก็ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลประเทศมหาอำนาจที่มีปฏิบัติการด้านความมั่นคงละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านนโยบายกฎหมาย นั่นเอง

ฤารัฐบาลไทยจะหันหัวเรือเศรษฐกิจดิจิตอลไปประเทศมหาอำนาจอีกขั้วอย่าง จีน และรัสเซีย โดยไม่สนใจอนาคตในกลุ่มตลาดเศรษฐกิจดิจิตอลเสรีประชาธิปไตย ซึ่งโตเต็มที่แล้ว

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,