Skip to main content

ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว

การแก้ไขข้อจำกัดในส่วนของการดำเนินธุรกิจของบรรษัทและภาคเอกชน  เช่น การปรับปรุงกฎหมายเรื่องตราสารหนี้ ตราสารทุน การเปิดช่องให้การบริหารจัดการสตาร์ทอัพดึงดูดผู้มีศักยภาพเข้ามาทำงานในรูปผลตอบแทนต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน เป็นต้น ล้วนสะท้อนให้เห็นความตื่นตัวในการอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจเอกชน

แต่สิ่งที่สำคัญเบื้องต้น คือ การสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการในตลาดอิเล็กทรอนิคส์ (E-Market) โดยมิได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทย แต่หมายรวมถึงผู้ชี้บริการจากทั่วทุกมุมโลก หากต้องการขยายศักยภาพของผู้ประกอบการและตลาดของไทยให้ก้าวหน้า

การสร้างมาตรการคุ้มครองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งไทยและต่างประเทศย่อมต้องคำนึงถึงมาตรฐานที่มีการใช้กันอยู่ในตลาดชั้นนำของโลก เพราะผู้บริโภคย่อมคำนึงถึงความคุ้นเคยที่ได้รับการประกันสิทธิตามมาตรฐานที่ตนเคยได้รับอยู่ในโลกของตนเป็นหลัก  

ประเทศไทยเลือกมาตรฐานใด? จะอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่มไหน?  จึงเป็นคำถามหลักที่ต้องตอบ

โลกมีกลุ่มประเทศที่ใช้ระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์หรือจัดการกับตลาดดิจิทัลที่แตกต่างกันอยู่ โดยแบ่งออกเป็นกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ

1)       กลุ่มที่ไม่มีมาตรฐานหรือระบอบใดๆเลย เช่น ประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาที่ความก้าวหน้าของเอกชนและเทคโนโลยีนำสังคม รัฐยังมิได้ออกมาตรการหรือกฎหมายใดๆมาสร้างกรอบกำกับดูแล

2)       กลุ่มที่รัฐมีมาตรฐานในใจและผลักดันนโยบายที่อยู่ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ(บาล) เป็นที่ตั้ง เช่น ประเทศมหาอำนาจและประเทศที่อยู่นอกระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย

3)       กลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย ที่มีการออกกฎหมายกำกับดูแลตลาดและใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตลาดอย่างยั่งยืน

 

จริงอยู่ที่รัฐทุกรัฐ รวมถึงรัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยในการเลือกระบอบและนโยบายได้เองโดยไม่ต้องเชื่อฟังรัฐอื่นใด  แต่สิ่งที่จริงยิ่งกว่า คือ เราต้องการจะมีความสัมพันธ์กับใคร อยากเจาะตลาดไหน ย่อมต้องสมาทานกฎหมายและนโยบายของประเทศเหล่านั้นเข้ามาเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองของผู้บริโภคในตลาดนั้นด้วย

หากประเทศไทยมุ่งไปในตลาดของประเทศกำลังพัฒนา หรือไร้มาตรการดูแลผู้บริโภคในตลาด สิ่งที่ต้องเผชิญก็คือ ความไม่แน่นอนของตลาด เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนแน่นอนมั่นคง  การบุกไปตลาดเหล่านั้นก็จะมีต้นทุนเพิ่ม หรือต้นทุนแอบแฝง เนื่องจากต้องคอยประสานกับรัฐ หรือกลุ่มที่มีอิทธิพลในตลาดเหล่านั้น  หรือจ่ายเบี้ยบ้ายรายทาง โดยที่ไม่แน่ใจว่าวันนึงจะถูกสั่งปิด หรือสั่งให้ทำอะไรที่ทำลายแบรนด์และความน่าเชื่อถือของบริษัทตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลประเทศที่ไปลงทุนหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราตกไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไร้มาตรการปกป้องผู้บริโภค และไม่มีหลักประกันสิทธิผู้ใช้บริการที่คำนึงสิทธิมนุษยชนแล้ว  ตลาดของประเทศไทยก็จะเป็น “ท่าเรือที่ไม่น่าเข้าเทียบจอด” เพราะไม่อาจประกันความปลอดภัยให้กับชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการทางดิจิทัลได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามโครงการ ดิจิทัลฮับ ของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ดังนี้  

หากประเทศไทยอยากดึงดูดบริษัทดิจิทัลชั้นนำของโลกให้มาตั้งเซิร์ฟเวอร์หรือวางระบบปฏิบัติการของตนในประเทศไทย   ที่ปรึกษาของบรรษัททั้งหลายก็จะพิจารณาก่อนว่าหากนำ “ทรัพย์สินและระบบ” ของตนไปวางในราชอาณาจักรไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายใดบ้าง?

ประเด็นกฎหมายที่กำลังมาแรงและเป็นประเด็นหลักในการพิจารณาของธุรกิจดิจิทัล คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เนื่องจากผู้บริโภคตื่นตัวหลังจากมีเปิดเผยให้เห็นว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานความมั่นคงของรัฐแฮ็ค ดักข้อมูล หรือมีข้อตกลงกับบรรษัท โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายความมั่นคงของรัฐ ทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อเทคโนโลยีลดลง และมีการเลิกใช้บริการของบางบริษัทที่มีข่าวว่าร่วมมือกับรัฐบาล หรือไม่มีมาตรการที่ดีพอในการปกป้องประชาชน  นั่นคือ แบรนด์ของบริษัทเสียหาย

ในทางกลับกัน ถ้ากฎหมายภายในของไทยมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคต่ำ บริษัทสัญชาติไทยก็เข้าไปดำเนินธุรกิจในตลาดที่มาตรฐานสูงกว่าไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไข “ห้ามส่งข้อมูลไปยังดินแดนที่มาตรฐานต่ำกว่า” ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทย และหน่วยงานที่ผลักดันโครงการดิจิทัลฮับทราบหรือไม่!!!

หากประเทศไทยอยากจะเป็น ดิจิทัลฮับระดับโลก ที่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำให้เข้ามาลงทุน หรือส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติไทย หรือบริษัทที่มาฝากระบบไว้ในดินแดนไทย สามารถเจาะตลาดอื่นได้ โดยเฉพาะตลาดที่ยั่งยืนมั่นคงและมีกำลังซื้อสูงแล้วอย่าง ตลาดประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย

การมีกฎหมายและนโยบายที่ประกันสิทธิของผู้บริโภค จึงเป็นทั้งเสาหลักและสปริงบอร์ดให้สตาร์ทอัพดิจิทัลของไทย และเป็นหลักประกันความมั่นใจให้บริษัทดิจิทัลใหญ่ๆทั่วโลกตัดสินใจมาฝากระบบไว้ในประเทศ

การปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยในปี 2016 จึงเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมารฐานระหว่างประเทศร่วมกันในระดับโลก

คำถามคือไทยมีพระราชาบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล “ที่ได้มาตรฐานสากล” หรือไม่?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม