Skip to main content

ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก

เนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ

                เพราะสองบรรษัทที่เดิมต่างจะแยกกันไปพัฒนาและสร้างระบบของตัวเอง กลับร่วมมือกันยิงโดรนส์ ปล่อยบอลลูน ไปส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงมิให้มีพื้นที่ “สุญญากาศอินเตอร์เน็ต” อีกต่อไป

แน่นอนว่าจะทำให้เกิดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรายใหม่ที่เข้าถึงบริการ และเทคโนโลยีข่าวสาร และในทางกลับกัน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานก็จะไหลเข้าสู่เหมืองข้อมูลของสองบรรษัทด้วย

เมื่อพูดถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญพื้นฐานก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างถ้วนหน้า "Universal Internet Access"  ซึ่งต้องเป็น "ก้าวแรก" และ "สิทธิขั้นพื้นฐาน"

                ไม่อย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า "เสียง" ในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นตัวแทนของ "ปวงชน" อย่างแท้จริง หาไม่แล้วเสียงในอินเตอร์เน็ตก็เป็นเพียง “เสียงของคนจำนวนน้อย” และเพิกเฉยเสียงของคนจำนวนมากไปเสีย

หากในอินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีแต่คนฐานะดีพอจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท้อป ก็ยิ่งตอกย้ำว่า มีความเหลื่อมล้ำและกีดกันมิให้คนที่ฐานะทางเศรษฐกิจมีที่ทางและปากเสียงในโลกออนไลน์

                Facebook ซื้อบรรษัทโดรนส์ก็ถือเป็น “การลงทุน” ที่ผู้ถือหุ้นบรรษัทคาดหวังดอกผล โครงการปล่อยสัญญาณไวไฟฟรีก็ต้องรอเก็บเกี่ยวผลทางใดทางหนึ่ง

Google ที่ทำเรื่องนี้ก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลซื้อเทคโนโลยี บอลลูน ดาวเทียม และโดรนส์ เพื่อส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกล

                ชัดเจนว่า เป็นการลงทุนที่หวังผลทางธุรกิจ และชวนให้คิดว่าเป็นการเดินหมากในการเมืองระหว่างประเทศ รุกเข้าไปในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีมหาอำนาจอื่นใดสนใจนัก

มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก จึงเดินทางไปพูดในที่ประชุมสหประชาชาติกระตุ้นให้รัฐทั้งหลายเปิดน่านฟ้าและลดอุปสรรคทางกฎหมาย เพื่อจะได้เดินหน้าโครงการปล่อยสัญญาณ เหนือ “น่านฟ้า” ของรัฐอื่นๆ นั่นเอง

ในงานเดียวกันมีนายกประเทศหนึ่งไปรับรางวัล เรื่องการส่งเสริมนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างยั่งยืน ด้วยผลงานของรัฐบาลก่อนหน้าที่ตนโค่นไป   UN ให้รางวัลเพราะโครงการแท็ปเล็ตที่ทำให้เยาวชนเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว แต่พอได้รางวัลกลับไปรับเฉยครับ

โครงการพัฒนาถ้ารั่วไหล ก็อุดรูรั่วครั่บ ไม่ใช่ยกเลิก คนเสียประโยชน์คือ ประชาชน เพราะการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในโลกยุคดิจิตอล

 

การลงทุนสร้างเครือข่าย เพื่อให้คนเข้ามาใช้งาน แล้วควบคุมและประมวลข้อมูลของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นก็ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อมูล" อันเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เชิงการตลาดพฤติกรรมผู้ใช้งาน และการปกครอง

ซึ่งสะเทือนไปถึงประเด็น "สิทธิส่วนบุคคล" และ "การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" และเรื่อง "สัญญาสำเร็จรูป" กับ "ใครเป็นเจ้าของข้อมูล" ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหล่านั้น

นอกจากนี้ การเข้าถึงข้อมูลภูมิศาสตร์ แผนที่ และการใช้อินเตอร์เน็ต ก็ถือเป็นรูปหนึ่งของ “ข่าวกรอง” ที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐผู้สนับสนุนโครงการและมีความสัมพันธ์กับบรรษัทสัญชาติตน  ประเทศเจ้าของน่านฟ้าจึงอาจระแวงเรื่องการจารกรรมข้อมูลได้เช่นกัน

ชัดเจนที่สุด คือ ภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และ นิติธรรม อย่างสหภาพยุโรป ก็มีมาตรการปกป้อง "ข้อมูลส่วนบุคคล" โดยกลไกทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
อาจจะเป็นว่า ภูมิภาคนี่อยู่กับสารพัดกลยุทธ์ของ "สายลับ" มานาน  และเชี่ยวชาญการต่อต้านจารกรรมโดยมาตรการกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตน และป้องกันการกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามว่า ตนกีดกันทางการค้า หรือหามาตรการตอบโต้ 
                เราอยู่ในยุคสันติภาพร้อน ที่สงครามสายลับเกิดขึ้นตลอดเวลา

เห็นชัดว่าสหภาพยุโรป จัดหนักบรรษัท IT ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ศาลยุติธรรมยุโรป(ECJ) ได้ยกเลิกข้อตกลง Safe Harbor  ระหว่างสหภาพยุโรป กับ สหรัฐ ในส่วนการกักข้อมูล (Data Retention) ทิ้งแล้ว สืบเนื่องจาก ศาลเพิ่งเพิกถอน EU Data Retention Directive 2006 ที่ขัดกับ สิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights ไปเมื่อ เมษายน 2014

ล่าสุดมีคำพิพากษาศาลฯ สั่ง ห้ามส่งข้อมูลของพลเมืองยุโรปกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์นอกอาณาเขตที่ขาดมาตรการคุ้มครองสิทธิฯ
                ถือเป็นคำพิพากษาสำคัญ ต้อนรับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) กับ บีบให้สหรัฐลงนามใน Umbrella Agreement between US&EU ซึ่งเหลือเพียง 1 ใน 13 ประเด็น ที่ยังตกลงกันไม่ได้ คือ การตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและเยียวยาสิทธิผู้ถูกละเมิด

เบื้องต้น EU ขอให้มี One-Stop-Shop ใน ประเทศต่างๆของ EU เพื่ออำนวยความสะดวกให้พลเมืองฟ้องรัฐ บรรษัท ได้ทันที โดยไม่ต้องจ้างทนายไปฟ้องในต่างแดน
ล่าสุด สหรัฐยอมให้ พลเมืองยุโรปฟ้องในศาลสหรัฐได้ หากพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลโดนละเมิดโดยองค์กรสัญชาติสหรัฐ

อีกประเด็นที่เครียดกันมากก็คือ การดูดกักข้อมูล ซึ่งเดิมบรรษัทเก็บข้อมูลไว้ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงและปราบอาชญากรรมใช้เป็นฐานข้อมูลสืบสวน ซึ่งละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights 2009 จนทำให้ ศาล ECJ มีคำพิพากษาออกมายกเลิกดังที่กล่าวไป
                ถ้าถามว่าประเทศที่ไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีอย่างไทยจะทำอย่างไรต่อไป ก็ต้องเริ่มจาก มีกฎหมายรับรอง “สิทธิในข้อส่วนบุคคล” เพื่อป้องกันการถูกล้วงตับไปฟรีๆ และ ส่งเสริม “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร” ให้ประชาชนได้ประโยชน์จากสารพัดข่าวสารที่อยู่ในโลกออนไลน์

รัฐบาลจึงต้องหาทางเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต มิใช่ ทำให้ถอยหนีด้วย Single Gateway

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ