Skip to main content

ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง

บทความนี้มิได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” หรือมุ่งทำลายโจมตีไสยศาสตร์ แต่จะพยายามวิเคราะห์ว่า ทำไมไสยศาสตร์จึงอยู่คู่กับสังคมไทย และยิ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้น เชื่อมโยงกับโลกโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้น กิจกรรมทางไสยศาสตร์กลับเพิ่มตาม แถมยังมีสินค้าและบริการต่างๆออกมาให้เห็นตามกระแสอยู่มากมาย

การแปะป้ายว่าคนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์งมงาย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ล้าหลัง ไม่ทันโลก น่าจะไม่ถูก เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่เสียเงินไปกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไปจนถึงจ้างผู้นำทางจิตวิญญาณเพื่อชี้นำในเรื่องต่างๆ อยู่เนืองๆ รวมไปถึงเรื่อง “ขอฤกษ์ทำรัฐประหาร” หรือแม้กระทั่ง “เลขมงคลจำนวนมาตรารัฐธรรมนูญ” ไปจนถึง “ลูกเทพ”

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์มีแนวโน้ม “เอาทุกทาง” มากกว่าหมกมุ่นกับสายไสยอย่างเดียว  เช่น ถ้าทำธุรกิจก็ดูทีวีอ่านหนังสือฟังกูรูทั้งหลาย พ่วงไปกับการลงเรียนหลักสูตรต่างๆเพื่อหาเส้นสาย ไปปฏิบัติธรรม ทำบุญตักบาตรและกิจกรรมทางศาสนา เรื่อยมาถึงบูชาเครื่องรางของขลัง หรือเข้าลัทธิพิธีของสำนักต่างๆ ฯลฯ

อะไรทำให้คนไทยยังต้องใช้ไสยศาสตร์เป็นที่พึ่ง มิใช่แค่ที่ยึดเหนี่ยวทางใจ       หลายคนคิดว่าเป็น “หลักประกัน” กล่าวคือ ในประเทศไทยนี้ หากวันดีคืนดีเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจฝืดเคืองตกงาน เกิดเรื่องซวยๆขึ้นกับชีวิต  คนคนหนึ่งล้มทั้งยืนเป็นหนี้เป็นสินได้ทันที เพราะรัฐไทยมิได้สร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานในชีวิตมากนัก

แม้ด้านสุขภาพจะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็ยังมีข้อกังขาในเรื่องความสะดวกรวดเร็วและคุณภาพอยู่บ้าง แต่ประเด็นที่แทบไม่มีเบาะรองรับเลย คือ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

มองภาคเกษตรกรรมจะเห็นว่า เราไม่มีระบบประกันความเสี่ยงในการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ถึงขนาดบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ที่เคยเพาะพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารกันเอง ยังต้องผลักภาระความเสี่ยงออกไปให้ เกษตรกรแบบรับความเสี่ยงแทนผ่านระบบ “เกษตรพันธสัญญา”   ก็ด้วยดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดไม่เข้าใครออกใคร

ประเพณีจำนวนมากของชุมชนเกษตรกรรมจึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทพยาดาฟ้าดิน เจ้าพ่อเจ้าแม่ ดลบันดาลดินฟ้าอากาศและยับยั้งภัยธรรมชาติและโรคระบาดแทนให้   การด่าเกษตรกรจึงอาจผิดเป้าหมาย การพยายามหา วิธีรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ คาดเดาได้ วางแผนรับสถานการณ์ได้ น่าจะทำให้กิจกรรมทางไสยศาสตร์หายไป แล้ววิทยาศาสตร์เข้ามาแทน ...แต่ ก็ไม่มีนั่นเอง

เมื่อมองเข้ามาในภาคบริการและพาณิชยกรรม ผู้ประกอบการจำนวนมากก็ยังไหว้เจ้าที่เจ้าทาง บูชาเกจิอาจารย์ หรือหาเครื่องรางของขลังจากสายต่างๆ มาเสริมดวงหนุนโชค หรือจ้างซินแสจัดฮวงจุ้ยร้านค้า/ที่พัก แข่งกันดูดเงินดูดทองเข้าตัว แล้วไม่รู้ว่าคนที่มัวพัฒนาสินค้าและการบริการจะสู้ได้หรือไม่ถ้าไม่ใช้พลังภายในแบบนี้สู้

แม้กระทั่งบรรษัทใหญ่หรือไปจนถึงการพิจารณาโหงวเฮ้งและธาตุ พื้นฐานดวง ก่อนที่จะรับคนเข้าทำงาน  เรื่อยไปถึงการผลิตเชิงอุตสาหกรรมก็ยังต้องดูฤกษ์ยามการเดินสายผลิต หรือเจิมเครื่องจักรกลกันให้เห็นเป็นประจำ

สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับความรู้สึก “ไม่วางใจ” ของคนในภาคธุรกิจ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพราะไม่อาจคาดเดาอะไรได้ เนื่องจากเราอยู่ในรัฐทุนนิยมที่กำหมายไม่ได้รับการยอมรับในฐานะ “กติกาของการแข่งขัน”  แต่กลับมีพลังลึกลับหลายอย่าง “อุ้ม” เอาคู้แข่งหลายรายหายไปในตลาด หรือบางโอกาสก็มีคนขายตัดราคาได้เพราะว่าเอาเงิน “ดำๆมืดๆ” มาฟอกผ่านธุรกิจให้กลายเป็นเงินสะอาดจนมิอาจสู้ราคาแข่งขันได้

เมื่อมาดูภาพใหญ่สุดระดับประเทศ เราคงคุ้นกันดีว่าประเทศไทยอาจก้าวหน้าไปแล้วก็อาจจะสะดุดหยุดอยู่หรือไหลย้อนกลับ ด้วยเหตุที่มีการตัดสลับโดยอำนาจ “นอกกฎหมาย” 

กฎหมายไม่ได้มีความหมายอะไรสลักสำคัญ มันเป็นเพียง “กติกา” ที่ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายคาดเดาได้ว่า ถ้าทำอย่างนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร รัฐส่งเสริมอะไร ห้ามอะไร ให้แข่งกันยังไง สินค้าแบบไหนผลิตออกมาขายได้ หรือบริการแบบไหนห้ามนำเสนอสู่ตลาด   เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในสายตาของรัฐหรือผู้มีอำนาจจะต้องเคารพยึดถือปฏิบัติ ระดับล่างลงไปก็ไม่ทำตาม

การวิ่งเต้นหาเส้นไล่สาย จึงกลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทย กลายเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกิด “เจ้าพ่อ” “เจ้าแม่” หลายรายที่กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชีวิตและลมหายใจ ต้องเซ่นไหว้ด้วยอะไรก็แล้วแต่เจ้าสำนักกำหนด   ดีลใหญ่ทางธุรกิจหรือความขัดแย้งทางธุรกิจจึงปัดเป่าด้วยกำลังภายใน มากกว่า “การระงับข้อพิพาทด้วยกฎหมาย” ที่อาจคาดเดาผลได้ชัดเจนตามตัวบทบัญญัติ แต่อาจจะขัดกับผลประโยชน์ของคู่ขัดแย้ง

ยิ่งมีพลังนอกกฎหมาย ไร้กติกามากเท่าไหร่ ความไม่แน่นอนในจิตใจของ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ยิ่งเพิ่มทวีคูณ จนต้องพยายามแสวงหาทุกวิถีทางในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจและชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง

หากคิดว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องไร้สาระ ก็ต้องกำจัดต้นตอของความเสี่ยง นั่นคือ “พลังนอกกฎหมาย”

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,