Skip to main content

คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?

ครั้งนี้ เราจะยกเรื่อง เวลาที่มีผลกับกฎหมายมาชำแหละครับ โดยเราจะมาพูดถึงเรื่อง กาละ หรือ “เวลา” ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างครอบคลุม เพื่อให้เห็นว่าเวลามีผลกับกฎหมายอย่างไร หรือกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเวลากันไว้อย่างไรบ้าง   หลังจากที่เคยพูดเรื่อง กฎหมาย กับเวลาพิเศษ(รัฐประหาร) ไปแล้ว

แต่ ครั้งนี้จะเล่าเรื่องเบาๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของทุกท่านมากขึ้นครับ

เมื่อเริ่มเป็นคน กฎหมายก็ไปกำหนดเลยว่า สภาพบุคคลจะมีขึ้นเมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก ครับลักษณะการกำเนิด ผมได้ยินคนที่ไม่ได้เรียนกฎหมายมาท่องให้ฟังประจำเลยฮะว่า เรียนกฎหมายเบื้องต้นมาเหลืออยู่ในหัวแค่นี้ ไม่เป็นไรครับ รู้ว่าเราเป็น “บุคคล” ก็สำคัญที่สุดแล้วครับ เพราะมันจะนำมาซึ่ง “สิทธิ” และ “หน้าที่” เหมือนกับประชาชนคนอื่น   แต่จะแตกต่างกันอย่างไร อาจต้องดูเงื่อนเวลาที่จะว่าต่อไปนี้ครับ

 

วันเวลาสร้างผลทางกฎหมา

เวลากลางวัน กลางคืนนี่มีผลกับคดีทางอาญามากเลยนะครับ ความผิดบางฐานจะต้องได้รับโทษเพิ่มขึ้นเมื่อกระทำในเวลากลางคืน เช่น การบุกรุก  ก็เข้าใจได้ง่ายๆเลยนะครับ เพราะการบุกรุกในยามวิกาลเนี่ย อันตรายมันก็เยอะ ความเสี่ยงต่อเจ้าของบ้านก็สูง ใครเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ต้องรับโทษมากกว่ากลางวัน

การเข้าตรวจค้นของเจ้าพนักงานก็เหมือนกันนะครับ โดยหลักแล้วจะต้องเข้าขอตรวจค้นตามหมายศาลในเวลากลางวัน คือ ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน และหลังพระอาทิตย์ขึ้น ไม่อย่างนั้นการเข้าตรวจค้นจะไม่มีผลทางกฎหมาย และอาจนำไปสู่การฟ้องร้องให้เจ้าพนักงานรับผิดเพิ่มเติมด้วย

นอกจากนี้ วันที่เรานับตามสากลตั้งแต่ 00:01-24:00 น. ก็ยังเป็นการนับจำนวนวัน 1 วัน ด้วย ไม่ใช่เริ่มที่ 6:00 น. แบบการดูดวงไทยนะครับทุกท่าน   ดังนั้นการนับวัน สัญญา จำคุก คุมขัง ที่มีระยะเวลาก็จะนับกันตามนี้

หากมีการเขียนว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ก็จะครบเดือนใหม่ในวันที่ 6 ของเดือนถัดไปครับ   หากจะครบปีก็จะนับถึงวันที่ 6 เดือนเดียวกันของปีถัดไป นะครับ ก็เข้าใจกันง่ายๆอย่างนี้

 

กฎหมายมากำหนดเวลา

            วันเวลาก็เดินไปเรื่อยๆ หากไม่มีการกะเกณฑ์อะไรเลย ก็จะมีผลต่อการนับและกำหนดผลของการกระทำหลายๆอย่าง เช่น ใครจะมีอำนาจตัดสินใจเต็มในชีวิต เราจะมีเวลานานเท่าไหร่ในการตัดสินใจ หรือคู่ความจะมีเวลามากน้อยเพียงไรในการฟ้องร้องกัน   กฎหมายแต่ละประเทศจึงต้องกำหนด “เวลา” ตามแต่วัฒนธรรมของตน   แต่ก็ยังมีเวลาบางอย่างที่ทั่วโลกพยายามผลักดันให้เป็นสากล เช่น ไม่ควรมีโทษประหารชีวิตผู้เยาว์ที่อายุไม่เกิน 20 ปี เป็นต้น 

การบรรลุนิติภาวะในประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 20 ปี มีผลให้คนปลดแอกตัวเองจากพ่อแม่ผู้ปกครอง อยากจะเข้าผับดื่มเหล้าอะไรก็ได้เต็มที่ แต่ก็มีกฎหมายมากำหนดเวลาในการประกอบกิจการเหล่านั้นด้วย แต่นั่นก็เป็นเรื่องเล็กๆ   เมื่อเทียบกับกิจกรรมทั้งหลายอีกมากมายที่เปิดโอกาสให้ผู้บรรลุนิติภาวะได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง

สงสัยอยู่หน่อย คือ ทำไม  อายุ 18 ปี เลือกตั้งกำหนดอนาคตประเทศและชีวิตคนอื่นได้แต่ยังกำหนดอนาคตตนเองหลายๆ เรื่องไม่ได้ ตั้งแต่แต่งงานเอง ทำสัญญา ซึ่งเกี่ยวกับการทำมาหากินเลี้ยงชีพ

แต่ที่ต้องระมัดระวังสำหรับสุภาพบุรุษ คือ การคบหาดูใจแล้วอาจจะชักนำหญิงหายไปจากผู้ปกครอง แม้จะได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว แต่อาจมีคดีพรากผู้เยาว์ติดตัวได้ หากอายุยังไม่เกิน 18 ปี แต่ก็เห็นคดีต่อเนื่องเกี่ยวกับเพศ ก็ยังมีการยกเหตุ “ภาพลักษณ์” เกินผู้เยาว์มาสู้อยู่เนืองๆ บอกว่าเรื่องของเรื่อง เนื้อตัวร่างกายอาจเข้าใจผิดได้ว่า อายุเกินแล้ว

 

เวลาไม่คอยท่า อย่าทำอะไรเมื่อสายเกินไป

หากอะไรต่อมิอะไรอยู่ยั้งยืนยงตลอดกาล ก็คงสับสนอลหม่านน่าดู เพราะอะไรที่ดูเป้นอดีตก้จะกลับมามีผลในปัจจุบัน ทั้งที่เจ้าตัวผู้ประกาศคำมั่นอาจจะลืมสัญญาไปเสียแล้ว

กฎหมายจึงมากำหนดระยะเวลาในการ “ให้คำมั่น” เสนอข้อสัญญา และบอกว่าจะต้องใช้โอกาสภายในวันเวลาที่เหมาะสมในการตอบสนอง  หากปล่อยเนิ่นนานไปจะมาขอทำสัญญา ก็อาจจะต้องเริ่มข้อเสนอใหม่เพื่อให้อีกฝ่ายตัดสินใจอีกครั้ง   เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนใจคนก็เปลี่ยนไปตามเงื่อนไขทั้งหลายที่แวดล้อมไปด้วย เช่น ต้นทุนเปลี่ยน หรือมีคนอื่นมาตัดหน้าทำสัญญาไปก่อนแล้ว

เหมือนที่ไข่ย้อยดันมาบอกว่า

“ดา กานดา ชั้นรักแกว่ะ” ในวันที่ช้าเกินไปจน เธอต้องตอบกลับไปว่า

“แล้วแกมาทำอะไรเอาตอนนี้”   เพราะว่าเธอมีแฟนไปแล้วนั่นเอง  เฮ่อออ... มาคิดได้ก็สายเกินไปไม่ทันแล้วล่ะครับ

นอกจานั้น กฎหมายยังป้องกันการเกิดคดีล้นโรงล้นศาลจนภาระงานของกระบวนการยุติธรรมมาเกินไปจนจัดการไม่ไหว ด้วยการกำหนดให้ประชาชนผู้มีปัญหา ต้องนำคดีความมาฟ้องร้องตามเงื่อนเวลาที่กฎหมายกำหนด  แม้จะเคยพูดก่อนหน้านี้ว่ามีกรณีอาชญากรรมระหว่างประเทศที่ไม่มีอายุความ ก็ด้วยเหตุที่มันเป็นการละเมิดสิทธิร้ายแรง   แต่คดีส่วนใหญ่ในโลกนี้มี “อายุความ”

กฎหมายกำหนดอายุความในหลายกฎหมาย เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มักจะบอกว่า คู่ความต้องฟ้องร้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้ หรือ 10 ปีนับแต่วันที่เหตุการณ์เกิด   หรือกฎหมายอาญาบอกว่าความผิดฐานนี้มีอายุความ 20 ปีเป็นต้น   จนมีคนนำไปแต่งเป็นนิยายขายดี ว่าด้วยนักโทษหนีคดีที่มามอบตัวในวันสุดท้ายก็มีอยู่ประจำ   เพราะถ้ามันผ่านไปกฎหมายก็ทำอะไรไม่ได้

หากมีการฟ้องร้องกันในคดีแพ่งฯ หรือมีการชำระหนี้บางส่วน หรือเริ่มชดเชยความเสียหายไปแล้วอายุความก็จะสะดุดหยุดลง หากมีปัญหาเบี้ยวกันก็เริ่มนับอายุความกันใหม่    

ถ้ามีการฟ้องร้องในคดีอาญา หรือเข้าสู่กระบวนการระงัข้อพิพาททางเลือกต่างๆทางแพ่งฯ อายุความก็จะสะดุดหยุดอยู่  ไม่ต้องนับเวลาต่อไปจนหมดอายุความนั่นเอง

ดังนั้นคดีความต่างๆ จึงต้องระมัดระวังการฟ้องร้องให้อยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดอายุความไว้

ต่างจากคดีอาชญากรรมร้ายแรงพวก ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ที่ผู้ก่ออาชญากรรมทำความผิดเมื่อไหร่ ก็ยังตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลไปตลอดกาล

 

อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

กฎหมาย เป็น กติกา ที่ต้องตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อว่าคนในสังคมจะได้รู้ว่าหากทำอะไรจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร เพื่อชั่งใจก่อนตัดสินใจกระทำ เพราะหากทำลงไปแล้ว เขาจะต้องรับผลของกฎหมายเอง   โดยเฉพาะกฎหมายที่มีผลร้าย

คนทั้งสังคมจะคาดเดาได้ล่วงหน้าว่า “อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ”   กฎหมายที่มีโทษ(ผลร้าย)ทั้งหลายจึงสร้างขึ้นไว้เพื่อที่จะบอกคนในสังคมด้วยว่า “ถ้าไม่ห้ามหรือกำหนดโทษไว้ก็ทำได้ แต่ต้องไม่ทำอะไรที่กฎหมายบอกว่าผิดและกำหนดโทษ”   ดังนั้นจึงมีสุภาษิตกฎหมายว่า “ห้ามอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย” แม้หลายกรณีอาจจะมีข้อโต้แย้งว่า ใครจะรู้กฎหมายทั้งหมดล่ะ ก็ใช่ครับ มันคือปัญหาของการแพร่ข้อมูลทางกฎหมาย

การบอกล่วงหน้าถึงผลของการกระทำตามกติกาของสังคม คือ การบอกว่านับแต่นี้เป็นต้นไปจะต้องเลี้ยงตัวอยู่ในกรอบขอบเขตแค่ไหน ซึ่งนำไปสู่การฝึกฝนขัดเกลา ปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบสังคม

ถ้าย้อนหลังไป ไม่ได้ตั้งตัว ไม่รู้ว่าเป็นความผิด แล้วเกิดความผิดติดตัว ก็ทำให้สังคมนั้นอยู่ด้วยความ "หวาดกลัว"

ดังที่เคยมีการถกเถียงกันมากว่า การกำหนดผลร้ายทางกฎหมายย้อนหลังไปสู่การการทำกระทำที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต จะเป็นธรรมกับคนที่ไม่รู้มาก่อนว่าการกระทำของตนจะมีผลร้ายขนาดนั้นหรือไม่   เช่น กรณีคณะรัฐประหาร 2549 ออก ประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 กำหนดให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบต้องเสียสิทธิในการลงรับสมัครเลือกตั้งไป 5 ปี   จึงมีข้อถกเถียงกันมากในประเด็นนี้ว่า สมควรแล้วหรือที่จะให้กฎหมายมาตัดสิทธิมีผลร้ายกับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายของคณะรัฐประหารเช่นว่า

            เปรียบเสมือนคนมีแฟนขี้หึง ที่คู่รักมักจะล้วงลึกกลับไปดึงสิ่งที่เกิดในอดีตมาไล่บี้ ชนิดที่ยังงง และสงสัยว่า อะไรที่เกิดขึ้นก่อนพบกับคุณ ทำไมมันต้องมามีผลตัดสินเราในปัจจุบันด้วย   เพราะไม่รู้จะช่วยแก้ไขให้สบายใจอย่างไร ในเมื่อตอนที่เราทำยังไม่รู้เลยว่าจะได้มาคบกับคุณ

            หลักกฎหมายสำคัญจึงบอกห้ามบังคับใช้กฎหมายที่มีผลร้ายกับการกระทำในอดีต หรือที่เรียกว่าหลัก “ห้ามใช้กฎหมายย้อนหลัง” ซึ่งเป็นกฎเหล็กที่ต้องยึดถือตลอดเวลาแม้ในยามศึกสงคราม หรือสถานการณ์ฉุกเฉินใดๆก็ตาม

หากอดีตตามมาหลอกหลอนได้ ปัจจุบันก็ต้องอยู่ด้วยความกระวนกระวาย และคงไม่มีกระจิตกระใจไปพัฒนาตัวเองต่อไปในอนาคต  
เฉพาะกฎหมายที่เป็นผลดีเท่านั้นจึงมีผลไปในอดีต เพื่อปลดแอกคนได้ เช่น การยกเลิกกฎหมายอาญาแล้วปล่อยนักโทษที่เคยทำผิดกฎหมายข้อนั้น

หรือ การนิรโทษกรรมที่เป็นธรรมกับสามัญชน ที่มีผลในการลดความขัดแย้งทางสังคมแบบ คำสั่งที่ 66/2523 เป็นต้น

 

ในช่วงบั้นปลายของชีวิต กฎหมายก็จะบอกว่าเวลาในชีวิตของบุคคลจบลงด้วยการ “ตาย” เมื่อก้านสมองไม่ทำงาน

ส่วนกฎหมายก็จะตายเมื่อยกเลิกกฎหมาย หรือมีกฎหมายเรื่องเดียวกันฉบับใหม่ออกมาทับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว