Skip to main content

หลังจากรัฐบาล คสช. ได้อนุญาตให้มีกิจกรรมทางการเมืองแบบพรรคได้ ก็ปรากฏการเปิดตัวเข้าสู่สนามการเมืองของหลากหลายกลุ่มการเมือง ทั้งที่เป็นกลุ่มการเมืองเดิม และหน้าใหม่ที่พยายามเข้ามาเสนอทางเลือกให้แหวกแนวไปกว่าเดิม  แต่พรรคที่ดึงดูดความสนใจในทิศทางทวนกระแส มีแง่คิดผิดแผกไปจากกลุ่มอื่น เห็นจะไม่พ้น พรรคเกรียน ของคุณสมบัติ บุญงามองค์ หรือ บ.ก.ลายจุด ที่ได้ก่อตั้งพรรค “เกรียน” ขึ้นมาแล้วไปขอจดทะเบียนตั้งพรรคกับ กกต. อย่างเป็นทางการเสียด้วย

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนพรรคเกรียนโดยอ้างถึง “ความไม่เหมาะสม” ของชื่อพรรค ซึ่งดุลยพินิจของ กกต. นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “เกรียน” ในความหมายร่วมสมัยหรือดิจิทัลอาจหมายถึง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมก่อกวนทำให้เกิดความสับสนโกลาหลขึ้นได้ในพื้นที่ซึ่ง กกต. คิดว่าต้องขึงขังจริงจังและเป็นทางการอย่าง สนามการเมือง

เรื่องจึงต้องย้อนกลับมาคิดว่า “ความเป็นทางการ” หรือแม้กระทั่ง “ความสำคัญ” ของการเมืองในระบบเลือกตั้งผ่านตัวแทนแบบพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกด้วยท่าที “ขรึมขลัง” “ศักดิ์สิทธิ์” “จริงจัง” กันขนาดไหน จะมีที่ว่างให้กับการ ล้อเลียน เสียดสี หรือความตลกได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่จะขบให้แตกในบทความนี้

ย้อนไปในอดีตว่า “ความตลก” หรือ “ตัวตลก” มีที่ทางอย่างไรในสังคมการเมือง เท่าที่ผมค้นเจอก็จะมีเรื่องตลกหลวงในวังทั้งของอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ที่ทำหน้าที่ในการล้อเลี่ยนชนชั้นสูงที่เข้าร่วมงานในวัง มิใช่แค่เพียงเพื่อการสังสรรค์เฮฮา แต่ว่ามีหน้าที่ในการหยิบเอา “ข้อด้อย” หรือ “ข้อบกพร่อง” ของคนเหล่านั้นมาขับเน้นให้เห็นชัดขึ้น เพื่อที่เจ้าตัวที่คุ้นชินกับนิสัยเดิม ได้หันมาเพิ่มการพิจารณาตนเองว่าสิ่งที่เขาล้อนั้นมันเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือไม่

เช่นเดียวกับวรรณกรรมหรืองานทางศิลปวัฒนธรรมอีกจำนวนมากที่ใช้เรื่องตลกขำขัน เป็นเครื่องมือสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านวิธีการชวนหัว เพื่อยั่วให้คนดูคนฟังและคนถูกล้อต้องกลับมาคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่าเหล่านั้นมันมีประเด็นให้ต้องขบคิดจริงหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น พรรคเกรียน หากมองด้วยสาตาของประชาชนทั่วไปอย่างผม สิ่งที่ บ.ก.ลายจุด นำเสนอหรือจุดประเด็นทางการเมืองผ่านเรื่องการสถาปนาพรรคขึ้นมาแล้วเสนอนโยบายทางการเมือง หรือคำคม ความคิด หรือเนื้อหาที่มีทีท่าล้อเลียน เสียดสี หรือบางท่านอาจจะคิดไปได้ว่าแดกดัน เย้ยหยันนั้น ล้วนกระตุกให้สาธารณชนต้องฉุกคิดว่า เรากำลังโดนครอบงำความคิดด้วยการเมืองชุดเก่าๆเดิมๆ ที่มีผู้ลงสมัครและพรรคการเมืองจำนวนมาก แสดงภาพลักษณ์จริงจัง เรียกร้องความน่าเชื่อถือจากประชาชน ก่อนที่จะนำเสนอนโยบายพรรคที่ดูดี มีความหวัง เพื่อเรียกคะแนนเสียงให้ได้ดังตั้งใจไว้  แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นเพียง ความฝัน หรือลมปาก

ในทางกลับกัน การเล่า “ความจริง” กระทุ้งถามหา “แก่นแท้” ด้วยการลดทอนความขรึมขลังโดยอาศัยกลวิธีหยอกล้อ ยั่วเย้า อาจกลายเป็นวิธีการทำให้คนร่วมสังคมเราจำนวนมากที่คุ้นชินกับการเมืองแบบเก่า เริ่มมาสนใจการเมืองในมุมมองใหม่ ด้วยการหันมาใส่ใจกับประเด็นสำคัญ บุคคลสาธารณะ เพราะมีภาษา ท่าทาง วิธีการสื่อสาร แบบตลก อันเป็นกระแสวัฒนธรรมหลักของสังคมไทย

ถ้าใครเถียงว่า “ความตลก” ไม่ใช่กระแสหลักของสังคมไทย ก็ลองไปดูเรตติ้งของรายการโทรทัศน์ หรือยอดติดตาม ไลค์ แชร์ ในอินเตอร์เน็ต ว่าเนื้อหาตลก หรือปนตลกนี่ไม่ใช่หรือที่ถือครองคะแนนนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่

หากมองผู้นำประเทศเผด็จกการอำนาจนิยมในอดีต อย่างระบอบฟาสซิสม์ด้วยสายตาปัจจุบัน แบบมองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็จะเห็นว่ามีตลกในตำนานอย่าง ชาร์ลี แช็ปลิน เอามาล้อจนหัวเราะท้องงอแข็ง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ ทุกสิ่งที่ออกจากปากล้วนมีคนยึดถือเอาเป็นเอาตาย ขนาดว่าใครคัดค้านหรือต่อต้านจะได้รับภัยกับชีวิต  

ความตลกจึงเป็นเหมือนอาวุธทรงพลังในการลดทอนบารมีครอบงำจิตใจมวลชน ซึ่งทีมงานของเหล่าผู้นำเผด็จการจำนวนมากทราบดีจึงมีกุศโลบายในการสกัดกั้นการแสดงออกที่นำมาสู่การล้อเลียนผู้นำ  เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ที่จริงจัง แข็งขันของท่านผู้นำ เสื่อมบารมีลง

ความตลก จึงเป็นเหมือนอาวุธสำคัญที่เสริมพลังอำนาจให้คนธรรมดาสำคัญที่มีเพียงสมองและสองมือสามารถหยิบฉวยเอามาใช้แต่งเติมเสริมความคิดของตนให้แหลมคมและส่งไปยังมวลมหาชน หากเป็นมุขตลกที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในห้วงขณะนั้นก็จะกระตุ้นให้ประชาชนตั้งคำถามถึงความจริงที่ผู้นำกลบซ่อนความบกพร่องไว้ภายใต้หน้ากากแห่งความขึงขลังดั่งกำแพงให้พังทลายลงมาได้

 บ่อยครั้งที่รัฐและผู้มีอำนาจจึงใช้วิธีการจำกัดการแสดงออกของประชาชนที่มาในรูปแบบของความตลกเฮฮา เพราะว่ามันมาพร้อมการเสียดสี แดกดัน เย้ยหยัน ให้ความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลต้องเสื่อมสลายลงไป   ยิ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์มากกว่าเนื้อหาสาระ การคงสถานะสูงส่ง หรือจริงจัง ศักดิ์สิทธิ์ เล่นไม่ได้ ก็ยิ่งกลายเป็นเสมือนป้ายห้ามขนาดใหญ่ไม่ให้มีการล้อเลียน

ดังนั้นกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลที่ประเทศไทยเป็นภาคีและผูกมัดรัฐไว้จึงได้ให้หลักประกันการแสดงออกของประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง การล้อเลียน เล่นตลก ที่มิได้ใส่ความอันเป็นเท็จ หรือการพูดเรื่องจริงที่เป็นประโยชน์สาธารณะ แม้จะมาในท่าทีล้อเล่น จึงพึงได้รับการรับรอง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ