Skip to main content

ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค   หากใช้ปรัชญา Slow Life เป็นวิถีชีวิต ก็ต้องลดเวลาในการ กระจายและแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ เพื่อเพิ่มเวลาในการ “ผลิต” และ “บริโภค”     นั่นคือ Slow Life and High Quality

บทความนี้ของพูดถึง การเมืองเรื่องกินอยู่ (Political Economy of Economic, Social and Cultural Rights) ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่จริงจังมากในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจาก “คุณภาพชีวิต” คือ เป้าหมายของพลเมืองที่ได้รับประกันสิทธิพลเมืองและการเมืองแล้ว มีสิทธิมีเสียงในการกำหนดอนาคตประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง   การเมืองของสังคมเหล่านั้นจึงเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในรายละเอียดมากขึ้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ การเมืองเรื่องอาหาร (Food Politics) การผลิตในเรื่องอาหารนั้นเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงดูสัตว์แบบ “ออร์แกนิค” หรือใกล้เคียงธรรมชาติ ที่ไม่ใช้สารเคมี ฮอร์โมนส์ หรือเร่งการเจริญเติบโตแบบผิดธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี “กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น” (You are what you eat) ซึ่งผู้ประกอบการหรือรัฐไทย คงจะเห็นอยู่แล้วว่า สินค้าในกลุ่มนี้มีความต้องการมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าได้มหาศาล เมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรแบบอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวที่นับวันจะมีคู่แข่งแย่งตลาดมากขึ้น  

การผลิตแบบ “ช้า” แต่มากด้วย “คุณค่า” ทั้งเชิงคุณภาพและ “ความรู้สึก” จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดมากขึ้น ในการวางยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจไทย

แต่เมื่อคิดในมุมผู้บริโภคในประเทศอย่างคนไทยที่ต้องการชีวิตที่คุณภาพ การผลิตหมายรวมถึงการ “ปรุงอาหาร” ด้วย เนื่องจากกระแสรักษาสุขภาพ ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็กำลังมาเช่นกัน และแนวโน้มการมีอายุยืนนานขึ้นก็ชัดเจน

คำถามคือ เราจะเพิ่ม “เวลา” ให้กับ การปรุงอาหาร และการบริโภคได้อย่างไร

หากบ้านไกลจากตลาด ไม่มีรถ แต่ต้องการทำกับข้าวกินเอง จะให้เดิน/ปั่นซื้อวัตถุดิบ จะเหลือเวลาปรุงและกินแค่ไหน แล้วเวลาที่เหลือไปทำงานล่ะ?                        ลองเปรียบเทียบกับประเทศที่ Slow Life เกิดขึ้นได้ในยุโรป

เราต้องตัดทางเลือกแบบ ผู้บริโภคมีคอกฟาร์มเป็นของตัวเอง ผลิตทุกอย่างได้เอง แปรรูป และปรุงได้เองเบ็ดเสร็จ เพราะผู้อ่านแทบทุกคนคงทำไม่ได้

เมือง คือ รูปแบบที่สร้างความเป็นไปได้ให้กับ Slow Life เพราะทำให้มนุษย์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้ โดยไม่ต้องครอบครองปัจจัยการผลิตจำนวนมาก

แม้จะดูย้อนแย้ง เพราะคนจะนึกถึงเมืองด้วยภาพ ความแออัด ความเร็ว และการแย่งชิง   แต่เรากำลังพูดถึง ความเป็นเมืองศิวิไลซ์ นั่นคือ การอยู่ร่วมกัน กติกา มารยาท และกลไกในการบริหาร เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตคนเมือง

เมือง สามารถลดเวลาในการ กระจายสินค้าจากฟาร์มสู่ตลาด จากผู้แปรรูปสู่มือผู้ปรุง/บริโภค ด้วยระบบบริการสารธารณะ ขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐาน   เช่นเดียวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ การแลกเปลี่ยนผ่านเครื่องมือสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น ต้นทุนต่ำลง

ความแตกต่างของประเทศพัฒนาแล้วกับกำลังพัฒนา คือ ในประเทศพัฒนาแล้วแม้อยู่ที่ไหน “ความสิวิไลซ์” ก็เข้าไปเชื่อมต่อดูแลชีวิต คนทุกพื้นที่เข้าถึงบริการสาธารณะและการขนส่ง/สื่อสารได้  

ส่วนประเทศกำลังพัฒนา “ความเจริญ” มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และศูนย์กลางของเมืองเป็นหลัก   การพยามครอบครอง “พาหนะ” ส่วนตัวจึงเกิดขึ้นมาก เพราะต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ยิ่งเวลาผ่านไปสภาพการจราจรยิ่งเลวร้ายลง การใช้พลังงานมากขึ้น มลภาวะท่วมท้น และความเครียดเค้นจนสุดทน

กระแสการแสวงหาวิถีชีวิต “เชื่องช้า” และมองหาความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ การบริโภคสินค้าออร์แกนิค จึงเกิดขึ้นมาคลายความตึงเครียดเหล่านั้น เสมือนการ “เปิดวาล์ว” ผ่อนแรงบีบอัด

หากไม่มีการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ก็จะได้เห็นภาพคู่ขนาน คือ เวลาทำงานรีบเร่ง แล้วแห่กันไปแย่งกันกินกันเที่ยวต่างจังหวัดในวันหยุด หรือ แย่งชิงเคร่งเครียดในยามทำงาน แล้วปล่อยวางทุกสิ่งในเวลาว่าง   ก็ต้องมองผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพกายและใจ

มีเมืองอีกจำนวนมากในโลกที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมได้ ไปพร้อมกับ การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเปี่ยมสุข นั่นคือ การเฉลี่ยความสะดวก ให้ทุกคนเข้าถึงความสบาย และมีความวางใจในอนาคต  ทำให้คนรุ่นใหม่มีเวลาแสวงหาความถนัดและใช้เวลาพัฒนาศักยภาพตนเองไปตามพรสวรรค์ได้

ประเทศไทย ที่มาถึงทางตันในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักแล้ว ย่อมต้องรู้จักปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบริการที่ประณีตขึ้น

ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ก็ปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง โดยยอมรับจุดอ่อนในอุตสาหกรรมหนัก แล้วขับเน้นจุดแข็งของตัวเอง โดยสร้างเมืองที่รองรับวิถีชีวิตเชื่องช้า ละเมียดสุข เพื่อดึงดูดคนจากทั่วสารทิศให้มากินมาใช้ มีชีวิตอยู่ในเมืองของตนให้ยาวนาน  และให้คนที่แก่ตัวไปยังคงสามารถใช้ชีวิตต่อไปในเมืองแม้ถึงวัยเกษียณ

การสร้างเมืองศิวิไลซ์ไว้รองรับ สังคมสูงอายุ และ คนวัยทำงานที่ต้องการใช้ชีวิตละเมียดขึ้น จึงเป็นเรื่องเดียวกัน

ปีใหม่นี้ รัฐบาลอาจต้องเริ่มเฉลี่ยสุข สร้างหลักประกันในอนาคต ให้ทุกคนเข้าถึงความสะดวกสบาย ด้วยการลงทุนบนฐานความคิดที่สอดคล้องกับทุนที่ประเทศไทยมี โดยเริ่มรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดโครงสร้างขนส่ง/สื่อสารขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั้งประเทศก่อน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต