Skip to main content

ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว

การแก้ไขข้อจำกัดในส่วนของการดำเนินธุรกิจของบรรษัทและภาคเอกชน  เช่น การปรับปรุงกฎหมายเรื่องตราสารหนี้ ตราสารทุน การเปิดช่องให้การบริหารจัดการสตาร์ทอัพดึงดูดผู้มีศักยภาพเข้ามาทำงานในรูปผลตอบแทนต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน เป็นต้น ล้วนสะท้อนให้เห็นความตื่นตัวในการอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจเอกชน

แต่สิ่งที่สำคัญเบื้องต้น คือ การสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการในตลาดอิเล็กทรอนิคส์ (E-Market) โดยมิได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทย แต่หมายรวมถึงผู้ชี้บริการจากทั่วทุกมุมโลก หากต้องการขยายศักยภาพของผู้ประกอบการและตลาดของไทยให้ก้าวหน้า

การสร้างมาตรการคุ้มครองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งไทยและต่างประเทศย่อมต้องคำนึงถึงมาตรฐานที่มีการใช้กันอยู่ในตลาดชั้นนำของโลก เพราะผู้บริโภคย่อมคำนึงถึงความคุ้นเคยที่ได้รับการประกันสิทธิตามมาตรฐานที่ตนเคยได้รับอยู่ในโลกของตนเป็นหลัก  

ประเทศไทยเลือกมาตรฐานใด? จะอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่มไหน?  จึงเป็นคำถามหลักที่ต้องตอบ

โลกมีกลุ่มประเทศที่ใช้ระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์หรือจัดการกับตลาดดิจิทัลที่แตกต่างกันอยู่ โดยแบ่งออกเป็นกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ

1)       กลุ่มที่ไม่มีมาตรฐานหรือระบอบใดๆเลย เช่น ประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาที่ความก้าวหน้าของเอกชนและเทคโนโลยีนำสังคม รัฐยังมิได้ออกมาตรการหรือกฎหมายใดๆมาสร้างกรอบกำกับดูแล

2)       กลุ่มที่รัฐมีมาตรฐานในใจและผลักดันนโยบายที่อยู่ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ(บาล) เป็นที่ตั้ง เช่น ประเทศมหาอำนาจและประเทศที่อยู่นอกระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย

3)       กลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย ที่มีการออกกฎหมายกำกับดูแลตลาดและใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตลาดอย่างยั่งยืน

 

จริงอยู่ที่รัฐทุกรัฐ รวมถึงรัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยในการเลือกระบอบและนโยบายได้เองโดยไม่ต้องเชื่อฟังรัฐอื่นใด  แต่สิ่งที่จริงยิ่งกว่า คือ เราต้องการจะมีความสัมพันธ์กับใคร อยากเจาะตลาดไหน ย่อมต้องสมาทานกฎหมายและนโยบายของประเทศเหล่านั้นเข้ามาเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองของผู้บริโภคในตลาดนั้นด้วย

หากประเทศไทยมุ่งไปในตลาดของประเทศกำลังพัฒนา หรือไร้มาตรการดูแลผู้บริโภคในตลาด สิ่งที่ต้องเผชิญก็คือ ความไม่แน่นอนของตลาด เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนแน่นอนมั่นคง  การบุกไปตลาดเหล่านั้นก็จะมีต้นทุนเพิ่ม หรือต้นทุนแอบแฝง เนื่องจากต้องคอยประสานกับรัฐ หรือกลุ่มที่มีอิทธิพลในตลาดเหล่านั้น  หรือจ่ายเบี้ยบ้ายรายทาง โดยที่ไม่แน่ใจว่าวันนึงจะถูกสั่งปิด หรือสั่งให้ทำอะไรที่ทำลายแบรนด์และความน่าเชื่อถือของบริษัทตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลประเทศที่ไปลงทุนหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราตกไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไร้มาตรการปกป้องผู้บริโภค และไม่มีหลักประกันสิทธิผู้ใช้บริการที่คำนึงสิทธิมนุษยชนแล้ว  ตลาดของประเทศไทยก็จะเป็น “ท่าเรือที่ไม่น่าเข้าเทียบจอด” เพราะไม่อาจประกันความปลอดภัยให้กับชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการทางดิจิทัลได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามโครงการ ดิจิทัลฮับ ของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ดังนี้  

หากประเทศไทยอยากดึงดูดบริษัทดิจิทัลชั้นนำของโลกให้มาตั้งเซิร์ฟเวอร์หรือวางระบบปฏิบัติการของตนในประเทศไทย   ที่ปรึกษาของบรรษัททั้งหลายก็จะพิจารณาก่อนว่าหากนำ “ทรัพย์สินและระบบ” ของตนไปวางในราชอาณาจักรไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายใดบ้าง?

ประเด็นกฎหมายที่กำลังมาแรงและเป็นประเด็นหลักในการพิจารณาของธุรกิจดิจิทัล คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เนื่องจากผู้บริโภคตื่นตัวหลังจากมีเปิดเผยให้เห็นว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานความมั่นคงของรัฐแฮ็ค ดักข้อมูล หรือมีข้อตกลงกับบรรษัท โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายความมั่นคงของรัฐ ทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อเทคโนโลยีลดลง และมีการเลิกใช้บริการของบางบริษัทที่มีข่าวว่าร่วมมือกับรัฐบาล หรือไม่มีมาตรการที่ดีพอในการปกป้องประชาชน  นั่นคือ แบรนด์ของบริษัทเสียหาย

ในทางกลับกัน ถ้ากฎหมายภายในของไทยมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคต่ำ บริษัทสัญชาติไทยก็เข้าไปดำเนินธุรกิจในตลาดที่มาตรฐานสูงกว่าไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไข “ห้ามส่งข้อมูลไปยังดินแดนที่มาตรฐานต่ำกว่า” ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทย และหน่วยงานที่ผลักดันโครงการดิจิทัลฮับทราบหรือไม่!!!

หากประเทศไทยอยากจะเป็น ดิจิทัลฮับระดับโลก ที่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำให้เข้ามาลงทุน หรือส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติไทย หรือบริษัทที่มาฝากระบบไว้ในดินแดนไทย สามารถเจาะตลาดอื่นได้ โดยเฉพาะตลาดที่ยั่งยืนมั่นคงและมีกำลังซื้อสูงแล้วอย่าง ตลาดประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย

การมีกฎหมายและนโยบายที่ประกันสิทธิของผู้บริโภค จึงเป็นทั้งเสาหลักและสปริงบอร์ดให้สตาร์ทอัพดิจิทัลของไทย และเป็นหลักประกันความมั่นใจให้บริษัทดิจิทัลใหญ่ๆทั่วโลกตัดสินใจมาฝากระบบไว้ในประเทศ

การปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยในปี 2016 จึงเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมารฐานระหว่างประเทศร่วมกันในระดับโลก

คำถามคือไทยมีพระราชาบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล “ที่ได้มาตรฐานสากล” หรือไม่?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว