Skip to main content

จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  

ยิ่งประชาชนรู้แล้วไม่มีส่วนร่วม เข้าไปมีความเห็นหรือแก้ไขอะไรก็ทำไม่ได้ ยิ่งจิตตก สิ้นหวัง   นานไปก็เข้าทำนองถ้าไม่รู้เสียเลยคงสบายใจ หรือไม่วิตกกังวล กลายเป็นภาวะ “เฉื่อยงาน” เลิกคิด เลิกวิจารณ์ เลิกสร้างสรรค์ก็จะกระทบการพัฒนาในระยะยาว

การควบคุมทิศทางข่าวและล้างสมองในอดีตเป็นไปได้ เพราะประชาชนเข้าถึงข่าวสารช้า และรัฐสามารถควบคุมการไหลเวียนข่าวสาร/ทำการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย และสื่อบางช่องทางก็เกินอำนาจรัฐบาลเพราะอยู่ “นอกเขตอำนาจ” รัฐ

ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มิได้อยู่ในภาครัฐ ดังสื่อยุครัฐสมัยใหม่ที่รัฐกุมอำนาจในการให้ใบอนุญาต หรือเป็นเจ้าของคลื่นและช่องทางสื่อสารเสียเอง  กรณีเรียกผู้ประกอบการไอทีระดับโลกมาเจรจาก็เห็นแล้วว่า จุดยืนของเหล่าบรรษัทระดับโลกเป็นอย่างไร ส่งเสริมการลงทุนดีไหมล่ะ

ประชาชนเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้ง่ายแทบทุกที่ตลอดเวลา “เครือข่ายทางสังคม” ก็เอื้อให้คนผลิตข้อมูลเข้าสู่อินเตอร์เน็ต รอคนจำนวนมากสืบค้นได้อย่างง่ายดาย
และเหนืออื่นใด คือ รัฐบาลไทยไม่ได้เตรียมตัวรับสถานการณ์เหล่านี้ตั้งแต่แรก จะมาทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ตอนนี้ไม่ทันแล้ว ถ้าทำจริงก็กระทบไปทุกภาคส่วน

หากต้องการพึ่งความสามารถรัฐพันธมิตร อย่างจีน ก็ต้องซื้อยุทโธปกรณ์ทั้งเรือดำน้ำเพื่อดักดูดข้อมูลจากเคเบิ้ลแล้วส่งไปประมวลผลที่ฐานปฏิบัติการของจีน ก็เสมือนสูญเสียเอกราชในการจัดการตนเองไปด้วย   หลังสุดมีข่าวซื้อเทคโนโลยีไอทีเกี่ยวกับการสร้างเสิร์ชเอ็นจิ้น หวังว่าคนไทยจะมาใช้ รัฐจะได้สอดส่อง  ก็ไม่ง่ายนะครับ เพราะเจ้าเดิมก็ยังอยู่ แถมประชาชนระแวงรัฐ

ขอยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตร 4.0 ก็ต้องมุ้งเป้าไปที่ คนรุ่นใหม่ ลูกหลานเกษตรกรโดยเฉพาะเด็ก หรือสตรี   เพราะแนวทางการพัฒนาชนบทหรือภาคการเกษตรในโลกยุคนี้ หากต้องการหนีจากการผลิตเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ที่ใช้สารเคมีมากสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสูง   ก็ต้องปรับเป็นการเกษตรเชิงผสมผสาน หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมทำกิจกรรมหรือพักผ่อนท่องเที่ยวไปในตัว

คงไม่มีนักท่องเที่ยวที่ไหน อยากตื่นเช้ามาสูดไอหมอก “ยาฆ่าแมลง” หรอกครับ

 

สำคัญที่สุด คือ การจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ตลาดในการแลกเปลี่ยนสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือการหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพราคาเหมาะสม
นอกจากนี้การกระจายสินค้าและข้อมูลสินน้าไปยัง ผู้บริโภคในครัวเรือน หรือบริษัทห้างร้านที่เป็น ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ ร้านอาหารปรุงสำเร็จ อาหารตามสั่ง ก็จำเป็นต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีความซับซ้อนแม่นยำ
สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการความละเอียดอ่อนและอดทนสูง

การบริการหลังการขาย การรับคำติชมต่างๆ จากคู่ค้า ลูกค้า ก็ต้องอาศัยความอดกลั้น และพิจารณาปัญหาอย่างเยือกเย็น ซึ่งต้องได้รับการอบรม และพร้อมจำปรับปรุงวิถีการทำงาน

คนเจเนอเรชั่นเก่า บุรุษ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ยากขึ้น ดังปรากฏการณ์ว่างงานของชายในประเทศพัฒนาแล้ว และการเติบโตของแรงงานสตรีในหลายประเทศแบบก้าวกระโดด

บทบาทในการทำงานนอกบ้านหรือทำงานอยู่กับบ้านมาอยู่ที่สตรีมากขึ้น ส่วนบทบาทชายอาจต้องปรับไปในทิศทางดูแลบ้านและเอาใจคนในพื้นที่ในอาณาบริเวณครอบครัวมากกว่าเดิม
วิกฤตการเมืองแบบตัวแทน คือ วิกฤตพรรค มิใช่วิกฤตประชาธิปไตย

แล้วเราจะใช้การเมืองและยุทธศาสตร์แบบไหนพาประเทศชาติก้าวอุปสรรคไป?
ในยุโรปและอเมริกา หมายถึง พรรคการเมืองแทบทุกพรรคมีนโยบายไม่ต่างกัน ทั้งซ้าย ขวา โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และความมั่นคง
การถูกชี้นำโดย เทคโนแครต การประนีประนอมกับระบบราชการ กระบวนการทางการเมืองที่ซับซ้อน ขั้นตอนเชิงเทคนิค กีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วม
เสียงประชาชนเลือนหายไปจากสภา เพราะประชาชนอยู่ห่างจากสภามากไป และตัวแทนของตนก็ถูกกลืนหายไปในกระพรรค

ส่วนพรรคก็ทำตามนายทุน ลอบบี้ยิสต์ มากเกินไป ไม่รับฟังเสียงประชาชน  การเมืองมวลชนนอกสภาจึงมาเต็มท้องถนน

ปัญหาจึงอยู่ที่พรรคไม่เป็นตัวแทนของประชาชน
แต่การเอาทหารเข้ามายิ่งไม่รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะลอบบี้ยิสต์กลุ่มทุนทำงานง่ายกว่าเดิม เพราะเคลียร์กับคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ต้องเชื่อมโยงกับประชาชน

ประชาธิปไตยจึงต้องยิ่งขยายพื้นที่ต่อรอง ให้เส้นมีหลายสาย  มิใช่การขยุ้มมาอยู่ที่สายเขียว สายเดียว

แนวทางพรรคมวลชนแบบใหม่ในหลายประเทศจึงมา คือ ผู้นำมวลชน นำความคิดผ่านสื่อใหม่ และสามารถรวมกลุ่มย่อยให้เข้ามาอยู่ในขบวนการได้   โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่กระจัดกระจาย

การยอมรับข้อจำกัดของตนเอง และเข้าใจทิศทางพัฒนาการของเทคโนโลยี ปล่อยให้คนรุ่นใหม่ที่เข้าใจ และมีความสามารถ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้ เหล่าผู้อาวุโสได้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตไปกับ การท่องเที่ยว บริโภค และเลี้ยงดูลูกหลาน  ดีกว่าต้องมาบั่นทอนร่างกายและจิตใจที่เสื่อมไปตามอายุขัยที่มากขึ้น
การมอบความสุขที่ยิ่งใหญ่ให้คนรุ่นถัดไป ย่อมอยู่ที่ การเปิดให้คนรุ่นใหม่ได้กำหนดอนาคตของตนเอง หลังจากคนยุคก่อนหน้าได้ทำพังเพราะไม่เข้าใจเทคโนโลยีมามากแล้ว
จึงอยู่ที่ท่านผู้ใหญ่แล้วว่าจะมอบความสุขให้คนรุ่นใหม่ และจะเกษียณตนไปเสพสุขเงียบๆได้หรือยัง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,