Skip to main content

                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และคุกคามประชาธิปไตย อย่างร้ายแรง

                กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เป็น ซากอารยธรรมที่เหลือค้างมาตั้งแต่ก่อนประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง   ตัวกฎหมายมีเนื้อหาที่ จำกัดสิทธิ และขัดกับระบอบประชาธิปไตยมาก   ซึ่งจะขอเล่าให้เข้าใจกันง่ายๆ ดังนี้

1)      การประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นของฝ่ายทหารโดยแท้ ครั้งนี้ ผบ.ทบ. ประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยไม่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ

2)      การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เป็นอำนาจของฝ่ายทหาร  หากจำได้สมัยอดีตนายกฯสมัคร เคยประกาศกฎอัยการศึก   แต่ ผบ. ในขณะนั้นแถลงออกโทรทัศน์ว่าจะไม่ใช้อำนาจใดๆ ในการยุติความรุนแรง    แต่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์และรองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ  กองทัพใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามการชุมนุมจนทำให้ผู้ชุมนุม และผู้ไม่เกี่ยวข้อง ตาย! เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน คนเร่ร่อน ฯลฯ

3)      อำนาจในการออกกฎหมายลูกมาจำกัดสิทธิเพิ่มเติมอยู่ในมือของฝ่ายทหาร เช่น การประกาศห้ามออกอากาศ ห้ามเสนอข่าว ห้ามเดินทาง ห้ามอยู่อาศัย ไปจนถึงการยึดสถานที่ต่างๆ   อันเป็นการจำกัดสิทธิอย่างร้ายแรง โดยไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล   ลองเทียบกับรัฐบาลพลเรือน หากจะออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิประชาชนต้องผ่าน รัฐสภา ซึ่งมีการอภิปราย ตรวจสอบหลายขั้นตอน

4)      การกีดกันกระบวนการยุติธรรมออกไปจากพื้นที่ เพราะให้อำนาจทหารตั้งป้อม สร้างด่าน ตรวจกัก ตรวจค้น   ที่ต่างจากการตั้งด่านปกติที่ต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดชัดเจน    ทั้งยังมีอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล  และยืดเวลาฝากขังโดยไม่ต้องไปพบศาลได้ยาวนานกว่าปกติมาก แถมยังต่อเวลาได้อีกด้วย   ต่างจากรัฐธรรมนูญและกฎวิธีพิจารณาความอาญา

5)      การเลือกระงับสิทธิของประชาชนบางพื้นที่/บางเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและรายละเอียดที่แน่ชัด ทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นเสียสิทธิหลายประการเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น  คนในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นผู้รับเคราะห์บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เท่ากับพี่น้องใน 3-4 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ต้องอยู่กับภาวะนี้ยาวนาน  ครั้งนี้ประกาศใช้ทั้งประเทศ เท่ากับ ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา! ทั้งประเทศ!!!

6)      ในบางกรณีไม่มีการระบุแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย มีหลักฐานชี้มูลความผิดเจาะจงไปที่ใคร แต่ใช้การประกาศหว่านคลุมหลายพื้นที่ หลายถนนเพื่อเข้าคุมพื้นที่ แล้วตรวจค้น จับกุม ประชาชาน  ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการจับผิดตัว ยัดหลักฐาน ปรักปรำคนผิด  พูดง่ายๆ  “จับแพะ”   หรือ จัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้ง่ายๆ

7)      การประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกต้องมีพระบรมราชโองการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พูดง่ายๆ รัฐบาลต้องชนกับกองทัพในสถานการณ์ที่รัฐบาลรักษาการกำลังโงนเงน

8)      การยกเว้นโทษและความรับผิดทางกฎหมายทั้งหมด พูดง่ายๆ ถ้าเกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินกับประชาชน/บริษัทห้างร้านใดๆ   ทหารไม่ต้องรับผิดชอบ   แม้ประชาชนผู้เดือดร้อนจะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจโดยทุจริต เลือกประติบัติ เกินสมควรแก่เหตุ  เพราะทหารทำไปเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จากศัตรูภายนอกและภายใน

 

อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่า ภาวะอัยการศึกได้ทำลาย “ความจริง” ลงตั้งแต่แรกเพราะประกาศปิดสื่อได้ทุกรูปแบบ   ทำให้ประชาชนโดนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ยากจะพิสูจน์ความจริง ว่า ประเทศกำลังประสบภัยคุกคามจาก "ศัตรู" ของประเทศ จริงหรือไม่   ฤาแท้จริงเป็นเพียงประชาชนผู้ต้องการใช้สิทธิทางการเมืองแต่ไม่ตรงใจกองทัพ?

โดยศึกนี้มี "ต้นทุน" สูงลิบ คือการทำลายอำนาจของ ฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ลงทันที   โดยมี สิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย เป็น "ดอกเบี้ย"   ที่แพงลิบ!!!

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว