Skip to main content

ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?

คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ

1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"

2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง

ความเป็น “คน” ในระบบกฎหมายไทย และกฎหมายสากลที่ผูกพันรัฐไทย

ความเป็น "คน" กับสิทธิในการเลือกตั้งอยู่ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนและรองรับสิทธิของประชาชนไทยตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

“ ข้อ 21.

(1) บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่งผ่านการเลือกอย่างเสรี

(2) บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน

(3) เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรีที่คล้ายคลึงกัน”

ซึ่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีผลผูกพันรัฐไทยในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เนื่องจากรัฐไทยได้ยึดถือและปฏิบัติตามเสมอมาทั้งในการแสดงตนในเวทีระหว่างประเทศ และการรับหลักการสิทธิมนุษยชนเข้ามาอยู่ในระบบกฎหมายไทย ผ่านทางรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐไทยยังเป็นภาคีสมาชิกของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง โดยมีการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาและอนุวัติการออกมาเป็นพระราชาบัญญัติบังคับใช้ในกระบวนการทางกฎหมายทุกระดับของรัฐ

ซึ่งสิทธิในการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ นั้นกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ระบุไว้ใน
“ข้อ 25.

พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ ๒ และโดยปราศจากข้อจำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค”

ครับ ประชาชนต้องได้ใช้เลือกตั้งโดย

  •  เสรี (ไม่ถูกกีดกัน ขัดขวาง หรือบังคับข่มขืนใจ)
  • ลับ (มีความปลอดภัย และมีความเป็นส่วนตัว ได้รับการปกป้อง)  และ
  • เป็นวาระ (จะต้องมีการเปลี่ยนชุดผู้แทนทุกกี่ปีก็ว่าไป เพื่อให้ตัดสินใจกันใหม่หลังดูฝีมือกันมาระยะหนึ่ง)

แต่ งง ไหมครับ ทำไมมันอยู่ในข้อเดียวกับ สิทธิในการใช้บริการสาธารณะ?

ในโลกตะวันตกซึ่งเป็นต้นทางของระบบกฎหมายสมัยใหม่และประชาธิปไตย การเลือกตั้ง คือ การเลือกคนมาจัดบริการสาธารณะตรงไปตรงมา   ดังนั้น การเลือกผู้แทน พรรค หรือไปถึงขั้นเลือกผู้แทน หรือรัฐบาล ย่อมมาจากเสียงของประชาชน   ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาจึงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะมีที่มาจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศ จะเลือก "คนเก่ง" หรือ "คนดี" ก็แล้วแต่ท่านครับ

เพราะแต่ละคนมีปัญหาในชีวิตต่างกัน ต้องการคนเข้ามาแก้ปัญหาหรือเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ท่านไม่เหมือนกัน

คนบางกลุ่มอาจจะชอบคนทำงานรวดเร็ว ถึงลูกถึงคุณ รับปากแล้วทำ   บางกลุ่มอาจไม่ได้ต้องการเช่นนั้น อาจต้องการคนที่เป็นปากเป็นเสียงมีวาจาเชือดเฉือน หรือมีภาพลักษณะดี เลือกแล้วภูมิใจ เพราะพูดได้ถึงใจ สะใจ แล้วยังดูดีมีสง่าอีกต่างหาก   ก็ว่ากันไปครับ

รวมไปถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือที่เรียกกันทับศัพท์ว่า “การคอรัปชั่น”   สำหรับคนแต่ละกลุ่มการ “คอรัปชั่น” ที่ร้ายแรงและต้องกำจัดอาจมีน้ำหนักในแต่ละประเด็นต่างกัน

  • บางกลุ่มจะขจัดคนที่คอรัปชั่นเงินทอง
  • บางกลุ่มอาจจะอยากขจัดคนที่คอรัปชั่นด้วยการโกหก พูดอย่างทำอย่าง ก็ได้

มันจึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราจึงเถียงกันจนจะฆ่ากันอยู่นี่ว่าทำไมอีกฝ่ายถึง “คิดไม่ได้”  จริงๆไม่ใช่คิดไม่ได้ครับ แต่มนุษย์ย่อมมีวิจารณญาณในการให้ “น้ำหนัก” ต่อเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป แล้วแต่ความจำเป็นเร่งด่วนในชีวิตของแต่ละคน และหลักการในชีวิตของแต่ละคนที่ต่างกันไป

เรามีปัญหาแบบนี้ก็เลือกคนนี้พรรคนี้เข้ามา คนอื่นมีปัญหาอีกแบบก็เลือกพรรคโน้น คนโน้น เข้ามา

ดังนั้นเวลาฝ่ายที่เราเลือกแพ้ ไม่ได้หมายความว่า เราโง่ที่เลือกผิด หรือ คนอื่นโง่ ที่เลือกอีกฝ่าย    แต่มันหมายความว่า ปัญหาที่เรามี พรรคที่เราเลือก ไม่ตรงกับ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศต่างหาก             ลองดูนโยบายของพรรคที่ชนะเลือกตั้งดูนะครับ ว่าเค้าพยายามแก้ปัญหาอะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเผชิญอยู่

ดังนั้นพรรคการเมืองถ้าอยากชนะ ก็เสนอทางแก้ที่ดีกว่า ออกมาครับ หรือเสนอ “หลักการ” ที่มีคนจำนวนมากออกมาสู้

แต่ความสับสนงงงวยอาจเกิดขึ้นหากดูกฎหมายไทยว่าด้วยการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อลองไล่ดูว่า “สิทธิการเลือกตั้ง” อยุ่ ณ ที่แห่งใด จะพบว่า การเลือกตั้งกลายเป็น “หน้าที่” และถูกแยกออกไกลห่างจากสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะ จนเราอาจจะหลงลืมกันไปเสียแล้วว่า
“เราเลือกตั้งกันไปทำไม”

หรือ
“การเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆอย่างไร”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๗๒  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้
ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการ ไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

นั่นหมายความว่า การเลือกตั้งเป็น “วิธีการ” ที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและการดำรงอยู่ของรัฐ หากท่านเทียบกับหน้าที่ต่างๆ ที่อยู่ในหมวดหน้าที่   ดังนั้นการไม่ไปใช้สิทธิ หรือการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องร้ายแรง และมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่ออกตามนัยยะแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนทำได้ตามกรอบแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้ง คือ การไปใช้สิทธิเลือกจะแสดงออกแล้วแต่ใจท่านปรารถนา จะเลือกพรรคใด ใคร หรือกางดออกเสียง ก็แล้วแต่ท่าน

หรืออยากจะแสดงออกถึงการต่อต้าน ก็ยึดแนวทางของ รศ.ดร.ไชยันตร์ ไชยพร ในการฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตร 69 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่ท่านเลือกกำหนด   แทนที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้ที่ “เลือก” ต่างจากท่านครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า