Skip to main content

เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลายท่านเตือนไว้ว่าการใช้บัตรเครดิตอาจทำให้ฟุ่มเฟือยใช้เงินเกินตัว แต่ลองดูบริษัทห้างร้านสมัยนี้สิครับวาเหมือนจะบังคับให้เราใช้บัตรเครดิตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ การจองตั๋วเครื่องบิน หรือเช่ารถยนต์ หลายครั้งก็ต้องมีบัตรเครดิตไว้รูดประกันวงเงินความเสียหาย ถ้าไม่มีบัตรก็อดเช่ารถหรือซื้อตั๋วเครื่องบิน ไหนจะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่ทำงานธนาคารมาขอร้องให้ช่วยเปิดบัตรเครดิตไว้บอกว่าไม่ใช้ก็ได้แต่ก็มีจดหมายมาให้สิทธิพิเศษไขว้กับโปรโมชั่นของบริษัทห้างร้านมากมายแล้วจะไม่ลองใช้ได้อย่างไรล่ะครับ แต่ประเด็นนึงที่คนจำนวนมากไม่กล้าใช้บัตรเครดิตหรือธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตหรืออีแบงกิ้ง อีมันนี่ หรืออีคอมเมิร์ซ ในประเทศไทยมากนักก็เพราะ มีเหตุการณ์ชวนให้กังวลเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สินและข้อมูลดังที่จะเล่าต่อไปนี้นี่ล่ะครับ   ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นเลยว่า ถ้าประชาชนรู้สึกไม่ปลอดภัยก็ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรเครดิตหรือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์   ลองไปฟังเรื่องของครอบครัวนี้กันเลยครับ

“ขณะเวลาประมาณ 16.00 น. ข้าพเจ้าและแม่ช่วยกันหยิบของที่ซื้อออกจากรถเข็นของห้างสรรพสินค้าใส่ท้ายรถเพื่อเตรียมกลับบ้านหลังจากเหนื่อยกับการเดินจับจ่ายมาครึ่งวัน ด้วยความประมาทของแม่ที่มัวแต่รีบขนของเพื่อขับรถออกไปเพราะมีรถอีกคันรอจะจอดต่ออยู่ จนได้ลืมกระเป๋าเงินทิ้งไว้ในรถเข็น   พอมาถึงบ้านก็ยุ่งอยู่การทำกับข้าวเลี้ยงญาติพี่น้องที่มักจะมาพบปะสังสรรค์กันในทุกวันอาทิตย์กว่าจะเก็บล้างเสร็จก็ดึกดื่น กระทั่งต้องออกไปทำงานในเช้าวันจันทร์นึกขั้นได้ว่าในวันรุ่งขึ้นว่าได้ลืมกระเป๋าเงินทิ้งไว้ แม่จึงรีบโทรศัพท์ไปอายัดบัตรเครดิต เมื่อสอบถามยอดการชำระเงินพบว่าตั้งแต่ เวลา 16.00 ของวันอาทิตย์ -8.00 น. ของวันจันทร์ ได้มีการใช้วงเงินไป 29,000 บาท ซึ่งแน่นอนวาแม่ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนใช้บัตรนั้นเลย เนื่องจากอยู่บ้านตลอด

แม่จึงรีบไปแจ้งความเพื่อติดตามหาคนร้ายและเอาเงินที่เขารูดใช้ไปกลับมาให้ได้ จากนั้นเป็นเวลาหนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ตำรวจก็สามารถติดตามคนร้ายจากกล้องวงจรปิดจากทางห้างสรรพสินค้า ซึ่งก็ได้จับภาพคนร้ายและป้ายทะเบียนรถของคนร้ายไว้ได้ แต่หลังจากนั้น 3-4 วันผ่านไป ตำรวจกลับบอกว่าแม่ข้าพเจ้าว่ายังไม่สามารถระบุตัวคนร้ายได้ทั้งๆที่ตำรวจก็รู้ตัวคนที่เอาบัตรเครดิตไปแล้ว อีกทั้งยังเกลี้ยกล่อมให้แม่ข้าพเจ้ายอมความกับคดีนี้ โดยต้องเสียเงินจำนวนหนึ่งให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในการไปพูดคุยกับทางธนาคาร  ซึ่งทางครอบครัวข้าพเจ้าก็ยอมตกลงตามนั้น เพราะทางบริษัทบัตรเครดิตนั้นยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหายแก่แม่ข้าพเจ้า

คดีนี้ก็จบลงในที่สุด แต่ที่น่าสงสัยคือ เมื่อรู้ตัวคนร้ายแน่ชัดแล้วทำไมถึงไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาลงโทษได้ และหากไม่ทำตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจทำให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิตครอบครัวของข้าพเจ้าหรือไม่ วิธีแก้ไขในขณะนั้นคือ ครอบครัวข้าพเจ้าปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกประการ โดยให้เรื่องจบอย่างสงบ เพราะไม่อาจทราบได้ว่าถ้าหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วจะต้องพบกับปัญหาใดหรือไม่  แสดงให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และกฎหมายไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้เสมอไป”

ครับ เรื่องนี้ก็จบลงไปด้วยประการฉะนี้ แต่ที่น่าสนใจ คือ เหตุการณ์นี้ทำให้ครอบครัวดังกล่าวเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลยนะครับ เพราะนอกจากจะกลับว่าจะมีใครมาขโมยวงเงินไปใช้แล้ว ยังรู้สึกแย่ที่พอมีปัญหาแล้วต้องตามมาแก้ไขแถมเสียเงินเสียทองเพื่อให้เรื่องจบลงไปทั้งที่คนเอาเงินไปใช้ก็ไม่ใช่เรา แถมการใช้บัตรเครดิตก็มีธนาคารมาชัดชวนให้ทำ แต่พอมีปัญหาทุกคนก็หายไปไม่มาช่วยแก้ไขปัญหาให้เลยสักนิด ชวนให้คิดว่า เขาเป็นคนสำคัญเฉพาะตอนที่จะนำเงินไปให้ใช่ไหม พอมีอะไรเลวร้ายก็ทิ้งกันไปทันที

วิเคราะห์ปัญหา

1.             หากมีคนนำบัตรเครดิตของเราไปใช้จ่ายโดยที่เราไม่อนุญาต จะเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่

2.             ใครจะต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้น

3.             หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับบัตรเครดิต ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผู้ที่นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

4.             ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัตรร้องดำเนินการอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น

5.             ประชาชนผู้เสียหายต้องเสียเงินให้เจ้าพนักงานจัดการคดีให้หรือไม่ การเรียกรับเงินเป็นความผิดรึเปล่า

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             หากมีคนนำบัตรเครดิตของเราไปใช้จ่ายโดยที่เราไม่อนุญาต จะเป็นความผิดตามกฎหมายเนื่องจากมิได้เกิดจากความยินยอม และต้องรับผิดทางอาญาจากการกระทำโดยทุจริตนั้นด้วย

2.             ผู้ที่นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้นบวกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ใช้

3.             หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับบัตรเครดิต สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผู้ที่นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และเหตุการณ์เกิดในบริษัทห้างร้านไหนก็ต้องให้ความร่วมมือติดตามคนร้ายด้วยเช่นกัน

4.             ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัตรร้องดำเนินการอายัดบัตรทันที และแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอจากเจ้าของบัตรหรือห้างร้านก็อาจร้อง สคบ. ได้เพิ่มเติมอีกด้วย

5.             ประชาชนผู้เสียหายไม่ต้องเสียเงินให้เจ้าพนักงานจัดการคดีเนื่องจากเป็นหน้าที่ตามกฎหมายในการบริการประชาชนอยู่แล้ว การเรียกรับเงินเป็นความผิดทางวินัยและอาญาอย่างร้ายแรง

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             เมื่อเกิดเหตุการณ์ให้ติดต่อสถาบันผู้ออกบัตรทันที

2.             แจ้งความดำเนินคดีกับผู้นำบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตที่สถานีตำรวจใกล้บ้านหรือเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ

3.             หากสถาบันการเงินหรือห้างร้านเจ้าของพื้นที่ เจ้าของกล้องไม่ให้การดูแลอาจร้องเรียน สคบ.ในพื้นที่ หรือสคบ.กลางมาดูควบคุมแลหรืออกกฎมาเพิ่มเติมได้

4.             การเรียกรับเงินของเจ้าพนักงานให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชา หรือร้องเรียนไปยัง ปปช.

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักเจ้าของกิจการและธุรกิจผู้เป็นเจ้าของข้อมูลและเทคโนโลยีมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา และเจ้าพนักงานต้องดำเนินการจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีและชดเชยความเสียหาย   ซึ่งกรณีนี้เมื่อแจ้งความแล้วตำรวจต้องดำเนินการโดยสถาบันการเงินเจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้ให้หลักฐานรวมถึงอาจขอความร่วมมือจากห้างเจ้าของพื้นที่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้าและมีกล้องบันทึกภาพช่วยติดตามให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การดำนินคดีทางอาญาและชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย   ส่วนการร้องเรียนตำรวจให้ร้องไปสู่ผู้บังคับบัญชา หรือ ปปช.


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว