Skip to main content

ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?

คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ

1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"

2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง

ความเป็น “คน” ในระบบกฎหมายไทย และกฎหมายสากลที่ผูกพันรัฐไทย

ความเป็น "คน" กับสิทธิในการเลือกตั้งอยู่ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนและรองรับสิทธิของประชาชนไทยตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

“ ข้อ 21.

(1) บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่งผ่านการเลือกอย่างเสรี

(2) บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน

(3) เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรีที่คล้ายคลึงกัน”

ซึ่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีผลผูกพันรัฐไทยในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เนื่องจากรัฐไทยได้ยึดถือและปฏิบัติตามเสมอมาทั้งในการแสดงตนในเวทีระหว่างประเทศ และการรับหลักการสิทธิมนุษยชนเข้ามาอยู่ในระบบกฎหมายไทย ผ่านทางรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐไทยยังเป็นภาคีสมาชิกของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง โดยมีการให้สัตยาบันโดยรัฐสภาและอนุวัติการออกมาเป็นพระราชาบัญญัติบังคับใช้ในกระบวนการทางกฎหมายทุกระดับของรัฐ

ซึ่งสิทธิในการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ นั้นกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ระบุไว้ใน
“ข้อ 25.

พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ ๒ และโดยปราศจากข้อจำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค”

ครับ ประชาชนต้องได้ใช้เลือกตั้งโดย

  •  เสรี (ไม่ถูกกีดกัน ขัดขวาง หรือบังคับข่มขืนใจ)
  • ลับ (มีความปลอดภัย และมีความเป็นส่วนตัว ได้รับการปกป้อง)  และ
  • เป็นวาระ (จะต้องมีการเปลี่ยนชุดผู้แทนทุกกี่ปีก็ว่าไป เพื่อให้ตัดสินใจกันใหม่หลังดูฝีมือกันมาระยะหนึ่ง)

แต่ งง ไหมครับ ทำไมมันอยู่ในข้อเดียวกับ สิทธิในการใช้บริการสาธารณะ?

ในโลกตะวันตกซึ่งเป็นต้นทางของระบบกฎหมายสมัยใหม่และประชาธิปไตย การเลือกตั้ง คือ การเลือกคนมาจัดบริการสาธารณะตรงไปตรงมา   ดังนั้น การเลือกผู้แทน พรรค หรือไปถึงขั้นเลือกผู้แทน หรือรัฐบาล ย่อมมาจากเสียงของประชาชน   ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาจึงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะมีที่มาจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธิในการกำหนดอนาคตของประเทศ จะเลือก "คนเก่ง" หรือ "คนดี" ก็แล้วแต่ท่านครับ

เพราะแต่ละคนมีปัญหาในชีวิตต่างกัน ต้องการคนเข้ามาแก้ปัญหาหรือเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ท่านไม่เหมือนกัน

คนบางกลุ่มอาจจะชอบคนทำงานรวดเร็ว ถึงลูกถึงคุณ รับปากแล้วทำ   บางกลุ่มอาจไม่ได้ต้องการเช่นนั้น อาจต้องการคนที่เป็นปากเป็นเสียงมีวาจาเชือดเฉือน หรือมีภาพลักษณะดี เลือกแล้วภูมิใจ เพราะพูดได้ถึงใจ สะใจ แล้วยังดูดีมีสง่าอีกต่างหาก   ก็ว่ากันไปครับ

รวมไปถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือที่เรียกกันทับศัพท์ว่า “การคอรัปชั่น”   สำหรับคนแต่ละกลุ่มการ “คอรัปชั่น” ที่ร้ายแรงและต้องกำจัดอาจมีน้ำหนักในแต่ละประเด็นต่างกัน

  • บางกลุ่มจะขจัดคนที่คอรัปชั่นเงินทอง
  • บางกลุ่มอาจจะอยากขจัดคนที่คอรัปชั่นด้วยการโกหก พูดอย่างทำอย่าง ก็ได้

มันจึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราจึงเถียงกันจนจะฆ่ากันอยู่นี่ว่าทำไมอีกฝ่ายถึง “คิดไม่ได้”  จริงๆไม่ใช่คิดไม่ได้ครับ แต่มนุษย์ย่อมมีวิจารณญาณในการให้ “น้ำหนัก” ต่อเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป แล้วแต่ความจำเป็นเร่งด่วนในชีวิตของแต่ละคน และหลักการในชีวิตของแต่ละคนที่ต่างกันไป

เรามีปัญหาแบบนี้ก็เลือกคนนี้พรรคนี้เข้ามา คนอื่นมีปัญหาอีกแบบก็เลือกพรรคโน้น คนโน้น เข้ามา

ดังนั้นเวลาฝ่ายที่เราเลือกแพ้ ไม่ได้หมายความว่า เราโง่ที่เลือกผิด หรือ คนอื่นโง่ ที่เลือกอีกฝ่าย    แต่มันหมายความว่า ปัญหาที่เรามี พรรคที่เราเลือก ไม่ตรงกับ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศต่างหาก             ลองดูนโยบายของพรรคที่ชนะเลือกตั้งดูนะครับ ว่าเค้าพยายามแก้ปัญหาอะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเผชิญอยู่

ดังนั้นพรรคการเมืองถ้าอยากชนะ ก็เสนอทางแก้ที่ดีกว่า ออกมาครับ หรือเสนอ “หลักการ” ที่มีคนจำนวนมากออกมาสู้

แต่ความสับสนงงงวยอาจเกิดขึ้นหากดูกฎหมายไทยว่าด้วยการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อลองไล่ดูว่า “สิทธิการเลือกตั้ง” อยุ่ ณ ที่แห่งใด จะพบว่า การเลือกตั้งกลายเป็น “หน้าที่” และถูกแยกออกไกลห่างจากสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะ จนเราอาจจะหลงลืมกันไปเสียแล้วว่า
“เราเลือกตั้งกันไปทำไม”

หรือ
“การเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆอย่างไร”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550ได้บัญญัติไว้ใน

มาตรา ๗๒  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้
ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการ ไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

นั่นหมายความว่า การเลือกตั้งเป็น “วิธีการ” ที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและการดำรงอยู่ของรัฐ หากท่านเทียบกับหน้าที่ต่างๆ ที่อยู่ในหมวดหน้าที่   ดังนั้นการไม่ไปใช้สิทธิ หรือการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องร้ายแรง และมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่ออกตามนัยยะแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนทำได้ตามกรอบแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้ง คือ การไปใช้สิทธิเลือกจะแสดงออกแล้วแต่ใจท่านปรารถนา จะเลือกพรรคใด ใคร หรือกางดออกเสียง ก็แล้วแต่ท่าน

หรืออยากจะแสดงออกถึงการต่อต้าน ก็ยึดแนวทางของ รศ.ดร.ไชยันตร์ ไชยพร ในการฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตร 69 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็แล้วแต่ท่านเลือกกำหนด   แทนที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้ที่ “เลือก” ต่างจากท่านครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต