Skip to main content

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ด้วยเหตุนี้จึงเพิ่มความสามารถในการปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ทันท่วงที โดยกำหนดให้มีหน่วยงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันและรับมือได้ทันสถานการณ์

ยิ่งไปกว่านั้นยังพยายามวางแนวทางป้องกันภัยทางไซเบอร์ทั้งในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ตลอดจนกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการและมาตรการตอบสนองด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เป็นกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ รวมทั้งมีการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

รัฐจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์

หากพิจารณาประเทศและภูมิภาคต่างๆจะพบระบอบที่ใช้กันอยู่ 4 แบบ

แบบแรก คือ แบบอิสรเสรี ไม่มีการออกกฎหมายมาควบคุมหรือกำกับดูแลโลกอินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อใหม่ที่เพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้น อาศัยกลไกตลาดให้ผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกันปกป้องดูแลความปลอดภัยให้ลูกค้าเองเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ซึ่งประเทศไทยก็เริ่มจากแบบนี้ก่อน

แบบที่สอง คือ ให้ผู้ประกอบธุรกิจในประเภทเดียวกันมาตกลงกันเองเพื่อหากฎกติกา หรือ การควบคุมกำกับดูแลกันเอง (Self-regulation) ของผู้ให้บริการ

แบบที่สาม คือ รัฐเริ่มเห็นความสำคัญ โดยมีบางหน่วยงาน เช่น หน่วยงานความมั่นคง เริ่มมองว่ากิจกรรมในโลกไซเบอร์ อาจจะกระทบต่อความมั่นคง จึงมีการออกกฎมาย เช่น พระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวทางกว้างๆ ในการกำกับดูแล และให้ภาคธุรกิจเข้ามามีบทบาทในการกำหนดรายละเอียดภายใต้กรอบใหญ่ของรัฐ (Co-regulation)

แบบที่สี่ คือ รัฐอยากจะเป็นผู้ควบคุมเอง (State-centralized regulation) หรือรัฐถืออำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจสั่งการ หรือกำหนดมาตรฐานในรายละเอียด แล้วให้คนอื่นทำ ระบบแบบนี้จะรัฐพยายามจะทำงานในทางเทคนิคโดยจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาลงมือทำด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ ประเทศจีน หรือมีการพยายามสร้างพื้นที่หรือประเด็นเฉพาะที่รัฐสร้างให้เป็น เขตเข้มงวดหรือประเด็นอ่อนไหวพิเศษเพื่อควบคุมอย่างเคร่งครัด เช่น รัสเซีย และนี่เป็นอาจเป็นแนวทางที่รัฐไทยอยากจะเป็นหากดูจากเนื้อหาใน ร่าง พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ

                เนื่องจากกลไกเชิงองค์กรที่ใช้ในการออกกฎและบังคับให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐนั้นออกแบบให้

- นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติด้วยตัวเอง
- ยกให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานความมั่นคงเป็นผู้ชี้นำนโยบายรักษาความมั่นคงไซเบอร์
- วางกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเป็น "ฝ่ายอำนวยการ" เพื่อผลักดันนโยบายนั้น (ผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ

การใช้อำนาจผ่านกฎหมายนี้ได้มอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีบังคับบัญชาและสั่งการได้ครอบคลุมเขตแดนราชอาณาจักรไทย (มาตรา 33)  หากนายกรัฐมนตรีไม่อยู่ รัฐมนตรีกลาโหม (รองประธานคนที่หนึ่ง) สามารถทำหน้าที่แทน แต่ถ้ารัฐมนตรีกลาโหมไม่อยู่อีก จึงเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจดิจิทัล (รองประธานคนที่สอง) (มาตรา 11) ซึ่งเป็นการเน้นเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” มากกว่า “ความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์”

การทำงานของคณะกรรมการความมั่นคงไซเบอร์ภายใต้ พรบ.นี้ จะอยู่ภายใต้แผนแม่บทของคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลและแผนแม่บทของสภาความมั่นคง (มาตรา 5) โดยคณะกรรมการฯ มีอำนาจเสนอแนะไปยังคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลได้ แต่กลับไม่มีอำนาจเสนอแนะต่อสภาความมั่นคง ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้มีอำนาจสูงสุด คือ ฝ่ายสภาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 7)

หากมองวิธีแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามกฎหมายจะเห็นว่า นายกฯสามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ (มาตรา 49) หรือใช้วิธีแต่งตั้งทหารที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติโดยภารกิจทั่วไปที่ทหารเหล่านั้นดูแลความมั่นคงไซเบอร์อยู่แล้ว (มาตรา 50)

คณะกรรมการฯ สามารถเพิ่มศักยภาพได้ด้วยการขอข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานเอกชนโดยขอคำสั่งศาล (มาตรา 43)  แต่หากขอข้อมูลจากหน่วยงานรัฐก็ไม่ต้องใช้คำสั่งศาล โดยหน่วยงานรัฐตามมาตรา 3 นั้นให้รวมถึงนิติบุคคลและบุคคลที่ใช้อำนาจรัฐด้วย ดังนั้นอาจจะมากกว่าหน่วยงานราชการ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ หรือผู้รับเหมาช่วงที่รัฐจัดจ้าง ฯล

หากเจ้าพนักงานต้องการดักข้อมูล (มาตรา 47) จะต้องขอหมายศาล เว้นแต่มีเหตุเร่งด่วนก็ให้ทำไปก่อนโดยขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯได้ ซึ่งเงื่อนไขที่ให้ทำโดยไม่ขอศาลนั้นก็กว้างและคลุมเครือจนไม่อาจวางใจได้ ซึ่งก็ปรากฏในมาตรา 40 เช่นกันว่า สถานการณ์ฉุกเฉินที่คุกคามความมั่นคงไซเบอร์นั้นคืออะไร เพราะอนุญาตให้ใช้อำนาจบนพื้นฐานของการ "สันนิษฐาน" "คาดว่าจะ" "ซึ่งน่าเชื่อว่า" มีเหตุเสี่ยงภัย

หากหน่วยงานรัฐ/ผู้มีหน้าที่ ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการฯ ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา (มาตรา 32) มีความผิดวินัย (มาตรา 34)   ยิ่งถ้าหน่วยงานเอกชนไม่ทำตามที่ขอความร่วมมือ ให้พิจารณาลงโทษโดยใช้อำนาจตามกฎหมาย ประกาศ ข้อบังคับอื่นใดที่มีอยู่ก็ได้ (มาตรา 47)

ทั้งนี้ในหมวด 6 ที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษ ยังมิได้ระบุระยะเวลาจำคุกหรือโทษปรับเอาไว้

ต้นทุนของการประกอบธุรกิจดิจิตอลจึงวางอยู่บนอนาคตที่ ร่าง พรบ. ฉบับนี้เขียนขึ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?