Skip to main content

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ด้วยเหตุนี้จึงเพิ่มความสามารถในการปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ทันท่วงที โดยกำหนดให้มีหน่วยงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันและรับมือได้ทันสถานการณ์

ยิ่งไปกว่านั้นยังพยายามวางแนวทางป้องกันภัยทางไซเบอร์ทั้งในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ตลอดจนกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการตอบสนองด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เป็นกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ รวมทั้งมีการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

รัฐจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์

หากพิจารณาประเทศและภูมิภาคต่างๆจะพบระบอบที่ใช้กันอยู่ 4 แบบ

แบบแรก คือ แบบอิสรเสรี ไม่มีการออกกฎหมายมาควบคุมหรือกำกับดูแลโลกอินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อใหม่ที่เพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้น อาศัยกลไกตลาดให้ผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกันปกป้องดูแลความปลอดภัยให้ลูกค้าเองเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ซึ่งประเทศไทยก็เริ่มจากแบบนี้ก่อน

แบบที่สอง คือ ให้ผู้ประกอบธุรกิจในประเภทเดียวกันมาตกลงกันเองเพื่อหากฎกติกา หรือ การควบคุมกำกับดูแลกันเอง (Self-regulation) ของผู้ให้บริการ

แบบที่สาม คือ รัฐเริ่มเห็นความสำคัญ โดยมีบางหน่วยงาน เช่น หน่วยงานความมั่นคง เริ่มมองว่ากิจกรรมในโลกไซเบอร์ อาจจะกระทบต่อความมั่นคง จึงมีการออกกฎมาย เช่น พระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวทางกว้างๆ ในการกำกับดูแล และให้ภาคธุรกิจเข้ามามีบทบาทในการกำหนดรายละเอียดภายใต้กรอบใหญ่ของรัฐ (Co-regulation)

แบบที่สี่ คือ รัฐอยากจะเป็นผู้ควบคุมเอง (State-centralized regulation) หรือรัฐถืออำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจสั่งการ หรือกำหนดมาตรฐานในรายละเอียด แล้วให้คนอื่นทำ ระบบแบบนี้จะรัฐพยายามจะทำงานในทางเทคนิคโดยจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาลงมือทำด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ ประเทศจีน หรือมีการพยายามสร้างพื้นที่หรือประเด็นเฉพาะที่รัฐสร้างให้เป็น เขตเข้มงวดหรือประเด็นอ่อนไหวพิเศษเพื่อควบคุมอย่างเคร่งครัด เช่น รัสเซีย และนี่เป็นอาจเป็นแนวทางที่รัฐไทยอยากจะเป็นหากดูจากเนื้อหาใน ร่าง พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ

                เนื่องจากกลไกเชิงองค์กรที่ใช้ในการออกกฎและบังคับให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐนั้นออกแบบให้

- นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติด้วยตัวเอง
- ยกให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานความมั่นคงเป็นผู้ชี้นำนโยบายรักษาความมั่นคงไซเบอร์
- วางกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเป็น "ฝ่ายอำนวยการ" เพื่อผลักดันนโยบายนั้น (ผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ

การใช้อำนาจผ่านกฎหมายนี้ได้มอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีบังคับบัญชาและสั่งการได้ครอบคลุมเขตแดนราชอาณาจักรไทย (มาตรา 33)  หากนายกรัฐมนตรีไม่อยู่ รัฐมนตรีกลาโหม (รองประธานคนที่หนึ่ง) สามารถทำหน้าที่แทน แต่ถ้ารัฐมนตรีกลาโหมไม่อยู่อีก จึงเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจดิจิทัล (รองประธานคนที่สอง) (มาตรา 11) ซึ่งเป็นการเน้นเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” มากกว่า “ความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์”

การทำงานของคณะกรรมการความมั่นคงไซเบอร์ภายใต้ พรบ.นี้ จะอยู่ภายใต้แผนแม่บทของคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลและแผนแม่บทของสภาความมั่นคง (มาตรา 5) โดยคณะกรรมการฯ มีอำนาจเสนอแนะไปยังคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลได้ แต่กลับไม่มีอำนาจเสนอแนะต่อสภาความมั่นคง ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้มีอำนาจสูงสุด คือ ฝ่ายสภาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 7)

หากมองวิธีแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามกฎหมายจะเห็นว่า นายกฯสามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ (มาตรา 49) หรือใช้วิธีแต่งตั้งทหารที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติโดยภารกิจทั่วไปที่ทหารเหล่านั้นดูแลความมั่นคงไซเบอร์อยู่แล้ว (มาตรา 50)

คณะกรรมการฯ สามารถเพิ่มศักยภาพได้ด้วยการขอข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานเอกชนโดยขอคำสั่งศาล (มาตรา 43)  แต่หากขอข้อมูลจากหน่วยงานรัฐก็ไม่ต้องใช้คำสั่งศาล โดยหน่วยงานรัฐตามมาตรา 3 นั้นให้รวมถึงนิติบุคคลและบุคคลที่ใช้อำนาจรัฐด้วย ดังนั้นอาจจะมากกว่าหน่วยงานราชการ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ หรือผู้รับเหมาช่วงที่รัฐจัดจ้าง ฯล

หากเจ้าพนักงานต้องการดักข้อมูล (มาตรา 47) จะต้องขอหมายศาล เว้นแต่มีเหตุเร่งด่วนก็ให้ทำไปก่อนโดยขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯได้ ซึ่งเงื่อนไขที่ให้ทำโดยไม่ขอศาลนั้นก็กว้างและคลุมเครือจนไม่อาจวางใจได้ ซึ่งก็ปรากฏในมาตรา 40 เช่นกันว่า สถานการณ์ฉุกเฉินที่คุกคามความมั่นคงไซเบอร์นั้นคืออะไร เพราะอนุญาตให้ใช้อำนาจบนพื้นฐานของการ "สันนิษฐาน" "คาดว่าจะ" "ซึ่งน่าเชื่อว่า" มีเหตุเสี่ยงภัย

หากหน่วยงานรัฐ/ผู้มีหน้าที่ ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการฯ ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา (มาตรา 32) มีความผิดวินัย (มาตรา 34)   ยิ่งถ้าหน่วยงานเอกชนไม่ทำตามที่ขอความร่วมมือ ให้พิจารณาลงโทษโดยใช้อำนาจตามกฎหมาย ประกาศ ข้อบังคับอื่นใดที่มีอยู่ก็ได้ (มาตรา 47)

ทั้งนี้ในหมวด 6 ที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษ ยังมิได้ระบุระยะเวลาจำคุกหรือโทษปรับเอาไว้

ต้นทุนของการประกอบธุรกิจดิจิตอลจึงวางอยู่บนอนาคตที่ ร่าง พรบ. ฉบับนี้เขียนขึ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม