Skip to main content

ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง

บทความนี้มิได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” หรือมุ่งทำลายโจมตีไสยศาสตร์ แต่จะพยายามวิเคราะห์ว่า ทำไมไสยศาสตร์จึงอยู่คู่กับสังคมไทย และยิ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้น เชื่อมโยงกับโลกโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้น กิจกรรมทางไสยศาสตร์กลับเพิ่มตาม แถมยังมีสินค้าและบริการต่างๆออกมาให้เห็นตามกระแสอยู่มากมาย

การแปะป้ายว่าคนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์งมงาย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ล้าหลัง ไม่ทันโลก น่าจะไม่ถูก เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่เสียเงินไปกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไปจนถึงจ้างผู้นำทางจิตวิญญาณเพื่อชี้นำในเรื่องต่างๆ อยู่เนืองๆ รวมไปถึงเรื่อง “ขอฤกษ์ทำรัฐประหาร” หรือแม้กระทั่ง “เลขมงคลจำนวนมาตรารัฐธรรมนูญ” ไปจนถึง “ลูกเทพ”

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์มีแนวโน้ม “เอาทุกทาง” มากกว่าหมกมุ่นกับสายไสยอย่างเดียว  เช่น ถ้าทำธุรกิจก็ดูทีวีอ่านหนังสือฟังกูรูทั้งหลาย พ่วงไปกับการลงเรียนหลักสูตรต่างๆเพื่อหาเส้นสาย ไปปฏิบัติธรรม ทำบุญตักบาตรและกิจกรรมทางศาสนา เรื่อยมาถึงบูชาเครื่องรางของขลัง หรือเข้าลัทธิพิธีของสำนักต่างๆ ฯลฯ

อะไรทำให้คนไทยยังต้องใช้ไสยศาสตร์เป็นที่พึ่ง มิใช่แค่ที่ยึดเหนี่ยวทางใจ       หลายคนคิดว่าเป็น “หลักประกัน” กล่าวคือ ในประเทศไทยนี้ หากวันดีคืนดีเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจฝืดเคืองตกงาน เกิดเรื่องซวยๆขึ้นกับชีวิต  คนคนหนึ่งล้มทั้งยืนเป็นหนี้เป็นสินได้ทันที เพราะรัฐไทยมิได้สร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานในชีวิตมากนัก

แม้ด้านสุขภาพจะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็ยังมีข้อกังขาในเรื่องความสะดวกรวดเร็วและคุณภาพอยู่บ้าง แต่ประเด็นที่แทบไม่มีเบาะรองรับเลย คือ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

มองภาคเกษตรกรรมจะเห็นว่า เราไม่มีระบบประกันความเสี่ยงในการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ถึงขนาดบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ที่เคยเพาะพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารกันเอง ยังต้องผลักภาระความเสี่ยงออกไปให้ เกษตรกรแบบรับความเสี่ยงแทนผ่านระบบ “เกษตรพันธสัญญา”   ก็ด้วยดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดไม่เข้าใครออกใคร

ประเพณีจำนวนมากของชุมชนเกษตรกรรมจึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทพยาดาฟ้าดิน เจ้าพ่อเจ้าแม่ ดลบันดาลดินฟ้าอากาศและยับยั้งภัยธรรมชาติและโรคระบาดแทนให้   การด่าเกษตรกรจึงอาจผิดเป้าหมาย การพยายามหา วิธีรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ คาดเดาได้ วางแผนรับสถานการณ์ได้ น่าจะทำให้กิจกรรมทางไสยศาสตร์หายไป แล้ววิทยาศาสตร์เข้ามาแทน ...แต่ ก็ไม่มีนั่นเอง

เมื่อมองเข้ามาในภาคบริการและพาณิชยกรรม ผู้ประกอบการจำนวนมากก็ยังไหว้เจ้าที่เจ้าทาง บูชาเกจิอาจารย์ หรือหาเครื่องรางของขลังจากสายต่างๆ มาเสริมดวงหนุนโชค หรือจ้างซินแสจัดฮวงจุ้ยร้านค้า/ที่พัก แข่งกันดูดเงินดูดทองเข้าตัว แล้วไม่รู้ว่าคนที่มัวพัฒนาสินค้าและการบริการจะสู้ได้หรือไม่ถ้าไม่ใช้พลังภายในแบบนี้สู้

แม้กระทั่งบรรษัทใหญ่หรือไปจนถึงการพิจารณาโหงวเฮ้งและธาตุ พื้นฐานดวง ก่อนที่จะรับคนเข้าทำงาน  เรื่อยไปถึงการผลิตเชิงอุตสาหกรรมก็ยังต้องดูฤกษ์ยามการเดินสายผลิต หรือเจิมเครื่องจักรกลกันให้เห็นเป็นประจำ

สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับความรู้สึก “ไม่วางใจ” ของคนในภาคธุรกิจ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพราะไม่อาจคาดเดาอะไรได้ เนื่องจากเราอยู่ในรัฐทุนนิยมที่กำหมายไม่ได้รับการยอมรับในฐานะ “กติกาของการแข่งขัน”  แต่กลับมีพลังลึกลับหลายอย่าง “อุ้ม” เอาคู้แข่งหลายรายหายไปในตลาด หรือบางโอกาสก็มีคนขายตัดราคาได้เพราะว่าเอาเงิน “ดำๆมืดๆ” มาฟอกผ่านธุรกิจให้กลายเป็นเงินสะอาดจนมิอาจสู้ราคาแข่งขันได้

เมื่อมาดูภาพใหญ่สุดระดับประเทศ เราคงคุ้นกันดีว่าประเทศไทยอาจก้าวหน้าไปแล้วก็อาจจะสะดุดหยุดอยู่หรือไหลย้อนกลับ ด้วยเหตุที่มีการตัดสลับโดยอำนาจ “นอกกฎหมาย” 

กฎหมายไม่ได้มีความหมายอะไรสลักสำคัญ มันเป็นเพียง “กติกา” ที่ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายคาดเดาได้ว่า ถ้าทำอย่างนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร รัฐส่งเสริมอะไร ห้ามอะไร ให้แข่งกันยังไง สินค้าแบบไหนผลิตออกมาขายได้ หรือบริการแบบไหนห้ามนำเสนอสู่ตลาด   เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในสายตาของรัฐหรือผู้มีอำนาจจะต้องเคารพยึดถือปฏิบัติ ระดับล่างลงไปก็ไม่ทำตาม

การวิ่งเต้นหาเส้นไล่สาย จึงกลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทย กลายเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกิด “เจ้าพ่อ” “เจ้าแม่” หลายรายที่กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชีวิตและลมหายใจ ต้องเซ่นไหว้ด้วยอะไรก็แล้วแต่เจ้าสำนักกำหนด   ดีลใหญ่ทางธุรกิจหรือความขัดแย้งทางธุรกิจจึงปัดเป่าด้วยกำลังภายใน มากกว่า “การระงับข้อพิพาทด้วยกฎหมาย” ที่อาจคาดเดาผลได้ชัดเจนตามตัวบทบัญญัติ แต่อาจจะขัดกับผลประโยชน์ของคู่ขัดแย้ง

ยิ่งมีพลังนอกกฎหมาย ไร้กติกามากเท่าไหร่ ความไม่แน่นอนในจิตใจของ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ยิ่งเพิ่มทวีคูณ จนต้องพยายามแสวงหาทุกวิถีทางในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจและชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง

หากคิดว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องไร้สาระ ก็ต้องกำจัดต้นตอของความเสี่ยง นั่นคือ “พลังนอกกฎหมาย”

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี