Skip to main content

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับการกำกับตลาดไม่ให้ล้มเหลวด้วยนั่นเอง 

การผูกขาดด้วยผู้เล่นน้อยรายในตลาด (Oligopolies) เกิดจากบรรษัทที่อยู่ในตลาดธุรกิจนั้นแทนที่จะแข่งขันกันแต่กลับมีแนวโน้มจะ “ฮั้ว” กันเพื่อมิให้เกิดการต่อสู้ฆ่าฟันกันเองจนพังพาบกันไปทุกฝ่าย   ในงานของ ศ.ชอง ติโรล ได้ยกตัวอย่างภาคธุรกิจการเงินที่มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวนน้อยตกลงกันเพื่อมิให้ปล่อยสินค้า โปรโมชั่น หรือบริการบางอย่าง ออกมาตัดราคา หรือสร้างแรงจูงใจลุกค้ามาก จนเกิดการต้องหั่นกำไรเข้าสู้

ตลาดที่ไม่มีการแข่งขัน สร้างผลเสียที่เกิดขึ้นนอกจากที่รู้กันอย่างแน่ชัด คือ ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลงเพราะขาดการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า แต่สิ่งที่ใหญ่กว่า คือ กลไกตลาดที่จะผลักดันให้บรรษัทปรับตัว คิดค้นนวัตกรรมทางการบริหาร หรือบริการ ใหม่ๆ เพื่อทำให้บรรษัทมีศักยภาพในการผลิต ให้บริการกับลูกค้า อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง และเป้าหมายสูงสุด คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพจึงไม่เกิดขึ้น

การกำกับผูกขาดน้อยรายนั้นทำผ่านเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น กฎหมายแข่งขันทางการค้า/ป้องกันการผูกขาด  แต่อย่างที่ทราบกันว่า ตลาดธุรกิจบริการ (Services) ไม่เหมือนกับ ตลาดธุรกิจสินค้า (Goods)   เนื่องจากการบางธุรกิจต้องมีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมระบบการให้บริการระหว่างบรรษัทต่างๆที่ให้บริการลูกค้าแต่ละยี่ห้อ   ภาคบริการจึงมักมีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับควบคุม เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

การสร้างระบบกำกับตลาด (Market Regulation) ใน กฎหมายป้องกันการผูกขาด หรือ กฎหมายการลงทุน หรือกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศภาคบริการ   กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (Corporate) ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนไม่น้อยกล่าวถึงการบริหารแบบบรรษัทภิบาล หรือการสร้างกลไกรัฐหรือ องค์กรอิสระมากำกับเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล แล้วนำไปสู่การแข่งขันในตลาดเพิ่มประสิทธิภาพ

สิ่งที่เป็นผลผลิตของเรื่องนี้โดยตรง คือ ประมวลจริยธรรมของบรรษัทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Code of Conduct on Corporate Social Responsibility - CSR) ซึ่งมีเนื้อหาหลักคือ การบริหารภายในทุกขั้นตอนรวมไปถึงกิจกรรมต่อสังคมภายนอกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน

ตัวอย่างภาคการเงินที่เห็นกันเยอะมาก คือ การตบแต่งบัญชีเพื่อหลอกลวงผู้ถือหุ้น และผลักภาระความเสียหายไปจากผู้บริหาร จนผลนำไปสู่วิกฤตกาลทางการเงินครั้งใหญ่ที่รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีคนทั้งรัฐมาพยุง    รวมไปถึงกรณีบริษัทที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน จนเป็นคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจนบรรษัทต้องจ่ายค่าเสียหายกระเทือนผู้ถือหุ้น แต่ที่สำคัญกว่า คือ ทำให้คนในท้องถิ่นตาย และเกิดความขัดแย้งวุ่นวายตามมา

ในกระแสกฎหมายระหว่างประเทศทั้งทางเศรษฐกิจหรือสิทธิมนุษยชน ล้วนเห็นความสำคัญของบรรษัทและสร้างกฎหมายแล้วนำไปปรับสร้างกลไกภายในรัฐจำนวนมาก เพื่อป้องกันมิให้การกระทบกระทั่งของการทำธุรกิจของบรรษัทสร้างความขัดแย้งลุกลามตามมาจนคุกคามสันติภาพ

ถามว่าเกี่ยวข้องอย่างไร   ในศาสตร์แห่งการจัดการความขัดแย้ง มักจะเริ่มต้นด้วยการมองหาสาเหตุว่า ผู้เล่นกลุ่มใดที่ไม่ลงรอยกัน มีผลประโยชน์ใดที่ขัดกันอยู่ และปัญหานั้นมีกติกาวางกรอบการแข่งขัน หรือระงับข้อพิพาทอย่างไร   โดยปฏิเสธมิได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองไทยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ 

ศ.ดร.เบนเนดิค แอนเดอร์สัน ผู้เขียน Imagined Community วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยว่า สาเหตุสำคัญมาจากชนชั้นนำไทยที่ผูกขาดอำนาจอยู่ไม่กี่กลุ่มแบบ "Oligarchy" กำลังทะเลาะกันเพราะยังแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว    ซึ่งเราก็เห็นภาวะหวาดระแวงนี้

สอดคล้องกับ ศ.ดร.ดันแคน แม็คคาร์โก้ ที่วิเคราะห์ว่า ชนชั้นนำไทยที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจก็เนื่องมาจากการมีอิทธิพลการเมืองเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (Network>>>>>) ซึ่งเราก็เห็นเป็นระยะว่ามีพลังเหนือกว่าการกำกับของกฎหมายทั้งหลายมาก

เช่นเดียวกับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ย้ำเตือนให้ระวังการ "เกี้ยเซี๊ยะ" ของชนชั้นนำ ไม่กี่กลุ่มที่เมื่อตกลงผลประโยชน์กันลงตัวหลังฉาก  แม้หน้าฉากจะเล่นละครไปให้มวลชนมีหวัง แต่สุดท้ายอาจเป็นเพียงฝันลมๆแล้งๆได้

การผูกขาดอำนาจของคนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดวิกฤตในสังคมการเมือง เนื่องจากสร้างวิกฤตความชอบธรรม และทำลายระบบต่างๆ ตามครรลองประชาธิปไตย สาเหตุหลักของความขัดแย้งและด้อยพัฒนา ก็เพราะคนกลุ่มน้อยใช้อำนาจการเมืองผูกขาดเศรษฐกิจกันนี่แหละ   ถ้าจะแก้ความขัดแย้งทางการเมือง จะต้องจัดการปัญหาทางเศรษฐกิจ นั่นคือ การกำกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดน้อยราย ที่เป็นผู้กุมอำนาจด้วยเสมอ

หากจะสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคง ก็ต้องเพิ่ม "ส่วนแบ่ง" ทางเศรษฐกิจให้คนจำนวนมากเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย   มวลชน จึงจะกลายเป็น พลเมือง ที่ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

ส่วนโนเบลนี่ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่อง "การกำหนดวาระการเมืองของชนชั้นนำยุโรป"   การมอบรางวัลปีนี้ให้กับ นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่ชี้เรื่องความฟอนเฟะของการกำกับสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 
ซึ่งทำงานให้/เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับ ผู้อำนวยการสตรีฝรั่งเศส IMF จึงเป็นการ เอาคืนของ ชนชั้นนำยุโรป 

 
 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ