Skip to main content

ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครับ เค้าจะกินนอนตามเวลาธรรมชาติ ไม่เหมือนพวกเราที่นอนดึกตื่นสายเพราะมีไฟฟ้าใช้และก็เผลอดูทีวี เล่นอินเตอร์เน็ต หรือบางคนก็นั่งทำงานอ่านหนังสือจนดึกดื่นเลยทีเดียว   ไฟฟ้าจึงเป็นปัจจับสำคัญมากสำหรับคนยุคนี้ แต่ที่สำคัญกว่าเห็นจะเป็น “ค่าไฟ” นะครับ  ลองไปดูเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการไฟฟ้าแล้วมีปัญหาได้เลยครับ

น้องคนหนึ่งเข้ามาเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดจึงต้องเข้ามาเช่าห้องพักอาศัยอยู่ใกล้ๆมหาวิทยาลัยเพื่อจะได้ใช้เวลาน้อยหน่อยในการเดินทางเพราะเธอไม่ได้ขับรถและขี่มอเตอร์ไซค์ไม่เป็น   หอพักที่เธออยู่ก็สุขสงบดีอ่านหนังสือได้พักผ่อนได้ปกติไม่มีปัญหาอะไร   จนมาวันหนึ่งที่หม้อแปลงของหอพักแห่งนั้นเกิดระเบิดขึ้นมา จึงทำให้หอพักดังกล่าวไม่มีไฟฟ้าใช้ กว่าจะทำการซ่อมกินเวลาไป 4 วัน ในระหว่างนั้นผู้พักอาศัยต้องใช้เทียนไขเป็นแสงสว่าง จากนั้นหม้อแปลงก็เสียอีกมีการซ่อมแซมกันอีกครั้ง เวลาผ่านไปจนถึงสิ้นเดือนมีการเรียกเก็บค่าไฟ ปรากฏว่าค่าไฟพุ่งสูงขึ้น เป็น 4 เท่าจากเดือนก่อน ทั้งที่ห้องพักของน้องที่ถูกเรียกเก็บไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างอื่นนอกจาก หลอดไฟ และพัดลม จึงไปแจ้งเรื่องแก่ผู้ดูแลหอพักแต่กลับถูกเพิกเฉย และค่าใช้ไฟฟ้าก็พุ่งนี้อีกในเดือนที่สอง ผู้พักอาศัยจึงต้องย้ายออก

เรื่องถัดมาเป็นปัญหาของคนในหมู่บ้านที่อยู่ในละแวกเดียวกันสังเกตว่าค่าไฟฟ้าที่บ้านขึ้นราคาผิดปกติจากเดือนก่อนๆ จึงได้ลองไปทวงถามจากการไฟฟ้านครหลวงเขตใกล้บ้านดูจึงพบว่าเพิ่งมีการปรับปรุงระบบมาตรวัดไฟใหม่ หลังจากนั้นไม่นานได้รับคำฟ้องจากการไฟฟ้านครหลวงให้ชำระค่าไฟฟ้าย้อนหลังเป็นเวลาห้าปี รวมเป็นเงินกว่า150,000 บาท ทั้งๆที่เจ้าของบ้านก็ชำระเงินค่าไฟฟ้ามาโดยตลอดกว่า 20 ปี ที่ได้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้มา ไม่เคยค้างแม้แต่เดือนเดียว ทุกเดือนจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละเกือบสามพันบาททุกเดือน   แต่เหตุใดการไฟฟ้าจึงมาทำเช่นนี้กับผู้บริโภคที่ซื่อสัตย์แบบนี้ได้ ในคำฟ้องระบุไว้ชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าไปพบว่า มาตรวัดไฟมีการต่อคร่อมโดยสายโลหะหุ้มฉนวน ทำให้กระแสไฟฟ้าเดินผ่านน้อยกว่าปกติ ทำให้ค่าไฟที่ตรวจวัดก่อนหน้าตรวจพบจะเดินน้อย ทำให้จ่ายค่าไฟน้อยลงแต่สอบถามพี่เค้าแล้วปรากฏว่าไม่เคยทำอะไรอย่างว่าเลย  อีกทั้งมาตรไฟฟ้าของบ้านทุกหลังในหมู่บ้านนี้ก็อยู่นอกรั้วบ้าน   คุณพี่ท่านนี้บอกว่า เรื่องไฟฟ้า ประปาอะไรนี่พี่ไม่รู้เรื่องหรอกจะไปดัดแปลงเอาเองได้ยังไง ไม่ได้เรียนจบวิศวะหรือช่างมานะ เรื่องอะไรจะมาเสี่ยงอันตรายตายกับกับไฟฟ้าแรงสูง ที่สำคัญตัวเองไม่มีความรู้อะไรซักนิดว่ามันทำอย่างนี้กันได้ด้วยเหรอ ขนาดใช้ไดร์เป่าผมยังโดนไฟดูดบ่อยๆ จะมาต่อระบบคร่อมกับมาตรวัดไฟฟ้าอย่างนี้ไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายๆ

พี่เขาก็เลยให้เพื่อนที่เป็นทนายทำคำให้การสู้คดีไป โดยสู้ว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรวัดไฟฟ้า เจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาจดมาตรไฟฟ้าทุกเดือนแต่กลับไม่เห็นมีการต่อคร่อมมาตั้ง 20 กว่าปีแล้ว หากมีการมาจดวัดมาตรทุกเดือนก็น่าจะเห็นตั้งแต่ต้น อีกทั้งหลักฐานที่การไฟฟ้านำมาแสดงต่อศาล แสดงจำนวนการใช้ไฟฟ้าย้อนหลังถึงห้าปีว่า คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปี พ.ศ.2555 โดยพยายามนำสืบว่านับแต่นั้นมามีการใช้ไฟฟ้าน้อยผิดปกติ แต่ที่น่าสงสัยมากก็คือการไฟฟ้าไม่แสดงหลักฐานการใช้ไฟฟ้าก่อนหน้า คือในปี พ.ศ. 2549 เพื่อเทียบเคียงว่า ค่าไฟฟ้าปี 2550 น้อยกว่าจำนวนหน่วยค่าไฟฟ้า ปี 2549 มากน้อยเพียงไร เพื่อเชื่อมโยงว่าค่าไฟฟ้าที่น้อยผิดปกติเกิดจากการต่อคร่อมมาตรวัดกระแสไฟฟ้า ส่วนการไฟฟ้านครหลวงก็นำช่างเทคนิคของการไฟฟ้าเองมาพิสูจน์กันในศาลถึง 2-3 คน เพื่อจะกล่าวหาให้อยู่หมัดว่าพี่เจ้าของบ้านลักลอบคร่อมมาตรวัดจริง จะได้เรียกค่าเสียหายได้เต็มเม็ดเต็มหน่อย                 

และในที่สุดก็มีคำพิพากษาออกมาแล้วว่า ศาลไม่เชื่อว่าหลักฐานการใช้ไฟฟ้าย้อนหลังห้าปีที่การไฟฟ้าอ้างว่าเป็นการใช้ไฟฟ้าของจำเลยนั้นถูกต้อง แต่เชื่อว่ามาตรไฟฟ้ามีการต่อคร่อมจริงดังการนำสืบของการไฟฟ้าและผู้เชี่ยวชาญ ศาลจึงวินิจฉัยว่า จำเลยมีหน้าที่ดูแลมาตรไฟฟ้าของบ้านตน  และพิพากษาให้พี่เค้าชำระหนี้ค่าไฟฟ้าแสนกว่าบาท ซึ่งตอนนี้คุณพี่ก็เดือดดาลมากเลยตั้งคิดว่าจะอุทธรณ์ต่อ เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยพยายามจะชี้ประเด็นว่าถ้าจะให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่ม ก็ควรจะต้องจ่ายเฉพาะเดือนที่พบมาตรไฟฟ้าถูกต่อคร่อม ซึ่งจะทำให้การไฟฟ้าต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเริ่มมีการต่อคร่อมหรือค่าไฟฟ้าลดลงผิดปกติเมื่อไหร่นั่นเอง

เรื่องสุดท้ายในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 มีผู้ร้องเรียนว่าค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมหาศาลทั้งที่ไม่ได้อยู่บ้านโดยการไฟฟ้าออกมาชี้แจงว่า ขั้นตอนการดำเนินการจดหน่วยการใช้ไฟจะทำคร่อมในลักษณะ 2 เดือน คือ จดหน่วยครั้งสุดท้ายในเดือนตุลาคมก่อนน้ำท่วม และไปจดอีกครั้งเดือนธันวาคมที่น้ำลดแล้ว ดังนั้น ระยะเวลาของรอบตัวเลขจริง ๆ เป็นรอบ 60 วัน ทางการไฟฟ้าฯ มาพิจารณาแบ่งหน่วยการใช้ไฟออกเป็น 2 เดือน คือ รอบเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และรอบเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ทั้งนี้ การไฟฟ้ามองในเรื่องของประโยชน์ของผู้ใช้ไฟเป็นหลัก โดยมองว่า หากเก็บรอบเดียว 60 วันอาจถูกคิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า นอกจากนี้ สำหรับกรณีการถูกเรียกเก็บค่าไฟสูงในช่วงที่ถูกน้ำท่วม ทั้งที่ได้ออกจากบ้านมาแล้ว และไม่ได้มีการใช้ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้า ได้ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบพบว่า อาจจะมีปัญหาในเรื่องกระแสไฟฟ้ารั่ว ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ซึ่งตรงนี้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าแจ้งให้การไฟฟ้ามาทำการตรวจสอบมีกรณีเกิดไฟฟ้ารั่วในพื้นที่บ้านหรือไม่ เพื่อให้มีการเก็บค่าใช้ไฟฟ้าที่เป็นธรรม 

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การเช่าหอพักแล้วมีการจัดเก็บค่าไฟเกินจริงเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ เราจะสามารถเรียกร้องให้เก็บตามจริง ไม่มีการเก็บเพิ่มเกินปกติได้หรือไม่

2.             ใครเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลมาตรวัดไฟฟ้า หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับมาตรวัดไฟใครจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและแก้ไข

3.             ค่าไฟฟ้าที่น้อยเกินจริง หรือมากเกินจริง เป็นหน้าที่ใครจะต้องนำสืบ และประชาชนมีสิทธิร้องคัดค้าน เพื่อทักท้วงให้มีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าตามจริงได้หรือไม่

4.             หากผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการให้มีการเรียกเก็บเงินรายเดือนแทนการเก็บแบบคร่อมเดือน จะร้องเรียนเข้ามายังการไฟฟ้าให้มีการเรียกเก็บในอัตราการใช้ไฟฟ้าตามจริงได้หรือไม่

5.             สำหรับกรณีที่หลายท่านเป็นห่วงว่าปีต่อไปน้ำจะท่วมอีกนั้น แล้วเกิดปัญหาไฟรั่วจนค่าไฟขึ้นสูงจะต้องดำเนินการอย่างไร และใครเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การเช่าหอพักแล้วมีการจัดเก็บค่าไฟเกินจริงเป็นความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บริโภคสามารถจะสามารถเรียกร้องให้เก็บตามจริง โดยการขอดูการจดวัดมาตรวัดไฟเปรียบเทียบได้กับใบเสร็จเดือนก่อนๆ

2.             กฎหมายของการไฟฟ้าได้กำหนดให้ประชาชนผู้ขอติดตั้งมาตรวัดไฟเป็นผู้มีหน้าที่ในการดูแลมาตรวัดไฟฟ้า หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับมาตรวัดไฟประชาชนจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบและเรียกให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเข้ามาแก้ไข

3.             ค่าไฟฟ้าที่น้อยเกินจริง หรือมากเกินจริง เป็นหน้าที่การไฟฟ้าจะต้องนำสืบ และประชาชนมีสิทธิร้องคัดค้าน เพื่อทักท้วงให้มีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าตามจริงได้ โดยต้องมีการนำหลักฐานใบเสร็จในรอบบิลต่างๆมายืนยัน

4.             หากผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการให้มีการเรียกเก็บเงินรายเดือนแทนการเก็บแบบคร่อมเดือน จะร้องเรียนเข้ามายังการไฟฟ้าให้มีการเรียกเก็บในอัตราการใช้ไฟฟ้าตามจริงได้

5.             สำหรับกรณีที่หลายท่านเป็นห่วงว่าปีต่อไปน้ำจะท่วมอีกนั้น แล้วเกิดปัญหาไฟรั่วจนค่าไฟขึ้นสูงจะต้องเรียกให้การไฟฟ้ามาดำเนินการยกมิเตอร์ และประชาชนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในเบื้องต้นโดยแจ้งการไฟฟ้ามาจัดการ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้เจ้าของหอพักชำระหนี้ส่วนเกินมาได้หากพิสูจน์แล้วว่าเก็บค่าไฟฟ้าเกินจริง หากเจ้าของหอพักเพิกเฉยหรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

2.             เรื่องไฟรั่ว เก็บค่าไฟเกิน การเก็บค่าไฟย้อนหลังสามารถร้องเรียนไปยังฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) และหน่วยงานในระดับพื้นที่ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

3.             ประชาชนควรเรียกร้องให้ทาง สกพ.จึงมีการพิจารณาออกหลักเกณฑ์ว่า ประชาชนสามารถไปร้องเรียนต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ให้มีการตรวจสอบ และออกบิลเรียกเก็บในอัตราตามจริงได้

4.             หากพบว่ามีความเสี่ยงกระแสไฟฟ้ารั่วให้แจ้งไปยัง กฟน. หรือ กฟภ.มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วไปยกมิเตอร์ให้ได้

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักความผิดเกี่ยวการฉ้อโกงทางอาญา การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งกรณีนี้มีหากมีความชัดเจนเรื่องการมาปรับแต่งมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถทักท้วงเจ้าของหอพัก หรือนำไปฟ้องต่อศาลแพ่งแผนกคดีผู้บริโภค หรือแจ้ง สกพ. และ สคบ.ให้ดูแล หรืออาจใช้กระบวนการทางอาญาโดยไปแจ้งความเรื่องฉ้อโกงต่อตำรวจให้ดำเนินการได้เพื่อลงโทษทางอาญาและเรียกค่าไฟคืนในทางแพ่ง  และเจ้าของมาตรต้องดูแลมาตรวัดไฟฟ้าหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเป็นระยะเมื่อพบความผิดปกติ


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว