Skip to main content

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับการกำกับตลาดไม่ให้ล้มเหลวด้วยนั่นเอง 

การผูกขาดด้วยผู้เล่นน้อยรายในตลาด (Oligopolies) เกิดจากบรรษัทที่อยู่ในตลาดธุรกิจนั้นแทนที่จะแข่งขันกันแต่กลับมีแนวโน้มจะ “ฮั้ว” กันเพื่อมิให้เกิดการต่อสู้ฆ่าฟันกันเองจนพังพาบกันไปทุกฝ่าย   ในงานของ ศ.ชอง ติโรล ได้ยกตัวอย่างภาคธุรกิจการเงินที่มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวนน้อยตกลงกันเพื่อมิให้ปล่อยสินค้า โปรโมชั่น หรือบริการบางอย่าง ออกมาตัดราคา หรือสร้างแรงจูงใจลุกค้ามาก จนเกิดการต้องหั่นกำไรเข้าสู้

ตลาดที่ไม่มีการแข่งขัน สร้างผลเสียที่เกิดขึ้นนอกจากที่รู้กันอย่างแน่ชัด คือ ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลงเพราะขาดการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า แต่สิ่งที่ใหญ่กว่า คือ กลไกตลาดที่จะผลักดันให้บรรษัทปรับตัว คิดค้นนวัตกรรมทางการบริหาร หรือบริการ ใหม่ๆ เพื่อทำให้บรรษัทมีศักยภาพในการผลิต ให้บริการกับลูกค้า อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง และเป้าหมายสูงสุด คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพจึงไม่เกิดขึ้น

การกำกับผูกขาดน้อยรายนั้นทำผ่านเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น กฎหมายแข่งขันทางการค้า/ป้องกันการผูกขาด  แต่อย่างที่ทราบกันว่า ตลาดธุรกิจบริการ (Services) ไม่เหมือนกับ ตลาดธุรกิจสินค้า (Goods)   เนื่องจากการบางธุรกิจต้องมีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมระบบการให้บริการระหว่างบรรษัทต่างๆที่ให้บริการลูกค้าแต่ละยี่ห้อ   ภาคบริการจึงมักมีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับควบคุม เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

การสร้างระบบกำกับตลาด (Market Regulation) ใน กฎหมายป้องกันการผูกขาด หรือ กฎหมายการลงทุน หรือกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศภาคบริการ   กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (Corporate) ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนไม่น้อยกล่าวถึงการบริหารแบบบรรษัทภิบาล หรือการสร้างกลไกรัฐหรือ องค์กรอิสระมากำกับเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล แล้วนำไปสู่การแข่งขันในตลาดเพิ่มประสิทธิภาพ

สิ่งที่เป็นผลผลิตของเรื่องนี้โดยตรง คือ ประมวลจริยธรรมของบรรษัทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Code of Conduct on Corporate Social Responsibility - CSR) ซึ่งมีเนื้อหาหลักคือ การบริหารภายในทุกขั้นตอนรวมไปถึงกิจกรรมต่อสังคมภายนอกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน

ตัวอย่างภาคการเงินที่เห็นกันเยอะมาก คือ การตบแต่งบัญชีเพื่อหลอกลวงผู้ถือหุ้น และผลักภาระความเสียหายไปจากผู้บริหาร จนผลนำไปสู่วิกฤตกาลทางการเงินครั้งใหญ่ที่รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีคนทั้งรัฐมาพยุง    รวมไปถึงกรณีบริษัทที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน จนเป็นคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจนบรรษัทต้องจ่ายค่าเสียหายกระเทือนผู้ถือหุ้น แต่ที่สำคัญกว่า คือ ทำให้คนในท้องถิ่นตาย และเกิดความขัดแย้งวุ่นวายตามมา

ในกระแสกฎหมายระหว่างประเทศทั้งทางเศรษฐกิจหรือสิทธิมนุษยชน ล้วนเห็นความสำคัญของบรรษัทและสร้างกฎหมายแล้วนำไปปรับสร้างกลไกภายในรัฐจำนวนมาก เพื่อป้องกันมิให้การกระทบกระทั่งของการทำธุรกิจของบรรษัทสร้างความขัดแย้งลุกลามตามมาจนคุกคามสันติภาพ

ถามว่าเกี่ยวข้องอย่างไร   ในศาสตร์แห่งการจัดการความขัดแย้ง มักจะเริ่มต้นด้วยการมองหาสาเหตุว่า ผู้เล่นกลุ่มใดที่ไม่ลงรอยกัน มีผลประโยชน์ใดที่ขัดกันอยู่ และปัญหานั้นมีกติกาวางกรอบการแข่งขัน หรือระงับข้อพิพาทอย่างไร   โดยปฏิเสธมิได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองไทยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ 

ศ.ดร.เบนเนดิค แอนเดอร์สัน ผู้เขียน Imagined Community วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยว่า สาเหตุสำคัญมาจากชนชั้นนำไทยที่ผูกขาดอำนาจอยู่ไม่กี่กลุ่มแบบ "Oligarchy" กำลังทะเลาะกันเพราะยังแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว    ซึ่งเราก็เห็นภาวะหวาดระแวงนี้

สอดคล้องกับ ศ.ดร.ดันแคน แม็คคาร์โก้ ที่วิเคราะห์ว่า ชนชั้นนำไทยที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจก็เนื่องมาจากการมีอิทธิพลการเมืองเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (Network>>>>>) ซึ่งเราก็เห็นเป็นระยะว่ามีพลังเหนือกว่าการกำกับของกฎหมายทั้งหลายมาก

เช่นเดียวกับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ย้ำเตือนให้ระวังการ "เกี้ยเซี๊ยะ" ของชนชั้นนำ ไม่กี่กลุ่มที่เมื่อตกลงผลประโยชน์กันลงตัวหลังฉาก  แม้หน้าฉากจะเล่นละครไปให้มวลชนมีหวัง แต่สุดท้ายอาจเป็นเพียงฝันลมๆแล้งๆได้

การผูกขาดอำนาจของคนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดวิกฤตในสังคมการเมือง เนื่องจากสร้างวิกฤตความชอบธรรม และทำลายระบบต่างๆ ตามครรลองประชาธิปไตย สาเหตุหลักของความขัดแย้งและด้อยพัฒนา ก็เพราะคนกลุ่มน้อยใช้อำนาจการเมืองผูกขาดเศรษฐกิจกันนี่แหละ   ถ้าจะแก้ความขัดแย้งทางการเมือง จะต้องจัดการปัญหาทางเศรษฐกิจ นั่นคือ การกำกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดน้อยราย ที่เป็นผู้กุมอำนาจด้วยเสมอ

หากจะสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคง ก็ต้องเพิ่ม "ส่วนแบ่ง" ทางเศรษฐกิจให้คนจำนวนมากเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย   มวลชน จึงจะกลายเป็น พลเมือง ที่ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

ส่วนโนเบลนี่ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่อง "การกำหนดวาระการเมืองของชนชั้นนำยุโรป"   การมอบรางวัลปีนี้ให้กับ นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่ชี้เรื่องความฟอนเฟะของการกำกับสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 
ซึ่งทำงานให้/เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับ ผู้อำนวยการสตรีฝรั่งเศส IMF จึงเป็นการ เอาคืนของ ชนชั้นนำยุโรป 

 
 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม