Skip to main content

ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?

คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ

1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"

2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง

ความเป็น “คน” ในระบบกฎหมายไทย และกฎหมายสากลที่ผูกพันรัฐไทย

ความเป็น "คน" กับสิทธิในการเลือกตั้งอยู่ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนและรองรับสิทธิของประชาชนไทยตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

“ ข้อ 21.

(1) บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่งผ่านการเลือกอย่างเสรี

(2) บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน

(3) เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรีที่คล้ายคลึงกัน”

ซึ่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีผลผูกพันรัฐไทยในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เนื่องจากรัฐไทยได้ยึดถือและปฏิบัติตามเสมอมาทั้งในการแสดงตนในเวทีระหว่างประเทศ และการรับหลักการสิทธิมนุษยชนเข้ามาอยู่ในระบบกฎหมายไทย ผ่านทางรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐไทยยังเป็นภาคีสมาชิกของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง โดยมีการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาและอนุวัติการออกมาเป็นพระราชาบัญญัติบังคับใช้ในกระบวนการทางกฎหมายทุกระดับของรัฐ

ซึ่งสิทธิในการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ นั้นกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ระบุไว้ใน
“ข้อ 25.

พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ ๒ และโดยปราศจากข้อจำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค”

ครับ ประชาชนต้องได้ใช้เลือกตั้งโดย

  •  เสรี (ไม่ถูกกีดกัน ขัดขวาง หรือบังคับข่มขืนใจ)
  • ลับ (มีความปลอดภัย และมีความเป็นส่วนตัว ได้รับการปกป้อง)  และ
  • เป็นวาระ (จะต้องมีการเปลี่ยนชุดผู้แทนทุกกี่ปีก็ว่าไป เพื่อให้ตัดสินใจกันใหม่หลังดูฝีมือกันมาระยะหนึ่ง)

แต่ งง ไหมครับ ทำไมมันอยู่ในข้อเดียวกับ สิทธิในการใช้บริการสาธารณะ?

ในโลกตะวันตกซึ่งเป็นต้นทางของระบบกฎหมายสมัยใหม่และประชาธิปไตย การเลือกตั้ง คือ การเลือกคนมาจัดบริการสาธารณะตรงไปตรงมา   ดังนั้น การเลือกผู้แทน พรรค หรือไปถึงขั้นเลือกผู้แทน หรือรัฐบาล ย่อมมาจากเสียงของประชาชน   ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาจึงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะมีที่มาจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศ จะเลือก "คนเก่ง" หรือ "คนดี" ก็แล้วแต่ท่านครับ

เพราะแต่ละคนมีปัญหาในชีวิตต่างกัน ต้องการคนเข้ามาแก้ปัญหาหรือเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ท่านไม่เหมือนกัน

คนบางกลุ่มอาจจะชอบคนทำงานรวดเร็ว ถึงลูกถึงคุณ รับปากแล้วทำ   บางกลุ่มอาจไม่ได้ต้องการเช่นนั้น อาจต้องการคนที่เป็นปากเป็นเสียงมีวาจาเชือดเฉือน หรือมีภาพลักษณะดี เลือกแล้วภูมิใจ เพราะพูดได้ถึงใจ สะใจ แล้วยังดูดีมีสง่าอีกต่างหาก   ก็ว่ากันไปครับ

รวมไปถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือที่เรียกกันทับศัพท์ว่า “การคอรัปชั่น”   สำหรับคนแต่ละกลุ่มการ “คอรัปชั่น” ที่ร้ายแรงและต้องกำจัดอาจมีน้ำหนักในแต่ละประเด็นต่างกัน

  • บางกลุ่มจะขจัดคนที่คอรัปชั่นเงินทอง
  • บางกลุ่มอาจจะอยากขจัดคนที่คอรัปชั่นด้วยการโกหก พูดอย่างทำอย่าง ก็ได้

มันจึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราจึงเถียงกันจนจะฆ่ากันอยู่นี่ว่าทำไมอีกฝ่ายถึง “คิดไม่ได้”  จริงๆไม่ใช่คิดไม่ได้ครับ แต่มนุษย์ย่อมมีวิจารณญาณในการให้ “น้ำหนัก” ต่อเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป แล้วแต่ความจำเป็นเร่งด่วนในชีวิตของแต่ละคน และหลักการในชีวิตของแต่ละคนที่ต่างกันไป

เรามีปัญหาแบบนี้ก็เลือกคนนี้พรรคนี้เข้ามา คนอื่นมีปัญหาอีกแบบก็เลือกพรรคโน้น คนโน้น เข้ามา

ดังนั้นเวลาฝ่ายที่เราเลือกแพ้ ไม่ได้หมายความว่า เราโง่ที่เลือกผิด หรือ คนอื่นโง่ ที่เลือกอีกฝ่าย    แต่มันหมายความว่า ปัญหาที่เรามี พรรคที่เราเลือก ไม่ตรงกับ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศต่างหาก             ลองดูนโยบายของพรรคที่ชนะเลือกตั้งดูนะครับ ว่าเค้าพยายามแก้ปัญหาอะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเผชิญอยู่

ดังนั้นพรรคการเมืองถ้าอยากชนะ ก็เสนอทางแก้ที่ดีกว่า ออกมาครับ หรือเสนอ “หลักการ” ที่มีคนจำนวนมากออกมาสู้

แต่ความสับสนงงงวยอาจเกิดขึ้นหากดูกฎหมายไทยว่าด้วยการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อลองไล่ดูว่า “สิทธิการเลือกตั้ง” อยุ่ ณ ที่แห่งใด จะพบว่า การเลือกตั้งกลายเป็น “หน้าที่” และถูกแยกออกไกลห่างจากสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะ จนเราอาจจะหลงลืมกันไปเสียแล้วว่า
“เราเลือกตั้งกันไปทำไม”

หรือ
“การเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆอย่างไร”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๗๒  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้
ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการ ไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

นั่นหมายความว่า การเลือกตั้งเป็น “วิธีการ” ที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและการดำรงอยู่ของรัฐ หากท่านเทียบกับหน้าที่ต่างๆ ที่อยู่ในหมวดหน้าที่   ดังนั้นการไม่ไปใช้สิทธิ หรือการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องร้ายแรง และมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่ออกตามนัยยะแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนทำได้ตามกรอบแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้ง คือ การไปใช้สิทธิเลือกจะแสดงออกแล้วแต่ใจท่านปรารถนา จะเลือกพรรคใด ใคร หรือกางดออกเสียง ก็แล้วแต่ท่าน

หรืออยากจะแสดงออกถึงการต่อต้าน ก็ยึดแนวทางของ รศ.ดร.ไชยันตร์ ไชยพร ในการฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตร 69 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่ท่านเลือกกำหนด   แทนที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้ที่ “เลือก” ต่างจากท่านครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?