Skip to main content

ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว

การแก้ไขข้อจำกัดในส่วนของการดำเนินธุรกิจของบรรษัทและภาคเอกชน  เช่น การปรับปรุงกฎหมายเรื่องตราสารหนี้ ตราสารทุน การเปิดช่องให้การบริหารจัดการสตาร์ทอัพดึงดูดผู้มีศักยภาพเข้ามาทำงานในรูปผลตอบแทนต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน เป็นต้น ล้วนสะท้อนให้เห็นความตื่นตัวในการอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจเอกชน

แต่สิ่งที่สำคัญเบื้องต้น คือ การสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการในตลาดอิเล็กทรอนิคส์ (E-Market) โดยมิได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทย แต่หมายรวมถึงผู้ชี้บริการจากทั่วทุกมุมโลก หากต้องการขยายศักยภาพของผู้ประกอบการและตลาดของไทยให้ก้าวหน้า

การสร้างมาตรการคุ้มครองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งไทยและต่างประเทศย่อมต้องคำนึงถึงมาตรฐานที่มีการใช้กันอยู่ในตลาดชั้นนำของโลก เพราะผู้บริโภคย่อมคำนึงถึงความคุ้นเคยที่ได้รับการประกันสิทธิตามมาตรฐานที่ตนเคยได้รับอยู่ในโลกของตนเป็นหลัก  

ประเทศไทยเลือกมาตรฐานใด? จะอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่มไหน?  จึงเป็นคำถามหลักที่ต้องตอบ

โลกมีกลุ่มประเทศที่ใช้ระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์หรือจัดการกับตลาดดิจิทัลที่แตกต่างกันอยู่ โดยแบ่งออกเป็นกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ

1)       กลุ่มที่ไม่มีมาตรฐานหรือระบอบใดๆเลย เช่น ประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาที่ความก้าวหน้าของเอกชนและเทคโนโลยีนำสังคม รัฐยังมิได้ออกมาตรการหรือกฎหมายใดๆมาสร้างกรอบกำกับดูแล

2)       กลุ่มที่รัฐมีมาตรฐานในใจและผลักดันนโยบายที่อยู่ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ(บาล) เป็นที่ตั้ง เช่น ประเทศมหาอำนาจและประเทศที่อยู่นอกระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย

3)       กลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย ที่มีการออกกฎหมายกำกับดูแลตลาดและใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมุ่งคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตลาดอย่างยั่งยืน

 

จริงอยู่ที่รัฐทุกรัฐ รวมถึงรัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยในการเลือกระบอบและนโยบายได้เองโดยไม่ต้องเชื่อฟังรัฐอื่นใด  แต่สิ่งที่จริงยิ่งกว่า คือ เราต้องการจะมีความสัมพันธ์กับใคร อยากเจาะตลาดไหน ย่อมต้องสมาทานกฎหมายและนโยบายของประเทศเหล่านั้นเข้ามาเป็นมาตรฐานในการคุ้มครองของผู้บริโภคในตลาดนั้นด้วย

หากประเทศไทยมุ่งไปในตลาดของประเทศกำลังพัฒนา หรือไร้มาตรการดูแลผู้บริโภคในตลาด สิ่งที่ต้องเผชิญก็คือ ความไม่แน่นอนของตลาด เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนแน่นอนมั่นคง  การบุกไปตลาดเหล่านั้นก็จะมีต้นทุนเพิ่ม หรือต้นทุนแอบแฝง เนื่องจากต้องคอยประสานกับรัฐ หรือกลุ่มที่มีอิทธิพลในตลาดเหล่านั้น  หรือจ่ายเบี้ยบ้ายรายทาง โดยที่ไม่แน่ใจว่าวันนึงจะถูกสั่งปิด หรือสั่งให้ทำอะไรที่ทำลายแบรนด์และความน่าเชื่อถือของบริษัทตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลประเทศที่ไปลงทุนหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราตกไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไร้มาตรการปกป้องผู้บริโภค และไม่มีหลักประกันสิทธิผู้ใช้บริการที่คำนึงสิทธิมนุษยชนแล้ว  ตลาดของประเทศไทยก็จะเป็น “ท่าเรือที่ไม่น่าเข้าเทียบจอด” เพราะไม่อาจประกันความปลอดภัยให้กับชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการทางดิจิทัลได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามโครงการ ดิจิทัลฮับ ของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ดังนี้  

หากประเทศไทยอยากดึงดูดบริษัทดิจิทัลชั้นนำของโลกให้มาตั้งเซิร์ฟเวอร์หรือวางระบบปฏิบัติการของตนในประเทศไทย   ที่ปรึกษาของบรรษัททั้งหลายก็จะพิจารณาก่อนว่าหากนำ “ทรัพย์สินและระบบ” ของตนไปวางในราชอาณาจักรไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายใดบ้าง?

ประเด็นกฎหมายที่กำลังมาแรงและเป็นประเด็นหลักในการพิจารณาของธุรกิจดิจิทัล คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เนื่องจากผู้บริโภคตื่นตัวหลังจากมีเปิดเผยให้เห็นว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานความมั่นคงของรัฐแฮ็ค ดักข้อมูล หรือมีข้อตกลงกับบรรษัท โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายความมั่นคงของรัฐ ทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อเทคโนโลยีลดลง และมีการเลิกใช้บริการของบางบริษัทที่มีข่าวว่าร่วมมือกับรัฐบาล หรือไม่มีมาตรการที่ดีพอในการปกป้องประชาชน  นั่นคือ แบรนด์ของบริษัทเสียหาย

ในทางกลับกัน ถ้ากฎหมายภายในของไทยมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคต่ำ บริษัทสัญชาติไทยก็เข้าไปดำเนินธุรกิจในตลาดที่มาตรฐานสูงกว่าไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไข “ห้ามส่งข้อมูลไปยังดินแดนที่มาตรฐานต่ำกว่า” ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทย และหน่วยงานที่ผลักดันโครงการดิจิทัลฮับทราบหรือไม่!!!

หากประเทศไทยอยากจะเป็น ดิจิทัลฮับระดับโลก ที่สามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำให้เข้ามาลงทุน หรือส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติไทย หรือบริษัทที่มาฝากระบบไว้ในดินแดนไทย สามารถเจาะตลาดอื่นได้ โดยเฉพาะตลาดที่ยั่งยืนมั่นคงและมีกำลังซื้อสูงแล้วอย่าง ตลาดประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย

การมีกฎหมายและนโยบายที่ประกันสิทธิของผู้บริโภค จึงเป็นทั้งเสาหลักและสปริงบอร์ดให้สตาร์ทอัพดิจิทัลของไทย และเป็นหลักประกันความมั่นใจให้บริษัทดิจิทัลใหญ่ๆทั่วโลกตัดสินใจมาฝากระบบไว้ในประเทศ

การปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกลุ่มประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยในปี 2016 จึงเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมารฐานระหว่างประเทศร่วมกันในระดับโลก

คำถามคือไทยมีพระราชาบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล “ที่ได้มาตรฐานสากล” หรือไม่?

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี