Skip to main content

ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?

คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ

1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"

2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง

ความเป็น “คน” ในระบบกฎหมายไทย และกฎหมายสากลที่ผูกพันรัฐไทย

ความเป็น "คน" กับสิทธิในการเลือกตั้งอยู่ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนและรองรับสิทธิของประชาชนไทยตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

“ ข้อ 21.

(1) บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่งผ่านการเลือกอย่างเสรี

(2) บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน

(3) เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรีที่คล้ายคลึงกัน”

ซึ่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีผลผูกพันรัฐไทยในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เนื่องจากรัฐไทยได้ยึดถือและปฏิบัติตามเสมอมาทั้งในการแสดงตนในเวทีระหว่างประเทศ และการรับหลักการสิทธิมนุษยชนเข้ามาอยู่ในระบบกฎหมายไทย ผ่านทางรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐไทยยังเป็นภาคีสมาชิกของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง โดยมีการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาและอนุวัติการออกมาเป็นพระราชาบัญญัติบังคับใช้ในกระบวนการทางกฎหมายทุกระดับของรัฐ

ซึ่งสิทธิในการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ นั้นกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ระบุไว้ใน
“ข้อ 25.

พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ ๒ และโดยปราศจากข้อจำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค”

ครับ ประชาชนต้องได้ใช้เลือกตั้งโดย

  •  เสรี (ไม่ถูกกีดกัน ขัดขวาง หรือบังคับข่มขืนใจ)
  • ลับ (มีความปลอดภัย และมีความเป็นส่วนตัว ได้รับการปกป้อง)  และ
  • เป็นวาระ (จะต้องมีการเปลี่ยนชุดผู้แทนทุกกี่ปีก็ว่าไป เพื่อให้ตัดสินใจกันใหม่หลังดูฝีมือกันมาระยะหนึ่ง)

แต่ งง ไหมครับ ทำไมมันอยู่ในข้อเดียวกับ สิทธิในการใช้บริการสาธารณะ?

ในโลกตะวันตกซึ่งเป็นต้นทางของระบบกฎหมายสมัยใหม่และประชาธิปไตย การเลือกตั้ง คือ การเลือกคนมาจัดบริการสาธารณะตรงไปตรงมา   ดังนั้น การเลือกผู้แทน พรรค หรือไปถึงขั้นเลือกผู้แทน หรือรัฐบาล ย่อมมาจากเสียงของประชาชน   ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาจึงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะมีที่มาจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศ จะเลือก "คนเก่ง" หรือ "คนดี" ก็แล้วแต่ท่านครับ

เพราะแต่ละคนมีปัญหาในชีวิตต่างกัน ต้องการคนเข้ามาแก้ปัญหาหรือเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ท่านไม่เหมือนกัน

คนบางกลุ่มอาจจะชอบคนทำงานรวดเร็ว ถึงลูกถึงคุณ รับปากแล้วทำ   บางกลุ่มอาจไม่ได้ต้องการเช่นนั้น อาจต้องการคนที่เป็นปากเป็นเสียงมีวาจาเชือดเฉือน หรือมีภาพลักษณะดี เลือกแล้วภูมิใจ เพราะพูดได้ถึงใจ สะใจ แล้วยังดูดีมีสง่าอีกต่างหาก   ก็ว่ากันไปครับ

รวมไปถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือที่เรียกกันทับศัพท์ว่า “การคอรัปชั่น”   สำหรับคนแต่ละกลุ่มการ “คอรัปชั่น” ที่ร้ายแรงและต้องกำจัดอาจมีน้ำหนักในแต่ละประเด็นต่างกัน

  • บางกลุ่มจะขจัดคนที่คอรัปชั่นเงินทอง
  • บางกลุ่มอาจจะอยากขจัดคนที่คอรัปชั่นด้วยการโกหก พูดอย่างทำอย่าง ก็ได้

มันจึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราจึงเถียงกันจนจะฆ่ากันอยู่นี่ว่าทำไมอีกฝ่ายถึง “คิดไม่ได้”  จริงๆไม่ใช่คิดไม่ได้ครับ แต่มนุษย์ย่อมมีวิจารณญาณในการให้ “น้ำหนัก” ต่อเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป แล้วแต่ความจำเป็นเร่งด่วนในชีวิตของแต่ละคน และหลักการในชีวิตของแต่ละคนที่ต่างกันไป

เรามีปัญหาแบบนี้ก็เลือกคนนี้พรรคนี้เข้ามา คนอื่นมีปัญหาอีกแบบก็เลือกพรรคโน้น คนโน้น เข้ามา

ดังนั้นเวลาฝ่ายที่เราเลือกแพ้ ไม่ได้หมายความว่า เราโง่ที่เลือกผิด หรือ คนอื่นโง่ ที่เลือกอีกฝ่าย    แต่มันหมายความว่า ปัญหาที่เรามี พรรคที่เราเลือก ไม่ตรงกับ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศต่างหาก             ลองดูนโยบายของพรรคที่ชนะเลือกตั้งดูนะครับ ว่าเค้าพยายามแก้ปัญหาอะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเผชิญอยู่

ดังนั้นพรรคการเมืองถ้าอยากชนะ ก็เสนอทางแก้ที่ดีกว่า ออกมาครับ หรือเสนอ “หลักการ” ที่มีคนจำนวนมากออกมาสู้

แต่ความสับสนงงงวยอาจเกิดขึ้นหากดูกฎหมายไทยว่าด้วยการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อลองไล่ดูว่า “สิทธิการเลือกตั้ง” อยุ่ ณ ที่แห่งใด จะพบว่า การเลือกตั้งกลายเป็น “หน้าที่” และถูกแยกออกไกลห่างจากสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะ จนเราอาจจะหลงลืมกันไปเสียแล้วว่า
“เราเลือกตั้งกันไปทำไม”

หรือ
“การเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆอย่างไร”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๗๒  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้
ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการ ไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

นั่นหมายความว่า การเลือกตั้งเป็น “วิธีการ” ที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและการดำรงอยู่ของรัฐ หากท่านเทียบกับหน้าที่ต่างๆ ที่อยู่ในหมวดหน้าที่   ดังนั้นการไม่ไปใช้สิทธิ หรือการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องร้ายแรง และมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่ออกตามนัยยะแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนทำได้ตามกรอบแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้ง คือ การไปใช้สิทธิเลือกจะแสดงออกแล้วแต่ใจท่านปรารถนา จะเลือกพรรคใด ใคร หรือกางดออกเสียง ก็แล้วแต่ท่าน

หรืออยากจะแสดงออกถึงการต่อต้าน ก็ยึดแนวทางของ รศ.ดร.ไชยันตร์ ไชยพร ในการฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตร 69 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่ท่านเลือกกำหนด   แทนที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้ที่ “เลือก” ต่างจากท่านครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ