Skip to main content

ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลก

เนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ

                เพราะสองบรรษัทที่เดิมต่างจะแยกกันไปพัฒนาและสร้างระบบของตัวเอง กลับร่วมมือกันยิงโดรนส์ ปล่อยบอลลูน ไปส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงมิให้มีพื้นที่ “สุญญากาศอินเตอร์เน็ต” อีกต่อไป

แน่นอนว่าจะทำให้เกิดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรายใหม่ที่เข้าถึงบริการ และเทคโนโลยีข่าวสาร และในทางกลับกัน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานก็จะไหลเข้าสู่เหมืองข้อมูลของสองบรรษัทด้วย

เมื่อพูดถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญพื้นฐานก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างถ้วนหน้า "Universal Internet Access"  ซึ่งต้องเป็น "ก้าวแรก" และ "สิทธิขั้นพื้นฐาน"

                ไม่อย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า "เสียง" ในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นตัวแทนของ "ปวงชน" อย่างแท้จริง หาไม่แล้วเสียงในอินเตอร์เน็ตก็เป็นเพียง “เสียงของคนจำนวนน้อย” และเพิกเฉยเสียงของคนจำนวนมากไปเสีย

หากในอินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีแต่คนฐานะดีพอจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท้อป ก็ยิ่งตอกย้ำว่า มีความเหลื่อมล้ำและกีดกันมิให้คนที่ฐานะทางเศรษฐกิจมีที่ทางและปากเสียงในโลกออนไลน์

                Facebook ซื้อบรรษัทโดรนส์ก็ถือเป็น “การลงทุน” ที่ผู้ถือหุ้นบรรษัทคาดหวังดอกผล โครงการปล่อยสัญญาณไวไฟฟรีก็ต้องรอเก็บเกี่ยวผลทางใดทางหนึ่ง

Google ที่ทำเรื่องนี้ก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลซื้อเทคโนโลยี บอลลูน ดาวเทียม และโดรนส์ เพื่อส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกล

                ชัดเจนว่า เป็นการลงทุนที่หวังผลทางธุรกิจ และชวนให้คิดว่าเป็นการเดินหมากในการเมืองระหว่างประเทศ รุกเข้าไปในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีมหาอำนาจอื่นใดสนใจนัก

มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก จึงเดินทางไปพูดในที่ประชุมสหประชาชาติกระตุ้นให้รัฐทั้งหลายเปิดน่านฟ้าและลดอุปสรรคทางกฎหมาย เพื่อจะได้เดินหน้าโครงการปล่อยสัญญาณ เหนือ “น่านฟ้า” ของรัฐอื่นๆ นั่นเอง

ในงานเดียวกันมีนายกประเทศหนึ่งไปรับรางวัล เรื่องการส่งเสริมนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างยั่งยืน ด้วยผลงานของรัฐบาลก่อนหน้าที่ตนโค่นไป   UN ให้รางวัลเพราะโครงการแท็ปเล็ตที่ทำให้เยาวชนเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว แต่พอได้รางวัลกลับไปรับเฉยครับ

โครงการพัฒนาถ้ารั่วไหล ก็อุดรูรั่วครั่บ ไม่ใช่ยกเลิก คนเสียประโยชน์คือ ประชาชน เพราะการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในโลกยุคดิจิตอล

 

การลงทุนสร้างเครือข่าย เพื่อให้คนเข้ามาใช้งาน แล้วควบคุมและประมวลข้อมูลของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นก็ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อมูล" อันเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เชิงการตลาดพฤติกรรมผู้ใช้งาน และการปกครอง

ซึ่งสะเทือนไปถึงประเด็น "สิทธิส่วนบุคคล" และ "การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" และเรื่อง "สัญญาสำเร็จรูป" กับ "ใครเป็นเจ้าของข้อมูล" ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหล่านั้น

นอกจากนี้ การเข้าถึงข้อมูลภูมิศาสตร์ แผนที่ และการใช้อินเตอร์เน็ต ก็ถือเป็นรูปหนึ่งของ “ข่าวกรอง” ที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐผู้สนับสนุนโครงการและมีความสัมพันธ์กับบรรษัทสัญชาติตน  ประเทศเจ้าของน่านฟ้าจึงอาจระแวงเรื่องการจารกรรมข้อมูลได้เช่นกัน

ชัดเจนที่สุด คือ ภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และ นิติธรรม อย่างสหภาพยุโรป ก็มีมาตรการปกป้อง "ข้อมูลส่วนบุคคล" โดยกลไกทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
อาจจะเป็นว่า ภูมิภาคนี่อยู่กับสารพัดกลยุทธ์ของ "สายลับ" มานาน  และเชี่ยวชาญการต่อต้านจารกรรมโดยมาตรการกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตน และป้องกันการกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามว่า ตนกีดกันทางการค้า หรือหามาตรการตอบโต้ 
                เราอยู่ในยุคสันติภาพร้อน ที่สงครามสายลับเกิดขึ้นตลอดเวลา

เห็นชัดว่าสหภาพยุโรป จัดหนักบรรษัท IT ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ศาลยุติธรรมยุโรป(ECJ) ได้ยกเลิกข้อตกลง Safe Harbor  ระหว่างสหภาพยุโรป กับ สหรัฐ ในส่วนการกักข้อมูล (Data Retention) ทิ้งแล้ว สืบเนื่องจาก ศาลเพิ่งเพิกถอน EU Data Retention Directive 2006 ที่ขัดกับ สิทธิในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights ไปเมื่อ เมษายน 2014

ล่าสุดมีคำพิพากษาศาลฯ สั่ง ห้ามส่งข้อมูลของพลเมืองยุโรปกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์นอกอาณาเขตที่ขาดมาตรการคุ้มครองสิทธิฯ
                ถือเป็นคำพิพากษาสำคัญ ต้อนรับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) กับ บีบให้สหรัฐลงนามใน Umbrella Agreement between US&EU ซึ่งเหลือเพียง 1 ใน 13 ประเด็น ที่ยังตกลงกันไม่ได้ คือ การตั้งกลไกระงับข้อพิพาทและเยียวยาสิทธิผู้ถูกละเมิด

เบื้องต้น EU ขอให้มี One-Stop-Shop ใน ประเทศต่างๆของ EU เพื่ออำนวยความสะดวกให้พลเมืองฟ้องรัฐ บรรษัท ได้ทันที โดยไม่ต้องจ้างทนายไปฟ้องในต่างแดน
ล่าสุด สหรัฐยอมให้ พลเมืองยุโรปฟ้องในศาลสหรัฐได้ หากพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลโดนละเมิดโดยองค์กรสัญชาติสหรัฐ

อีกประเด็นที่เครียดกันมากก็คือ การดูดกักข้อมูล ซึ่งเดิมบรรษัทเก็บข้อมูลไว้ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงและปราบอาชญากรรมใช้เป็นฐานข้อมูลสืบสวน ซึ่งละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรองไว้โดย EU Charter of Fundamental Rights 2009 จนทำให้ ศาล ECJ มีคำพิพากษาออกมายกเลิกดังที่กล่าวไป
                ถ้าถามว่าประเทศที่ไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีอย่างไทยจะทำอย่างไรต่อไป ก็ต้องเริ่มจาก มีกฎหมายรับรอง “สิทธิในข้อส่วนบุคคล” เพื่อป้องกันการถูกล้วงตับไปฟรีๆ และ ส่งเสริม “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร” ให้ประชาชนได้ประโยชน์จากสารพัดข่าวสารที่อยู่ในโลกออนไลน์

รัฐบาลจึงต้องหาทางเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต มิใช่ ทำให้ถอยหนีด้วย Single Gateway

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที