Skip to main content

ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?

คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ

1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"

2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง

ความเป็น “คน” ในระบบกฎหมายไทย และกฎหมายสากลที่ผูกพันรัฐไทย

ความเป็น "คน" กับสิทธิในการเลือกตั้งอยู่ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนและรองรับสิทธิของประชาชนไทยตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

“ ข้อ 21.

(1) บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่งผ่านการเลือกอย่างเสรี

(2) บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน

(3) เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรีที่คล้ายคลึงกัน”

ซึ่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีผลผูกพันรัฐไทยในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เนื่องจากรัฐไทยได้ยึดถือและปฏิบัติตามเสมอมาทั้งในการแสดงตนในเวทีระหว่างประเทศ และการรับหลักการสิทธิมนุษยชนเข้ามาอยู่ในระบบกฎหมายไทย ผ่านทางรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐไทยยังเป็นภาคีสมาชิกของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง โดยมีการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาและอนุวัติการออกมาเป็นพระราชาบัญญัติบังคับใช้ในกระบวนการทางกฎหมายทุกระดับของรัฐ

ซึ่งสิทธิในการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ นั้นกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ระบุไว้ใน
“ข้อ 25.

พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ ๒ และโดยปราศจากข้อจำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค”

ครับ ประชาชนต้องได้ใช้เลือกตั้งโดย

  •  เสรี (ไม่ถูกกีดกัน ขัดขวาง หรือบังคับข่มขืนใจ)
  • ลับ (มีความปลอดภัย และมีความเป็นส่วนตัว ได้รับการปกป้อง)  และ
  • เป็นวาระ (จะต้องมีการเปลี่ยนชุดผู้แทนทุกกี่ปีก็ว่าไป เพื่อให้ตัดสินใจกันใหม่หลังดูฝีมือกันมาระยะหนึ่ง)

แต่ งง ไหมครับ ทำไมมันอยู่ในข้อเดียวกับ สิทธิในการใช้บริการสาธารณะ?

ในโลกตะวันตกซึ่งเป็นต้นทางของระบบกฎหมายสมัยใหม่และประชาธิปไตย การเลือกตั้ง คือ การเลือกคนมาจัดบริการสาธารณะตรงไปตรงมา   ดังนั้น การเลือกผู้แทน พรรค หรือไปถึงขั้นเลือกผู้แทน หรือรัฐบาล ย่อมมาจากเสียงของประชาชน   ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาจึงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะมีที่มาจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศ จะเลือก "คนเก่ง" หรือ "คนดี" ก็แล้วแต่ท่านครับ

เพราะแต่ละคนมีปัญหาในชีวิตต่างกัน ต้องการคนเข้ามาแก้ปัญหาหรือเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ท่านไม่เหมือนกัน

คนบางกลุ่มอาจจะชอบคนทำงานรวดเร็ว ถึงลูกถึงคุณ รับปากแล้วทำ   บางกลุ่มอาจไม่ได้ต้องการเช่นนั้น อาจต้องการคนที่เป็นปากเป็นเสียงมีวาจาเชือดเฉือน หรือมีภาพลักษณะดี เลือกแล้วภูมิใจ เพราะพูดได้ถึงใจ สะใจ แล้วยังดูดีมีสง่าอีกต่างหาก   ก็ว่ากันไปครับ

รวมไปถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือที่เรียกกันทับศัพท์ว่า “การคอรัปชั่น”   สำหรับคนแต่ละกลุ่มการ “คอรัปชั่น” ที่ร้ายแรงและต้องกำจัดอาจมีน้ำหนักในแต่ละประเด็นต่างกัน

  • บางกลุ่มจะขจัดคนที่คอรัปชั่นเงินทอง
  • บางกลุ่มอาจจะอยากขจัดคนที่คอรัปชั่นด้วยการโกหก พูดอย่างทำอย่าง ก็ได้

มันจึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราจึงเถียงกันจนจะฆ่ากันอยู่นี่ว่าทำไมอีกฝ่ายถึง “คิดไม่ได้”  จริงๆไม่ใช่คิดไม่ได้ครับ แต่มนุษย์ย่อมมีวิจารณญาณในการให้ “น้ำหนัก” ต่อเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป แล้วแต่ความจำเป็นเร่งด่วนในชีวิตของแต่ละคน และหลักการในชีวิตของแต่ละคนที่ต่างกันไป

เรามีปัญหาแบบนี้ก็เลือกคนนี้พรรคนี้เข้ามา คนอื่นมีปัญหาอีกแบบก็เลือกพรรคโน้น คนโน้น เข้ามา

ดังนั้นเวลาฝ่ายที่เราเลือกแพ้ ไม่ได้หมายความว่า เราโง่ที่เลือกผิด หรือ คนอื่นโง่ ที่เลือกอีกฝ่าย    แต่มันหมายความว่า ปัญหาที่เรามี พรรคที่เราเลือก ไม่ตรงกับ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศต่างหาก             ลองดูนโยบายของพรรคที่ชนะเลือกตั้งดูนะครับ ว่าเค้าพยายามแก้ปัญหาอะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเผชิญอยู่

ดังนั้นพรรคการเมืองถ้าอยากชนะ ก็เสนอทางแก้ที่ดีกว่า ออกมาครับ หรือเสนอ “หลักการ” ที่มีคนจำนวนมากออกมาสู้

แต่ความสับสนงงงวยอาจเกิดขึ้นหากดูกฎหมายไทยว่าด้วยการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อลองไล่ดูว่า “สิทธิการเลือกตั้ง” อยุ่ ณ ที่แห่งใด จะพบว่า การเลือกตั้งกลายเป็น “หน้าที่” และถูกแยกออกไกลห่างจากสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะ จนเราอาจจะหลงลืมกันไปเสียแล้วว่า
“เราเลือกตั้งกันไปทำไม”

หรือ
“การเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆอย่างไร”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๗๒  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้
ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการ ไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

นั่นหมายความว่า การเลือกตั้งเป็น “วิธีการ” ที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและการดำรงอยู่ของรัฐ หากท่านเทียบกับหน้าที่ต่างๆ ที่อยู่ในหมวดหน้าที่   ดังนั้นการไม่ไปใช้สิทธิ หรือการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องร้ายแรง และมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่ออกตามนัยยะแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนทำได้ตามกรอบแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้ง คือ การไปใช้สิทธิเลือกจะแสดงออกแล้วแต่ใจท่านปรารถนา จะเลือกพรรคใด ใคร หรือกางดออกเสียง ก็แล้วแต่ท่าน

หรืออยากจะแสดงออกถึงการต่อต้าน ก็ยึดแนวทางของ รศ.ดร.ไชยันตร์ ไชยพร ในการฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตร 69 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่ท่านเลือกกำหนด   แทนที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้ที่ “เลือก” ต่างจากท่านครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม