Skip to main content

จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  

ยิ่งประชาชนรู้แล้วไม่มีส่วนร่วม เข้าไปมีความเห็นหรือแก้ไขอะไรก็ทำไม่ได้ ยิ่งจิตตก สิ้นหวัง   นานไปก็เข้าทำนองถ้าไม่รู้เสียเลยคงสบายใจ หรือไม่วิตกกังวล กลายเป็นภาวะ “เฉื่อยงาน” เลิกคิด เลิกวิจารณ์ เลิกสร้างสรรค์ก็จะกระทบการพัฒนาในระยะยาว

การควบคุมทิศทางข่าวและล้างสมองในอดีตเป็นไปได้ เพราะประชาชนเข้าถึงข่าวสารช้า และรัฐสามารถควบคุมการไหลเวียนข่าวสาร/ทำการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย และสื่อบางช่องทางก็เกินอำนาจรัฐบาลเพราะอยู่ “นอกเขตอำนาจ” รัฐ

ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มิได้อยู่ในภาครัฐ ดังสื่อยุครัฐสมัยใหม่ที่รัฐกุมอำนาจในการให้ใบอนุญาต หรือเป็นเจ้าของคลื่นและช่องทางสื่อสารเสียเอง  กรณีเรียกผู้ประกอบการไอทีระดับโลกมาเจรจาก็เห็นแล้วว่า จุดยืนของเหล่าบรรษัทระดับโลกเป็นอย่างไร ส่งเสริมการลงทุนดีไหมล่ะ

ประชาชนเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้ง่ายแทบทุกที่ตลอดเวลา “เครือข่ายทางสังคม” ก็เอื้อให้คนผลิตข้อมูลเข้าสู่อินเตอร์เน็ต รอคนจำนวนมากสืบค้นได้อย่างง่ายดาย
และเหนืออื่นใด คือ รัฐบาลไทยไม่ได้เตรียมตัวรับสถานการณ์เหล่านี้ตั้งแต่แรก จะมาทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ตอนนี้ไม่ทันแล้ว ถ้าทำจริงก็กระทบไปทุกภาคส่วน

หากต้องการพึ่งความสามารถรัฐพันธมิตร อย่างจีน ก็ต้องซื้อยุทโธปกรณ์ทั้งเรือดำน้ำเพื่อดักดูดข้อมูลจากเคเบิ้ลแล้วส่งไปประมวลผลที่ฐานปฏิบัติการของจีน ก็เสมือนสูญเสียเอกราชในการจัดการตนเองไปด้วย   หลังสุดมีข่าวซื้อเทคโนโลยีไอทีเกี่ยวกับการสร้างเสิร์ชเอ็นจิ้น หวังว่าคนไทยจะมาใช้ รัฐจะได้สอดส่อง  ก็ไม่ง่ายนะครับ เพราะเจ้าเดิมก็ยังอยู่ แถมประชาชนระแวงรัฐ

ขอยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตร 4.0 ก็ต้องมุ้งเป้าไปที่ คนรุ่นใหม่ ลูกหลานเกษตรกรโดยเฉพาะเด็ก หรือสตรี   เพราะแนวทางการพัฒนาชนบทหรือภาคการเกษตรในโลกยุคนี้ หากต้องการหนีจากการผลิตเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ที่ใช้สารเคมีมากสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสูง   ก็ต้องปรับเป็นการเกษตรเชิงผสมผสาน หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมทำกิจกรรมหรือพักผ่อนท่องเที่ยวไปในตัว

คงไม่มีนักท่องเที่ยวที่ไหน อยากตื่นเช้ามาสูดไอหมอก “ยาฆ่าแมลง” หรอกครับ

 

สำคัญที่สุด คือ การจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ตลาดในการแลกเปลี่ยนสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือการหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพราคาเหมาะสม
นอกจากนี้การกระจายสินค้าและข้อมูลสินน้าไปยัง ผู้บริโภคในครัวเรือน หรือบริษัทห้างร้านที่เป็น ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ ร้านอาหารปรุงสำเร็จ อาหารตามสั่ง ก็จำเป็นต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีความซับซ้อนแม่นยำ
สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการความละเอียดอ่อนและอดทนสูง

การบริการหลังการขาย การรับคำติชมต่างๆ จากคู่ค้า ลูกค้า ก็ต้องอาศัยความอดกลั้น และพิจารณาปัญหาอย่างเยือกเย็น ซึ่งต้องได้รับการอบรม และพร้อมจำปรับปรุงวิถีการทำงาน

คนเจเนอเรชั่นเก่า บุรุษ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ยากขึ้น ดังปรากฏการณ์ว่างงานของชายในประเทศพัฒนาแล้ว และการเติบโตของแรงงานสตรีในหลายประเทศแบบก้าวกระโดด

บทบาทในการทำงานนอกบ้านหรือทำงานอยู่กับบ้านมาอยู่ที่สตรีมากขึ้น ส่วนบทบาทชายอาจต้องปรับไปในทิศทางดูแลบ้านและเอาใจคนในพื้นที่ในอาณาบริเวณครอบครัวมากกว่าเดิม
วิกฤตการเมืองแบบตัวแทน คือ วิกฤตพรรค มิใช่วิกฤตประชาธิปไตย

แล้วเราจะใช้การเมืองและยุทธศาสตร์แบบไหนพาประเทศชาติก้าวอุปสรรคไป?
ในยุโรปและอเมริกา หมายถึง พรรคการเมืองแทบทุกพรรคมีนโยบายไม่ต่างกัน ทั้งซ้าย ขวา โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และความมั่นคง
การถูกชี้นำโดย เทคโนแครต การประนีประนอมกับระบบราชการ กระบวนการทางการเมืองที่ซับซ้อน ขั้นตอนเชิงเทคนิค กีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วม
เสียงประชาชนเลือนหายไปจากสภา เพราะประชาชนอยู่ห่างจากสภามากไป และตัวแทนของตนก็ถูกกลืนหายไปในกระพรรค

ส่วนพรรคก็ทำตามนายทุน ลอบบี้ยิสต์ มากเกินไป ไม่รับฟังเสียงประชาชน  การเมืองมวลชนนอกสภาจึงมาเต็มท้องถนน

ปัญหาจึงอยู่ที่พรรคไม่เป็นตัวแทนของประชาชน
แต่การเอาทหารเข้ามายิ่งไม่รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะลอบบี้ยิสต์กลุ่มทุนทำงานง่ายกว่าเดิม เพราะเคลียร์กับคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ต้องเชื่อมโยงกับประชาชน

ประชาธิปไตยจึงต้องยิ่งขยายพื้นที่ต่อรอง ให้เส้นมีหลายสาย  มิใช่การขยุ้มมาอยู่ที่สายเขียว สายเดียว

แนวทางพรรคมวลชนแบบใหม่ในหลายประเทศจึงมา คือ ผู้นำมวลชน นำความคิดผ่านสื่อใหม่ และสามารถรวมกลุ่มย่อยให้เข้ามาอยู่ในขบวนการได้   โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่กระจัดกระจาย

การยอมรับข้อจำกัดของตนเอง และเข้าใจทิศทางพัฒนาการของเทคโนโลยี ปล่อยให้คนรุ่นใหม่ที่เข้าใจ และมีความสามารถ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้ เหล่าผู้อาวุโสได้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตไปกับ การท่องเที่ยว บริโภค และเลี้ยงดูลูกหลาน  ดีกว่าต้องมาบั่นทอนร่างกายและจิตใจที่เสื่อมไปตามอายุขัยที่มากขึ้น
การมอบความสุขที่ยิ่งใหญ่ให้คนรุ่นถัดไป ย่อมอยู่ที่ การเปิดให้คนรุ่นใหม่ได้กำหนดอนาคตของตนเอง หลังจากคนยุคก่อนหน้าได้ทำพังเพราะไม่เข้าใจเทคโนโลยีมามากแล้ว
จึงอยู่ที่ท่านผู้ใหญ่แล้วว่าจะมอบความสุขให้คนรุ่นใหม่ และจะเกษียณตนไปเสพสุขเงียบๆได้หรือยัง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที