Skip to main content

ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก

เนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ

                เพราะสองบรรษัทที่เดิมต่างจะแยกกันไปพัฒนาและสร้างระบบของตัวเอง กลับร่วมมือกันยิงโดรนส์ ปล่อยบอลลูน ไปส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงมิให้มีพื้นที่ “สุญญากาศอินเตอร์เน็ต” อีกต่อไป

แน่นอนว่าจะทำให้เกิดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรายใหม่ที่เข้าถึงบริการ และเทคโนโลยีข่าวสาร และในทางกลับกัน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานก็จะไหลเข้าสู่เหมืองข้อมูลของสองบรรษัทด้วย

เมื่อพูดถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญพื้นฐานก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างถ้วนหน้า "Universal Internet Access"  ซึ่งต้องเป็น "ก้าวแรก" และ "สิทธิขั้นพื้นฐาน"

                ไม่อย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า "เสียง" ในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นตัวแทนของ "ปวงชน" อย่างแท้จริง หาไม่แล้วเสียงในอินเตอร์เน็ตก็เป็นเพียง “เสียงของคนจำนวนน้อย” และเพิกเฉยเสียงของคนจำนวนมากไปเสีย

หากในอินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีแต่คนฐานะดีพอจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท้อป ก็ยิ่งตอกย้ำว่า มีความเหลื่อมล้ำและกีดกันมิให้คนที่ฐานะทางเศรษฐกิจมีที่ทางและปากเสียงในโลกออนไลน์

                Facebook ซื้อบรรษัทโดรนส์ก็ถือเป็น “การลงทุน” ที่ผู้ถือหุ้นบรรษัทคาดหวังดอกผล โครงการปล่อยสัญญาณไวไฟฟรีก็ต้องรอเก็บเกี่ยวผลทางใดทางหนึ่ง

Google ที่ทำเรื่องนี้ก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลซื้อเทคโนโลยี บอลลูน ดาวเทียม และโดรนส์ เพื่อส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกล

                ชัดเจนว่า เป็นการลงทุนที่หวังผลทางธุรกิจ และชวนให้คิดว่าเป็นการเดินหมากในการเมืองระหว่างประเทศ รุกเข้าไปในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีมหาอำนาจอื่นใดสนใจนัก

มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก จึงเดินทางไปพูดในที่ประชุมสหประชาชาติกระตุ้นให้รัฐทั้งหลายเปิดน่านฟ้าและลดอุปสรรคทางกฎหมาย เพื่อจะได้เดินหน้าโครงการปล่อยสัญญาณ เหนือ “น่านฟ้า” ของรัฐอื่นๆ นั่นเอง

ในงานเดียวกันมีนายกประเทศหนึ่งไปรับรางวัล เรื่องการส่งเสริมนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างยั่งยืน ด้วยผลงานของรัฐบาลก่อนหน้าที่ตนโค่นไป   UN ให้รางวัลเพราะโครงการแท็ปเล็ตที่ทำให้เยาวชนเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว แต่พอได้รางวัลกลับไปรับเฉยครับ

โครงการพัฒนาถ้ารั่วไหล ก็อุดรูรั่วครั่บ ไม่ใช่ยกเลิก คนเสียประโยชน์คือ ประชาชน เพราะการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในโลกยุคดิจิตอล

 

การลงทุนสร้างเครือข่าย เพื่อให้คนเข้ามาใช้งาน แล้วควบคุมและประมวลข้อมูลของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นก็ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อมูล" อันเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เชิงการตลาดพฤติกรรมผู้ใช้งาน และการปกครอง

ซึ่งสะเทือนไปถึงประเด็น "สิทธิส่วนบุคคล" และ "การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" และเรื่อง "สัญญาสำเร็จรูป" กับ "ใครเป็นเจ้าของข้อมูล" ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหล่านั้น

นอกจากนี้ การเข้าถึงข้อมูลภูมิศาสตร์ แผนที่ และการใช้อินเตอร์เน็ต ก็ถือเป็นรูปหนึ่งของ “ข่าวกรอง” ที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐผู้สนับสนุนโครงการและมีความสัมพันธ์กับบรรษัทสัญชาติตน  ประเทศเจ้าของน่านฟ้าจึงอาจระแวงเรื่องการจารกรรมข้อมูลได้เช่นกัน

ชัดเจนที่สุด คือ ภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และ นิติธรรม อย่างสหภาพยุโรป ก็มีมาตรการปกป้อง "ข้อมูลส่วนบุคคล" โดยกลไกทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
อาจจะเป็นว่า ภูมิภาคนี่อยู่กับสารพัดกลยุทธ์ของ "สายลับ" มานาน  และเชี่ยวชาญการต่อต้านจารกรรมโดยมาตรการกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตน และป้องกันการกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามว่า ตนกีดกันทางการค้า หรือหามาตรการตอบโต้ 
                เราอยู่ในยุคสันติภาพร้อน ที่สงครามสายลับเกิดขึ้นตลอดเวลา

เห็นชัดว่าสหภาพยุโรป จัดหนักบรรษัท IT ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ศาลยุติธรรมยุโรป(ECJ) ได้ยกเลิกข้อตกลง Safe Harbor  ระหว่างสหภาพยุโรป กับ สหรัฐ ในส่วนการกักข้อมูล (Data Retention) ทิ้งแล้ว สืบเนื่องจาก ศาลเพิ่งเพิกถอน EU Data Retention Directive 2006 ที่ขัดกับ สิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights ไปเมื่อ เมษายน 2014

ล่าสุดมีคำพิพากษาศาลฯ สั่ง ห้ามส่งข้อมูลของพลเมืองยุโรปกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์นอกอาณาเขตที่ขาดมาตรการคุ้มครองสิทธิฯ
                ถือเป็นคำพิพากษาสำคัญ ต้อนรับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) กับ บีบให้สหรัฐลงนามใน Umbrella Agreement between US&EU ซึ่งเหลือเพียง 1 ใน 13 ประเด็น ที่ยังตกลงกันไม่ได้ คือ การตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและเยียวยาสิทธิผู้ถูกละเมิด

เบื้องต้น EU ขอให้มี One-Stop-Shop ใน ประเทศต่างๆของ EU เพื่ออำนวยความสะดวกให้พลเมืองฟ้องรัฐ บรรษัท ได้ทันที โดยไม่ต้องจ้างทนายไปฟ้องในต่างแดน
ล่าสุด สหรัฐยอมให้ พลเมืองยุโรปฟ้องในศาลสหรัฐได้ หากพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลโดนละเมิดโดยองค์กรสัญชาติสหรัฐ

อีกประเด็นที่เครียดกันมากก็คือ การดูดกักข้อมูล ซึ่งเดิมบรรษัทเก็บข้อมูลไว้ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงและปราบอาชญากรรมใช้เป็นฐานข้อมูลสืบสวน ซึ่งละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights 2009 จนทำให้ ศาล ECJ มีคำพิพากษาออกมายกเลิกดังที่กล่าวไป
                ถ้าถามว่าประเทศที่ไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีอย่างไทยจะทำอย่างไรต่อไป ก็ต้องเริ่มจาก มีกฎหมายรับรอง “สิทธิในข้อส่วนบุคคล” เพื่อป้องกันการถูกล้วงตับไปฟรีๆ และ ส่งเสริม “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร” ให้ประชาชนได้ประโยชน์จากสารพัดข่าวสารที่อยู่ในโลกออนไลน์

รัฐบาลจึงต้องหาทางเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต มิใช่ ทำให้ถอยหนีด้วย Single Gateway

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม