Skip to main content

หลังจากรัฐบาล คสช. ได้อนุญาตให้มีกิจกรรมทางการเมืองแบบพรรคได้ ก็ปรากฏการเปิดตัวเข้าสู่สนามการเมืองของหลากหลายกลุ่มการเมือง ทั้งที่เป็นกลุ่มการเมืองเดิม และหน้าใหม่ที่พยายามเข้ามาเสนอทางเลือกให้แหวกแนวไปกว่าเดิม  แต่พรรคที่ดึงดูดความสนใจในทิศทางทวนกระแส มีแง่คิดผิดแผกไปจากกลุ่มอื่น เห็นจะไม่พ้น พรรคเกรียน ของคุณสมบัติ บุญงามองค์ หรือ บ.ก.ลายจุด ที่ได้ก่อตั้งพรรค “เกรียน” ขึ้นมาแล้วไปขอจดทะเบียนตั้งพรรคกับ กกต. อย่างเป็นทางการเสียด้วย

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนพรรคเกรียนโดยอ้างถึง “ความไม่เหมาะสม” ของชื่อพรรค ซึ่งดุลยพินิจของ กกต. นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “เกรียน” ในความหมายร่วมสมัยหรือดิจิทัลอาจหมายถึง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมก่อกวนทำให้เกิดความสับสนโกลาหลขึ้นได้ในพื้นที่ซึ่ง กกต. คิดว่าต้องขึงขังจริงจังและเป็นทางการอย่าง สนามการเมือง

เรื่องจึงต้องย้อนกลับมาคิดว่า “ความเป็นทางการ” หรือแม้กระทั่ง “ความสำคัญ” ของการเมืองในระบบเลือกตั้งผ่านตัวแทนแบบพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกด้วยท่าที “ขรึมขลัง” “ศักดิ์สิทธิ์” “จริงจัง” กันขนาดไหน จะมีที่ว่างให้กับการ ล้อเลียน เสียดสี หรือความตลกได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่จะขบให้แตกในบทความนี้

ย้อนไปในอดีตว่า “ความตลก” หรือ “ตัวตลก” มีที่ทางอย่างไรในสังคมการเมือง เท่าที่ผมค้นเจอก็จะมีเรื่องตลกหลวงในวังทั้งของอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ที่ทำหน้าที่ในการล้อเลี่ยนชนชั้นสูงที่เข้าร่วมงานในวัง มิใช่แค่เพียงเพื่อการสังสรรค์เฮฮา แต่ว่ามีหน้าที่ในการหยิบเอา “ข้อด้อย” หรือ “ข้อบกพร่อง” ของคนเหล่านั้นมาขับเน้นให้เห็นชัดขึ้น เพื่อที่เจ้าตัวที่คุ้นชินกับนิสัยเดิม ได้หันมาเพิ่มการพิจารณาตนเองว่าสิ่งที่เขาล้อนั้นมันเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือไม่

เช่นเดียวกับวรรณกรรมหรืองานทางศิลปวัฒนธรรมอีกจำนวนมากที่ใช้เรื่องตลกขำขัน เป็นเครื่องมือสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านวิธีการชวนหัว เพื่อยั่วให้คนดูคนฟังและคนถูกล้อต้องกลับมาคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่าเหล่านั้นมันมีประเด็นให้ต้องขบคิดจริงหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น พรรคเกรียน หากมองด้วยสาตาของประชาชนทั่วไปอย่างผม สิ่งที่ บ.ก.ลายจุด นำเสนอหรือจุดประเด็นทางการเมืองผ่านเรื่องการสถาปนาพรรคขึ้นมาแล้วเสนอนโยบายทางการเมือง หรือคำคม ความคิด หรือเนื้อหาที่มีทีท่าล้อเลียน เสียดสี หรือบางท่านอาจจะคิดไปได้ว่าแดกดัน เย้ยหยันนั้น ล้วนกระตุกให้สาธารณชนต้องฉุกคิดว่า เรากำลังโดนครอบงำความคิดด้วยการเมืองชุดเก่าๆเดิมๆ ที่มีผู้ลงสมัครและพรรคการเมืองจำนวนมาก แสดงภาพลักษณ์จริงจัง เรียกร้องความน่าเชื่อถือจากประชาชน ก่อนที่จะนำเสนอนโยบายพรรคที่ดูดี มีความหวัง เพื่อเรียกคะแนนเสียงให้ได้ดังตั้งใจไว้  แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นเพียง ความฝัน หรือลมปาก

ในทางกลับกัน การเล่า “ความจริง” กระทุ้งถามหา “แก่นแท้” ด้วยการลดทอนความขรึมขลังโดยอาศัยกลวิธีหยอกล้อ ยั่วเย้า อาจกลายเป็นวิธีการทำให้คนร่วมสังคมเราจำนวนมากที่คุ้นชินกับการเมืองแบบเก่า เริ่มมาสนใจการเมืองในมุมมองใหม่ ด้วยการหันมาใส่ใจกับประเด็นสำคัญ บุคคลสาธารณะ เพราะมีภาษา ท่าทาง วิธีการสื่อสาร แบบตลก อันเป็นกระแสวัฒนธรรมหลักของสังคมไทย

ถ้าใครเถียงว่า “ความตลก” ไม่ใช่กระแสหลักของสังคมไทย ก็ลองไปดูเรตติ้งของรายการโทรทัศน์ หรือยอดติดตาม ไลค์ แชร์ ในอินเตอร์เน็ต ว่าเนื้อหาตลก หรือปนตลกนี่ไม่ใช่หรือที่ถือครองคะแนนนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่

หากมองผู้นำประเทศเผด็จกการอำนาจนิยมในอดีต อย่างระบอบฟาสซิสม์ด้วยสายตาปัจจุบัน แบบมองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็จะเห็นว่ามีตลกในตำนานอย่าง ชาร์ลี แช็ปลิน เอามาล้อจนหัวเราะท้องงอแข็ง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ ทุกสิ่งที่ออกจากปากล้วนมีคนยึดถือเอาเป็นเอาตาย ขนาดว่าใครคัดค้านหรือต่อต้านจะได้รับภัยกับชีวิต  

ความตลกจึงเป็นเหมือนอาวุธทรงพลังในการลดทอนบารมีครอบงำจิตใจมวลชน ซึ่งทีมงานของเหล่าผู้นำเผด็จการจำนวนมากทราบดีจึงมีกุศโลบายในการสกัดกั้นการแสดงออกที่นำมาสู่การล้อเลียนผู้นำ  เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ที่จริงจัง แข็งขันของท่านผู้นำ เสื่อมบารมีลง

ความตลก จึงเป็นเหมือนอาวุธสำคัญที่เสริมพลังอำนาจให้คนธรรมดาสำคัญที่มีเพียงสมองและสองมือสามารถหยิบฉวยเอามาใช้แต่งเติมเสริมความคิดของตนให้แหลมคมและส่งไปยังมวลมหาชน หากเป็นมุขตลกที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในห้วงขณะนั้นก็จะกระตุ้นให้ประชาชนตั้งคำถามถึงความจริงที่ผู้นำกลบซ่อนความบกพร่องไว้ภายใต้หน้ากากแห่งความขึงขลังดั่งกำแพงให้พังทลายลงมาได้

 บ่อยครั้งที่รัฐและผู้มีอำนาจจึงใช้วิธีการจำกัดการแสดงออกของประชาชนที่มาในรูปแบบของความตลกเฮฮา เพราะว่ามันมาพร้อมการเสียดสี แดกดัน เย้ยหยัน ให้ความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลต้องเสื่อมสลายลงไป   ยิ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์มากกว่าเนื้อหาสาระ การคงสถานะสูงส่ง หรือจริงจัง ศักดิ์สิทธิ์ เล่นไม่ได้ ก็ยิ่งกลายเป็นเสมือนป้ายห้ามขนาดใหญ่ไม่ให้มีการล้อเลียน

ดังนั้นกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลที่ประเทศไทยเป็นภาคีและผูกมัดรัฐไว้จึงได้ให้หลักประกันการแสดงออกของประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง การล้อเลียน เล่นตลก ที่มิได้ใส่ความอันเป็นเท็จ หรือการพูดเรื่องจริงที่เป็นประโยชน์สาธารณะ แม้จะมาในท่าทีล้อเล่น จึงพึงได้รับการรับรอง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี