Skip to main content

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับการกำกับตลาดไม่ให้ล้มเหลวด้วยนั่นเอง 

การผูกขาดด้วยผู้เล่นน้อยรายในตลาด (Oligopolies) เกิดจากบรรษัทที่อยู่ในตลาดธุรกิจนั้นแทนที่จะแข่งขันกันแต่กลับมีแนวโน้มจะ “ฮั้ว” กันเพื่อมิให้เกิดการต่อสู้ฆ่าฟันกันเองจนพังพาบกันไปทุกฝ่าย   ในงานของ ศ.ชอง ติโรล ได้ยกตัวอย่างภาคธุรกิจการเงินที่มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวนน้อยตกลงกันเพื่อมิให้ปล่อยสินค้า โปรโมชั่น หรือบริการบางอย่าง ออกมาตัดราคา หรือสร้างแรงจูงใจลุกค้ามาก จนเกิดการต้องหั่นกำไรเข้าสู้

ตลาดที่ไม่มีการแข่งขัน สร้างผลเสียที่เกิดขึ้นนอกจากที่รู้กันอย่างแน่ชัด คือ ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลงเพราะขาดการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า แต่สิ่งที่ใหญ่กว่า คือ กลไกตลาดที่จะผลักดันให้บรรษัทปรับตัว คิดค้นนวัตกรรมทางการบริหาร หรือบริการ ใหม่ๆ เพื่อทำให้บรรษัทมีศักยภาพในการผลิต ให้บริการกับลูกค้า อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง และเป้าหมายสูงสุด คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพจึงไม่เกิดขึ้น

การกำกับผูกขาดน้อยรายนั้นทำผ่านเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น กฎหมายแข่งขันทางการค้า/ป้องกันการผูกขาด  แต่อย่างที่ทราบกันว่า ตลาดธุรกิจบริการ (Services) ไม่เหมือนกับ ตลาดธุรกิจสินค้า (Goods)   เนื่องจากการบางธุรกิจต้องมีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมระบบการให้บริการระหว่างบรรษัทต่างๆที่ให้บริการลูกค้าแต่ละยี่ห้อ   ภาคบริการจึงมักมีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับควบคุม เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

การสร้างระบบกำกับตลาด (Market Regulation) ใน กฎหมายป้องกันการผูกขาด หรือ กฎหมายการลงทุน หรือกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศภาคบริการ   กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (Corporate) ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนไม่น้อยกล่าวถึงการบริหารแบบบรรษัทภิบาล หรือการสร้างกลไกรัฐหรือ องค์กรอิสระมากำกับเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล แล้วนำไปสู่การแข่งขันในตลาดเพิ่มประสิทธิภาพ

สิ่งที่เป็นผลผลิตของเรื่องนี้โดยตรง คือ ประมวลจริยธรรมของบรรษัทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Code of Conduct on Corporate Social Responsibility - CSR) ซึ่งมีเนื้อหาหลักคือ การบริหารภายในทุกขั้นตอนรวมไปถึงกิจกรรมต่อสังคมภายนอกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน

ตัวอย่างภาคการเงินที่เห็นกันเยอะมาก คือ การตบแต่งบัญชีเพื่อหลอกลวงผู้ถือหุ้น และผลักภาระความเสียหายไปจากผู้บริหาร จนผลนำไปสู่วิกฤตกาลทางการเงินครั้งใหญ่ที่รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีคนทั้งรัฐมาพยุง    รวมไปถึงกรณีบริษัทที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน จนเป็นคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจนบรรษัทต้องจ่ายค่าเสียหายกระเทือนผู้ถือหุ้น แต่ที่สำคัญกว่า คือ ทำให้คนในท้องถิ่นตาย และเกิดความขัดแย้งวุ่นวายตามมา

ในกระแสกฎหมายระหว่างประเทศทั้งทางเศรษฐกิจหรือสิทธิมนุษยชน ล้วนเห็นความสำคัญของบรรษัทและสร้างกฎหมายแล้วนำไปปรับสร้างกลไกภายในรัฐจำนวนมาก เพื่อป้องกันมิให้การกระทบกระทั่งของการทำธุรกิจของบรรษัทสร้างความขัดแย้งลุกลามตามมาจนคุกคามสันติภาพ

ถามว่าเกี่ยวข้องอย่างไร   ในศาสตร์แห่งการจัดการความขัดแย้ง มักจะเริ่มต้นด้วยการมองหาสาเหตุว่า ผู้เล่นกลุ่มใดที่ไม่ลงรอยกัน มีผลประโยชน์ใดที่ขัดกันอยู่ และปัญหานั้นมีกติกาวางกรอบการแข่งขัน หรือระงับข้อพิพาทอย่างไร   โดยปฏิเสธมิได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองไทยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ 

ศ.ดร.เบนเนดิค แอนเดอร์สัน ผู้เขียน Imagined Community วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยว่า สาเหตุสำคัญมาจากชนชั้นนำไทยที่ผูกขาดอำนาจอยู่ไม่กี่กลุ่มแบบ "Oligarchy" กำลังทะเลาะกันเพราะยังแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว    ซึ่งเราก็เห็นภาวะหวาดระแวงนี้

สอดคล้องกับ ศ.ดร.ดันแคน แม็คคาร์โก้ ที่วิเคราะห์ว่า ชนชั้นนำไทยที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจก็เนื่องมาจากการมีอิทธิพลการเมืองเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (Network>>>>>) ซึ่งเราก็เห็นเป็นระยะว่ามีพลังเหนือกว่าการกำกับของกฎหมายทั้งหลายมาก

เช่นเดียวกับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ย้ำเตือนให้ระวังการ "เกี้ยเซี๊ยะ" ของชนชั้นนำ ไม่กี่กลุ่มที่เมื่อตกลงผลประโยชน์กันลงตัวหลังฉาก  แม้หน้าฉากจะเล่นละครไปให้มวลชนมีหวัง แต่สุดท้ายอาจเป็นเพียงฝันลมๆแล้งๆได้

การผูกขาดอำนาจของคนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดวิกฤตในสังคมการเมือง เนื่องจากสร้างวิกฤตความชอบธรรม และทำลายระบบต่างๆ ตามครรลองประชาธิปไตย สาเหตุหลักของความขัดแย้งและด้อยพัฒนา ก็เพราะคนกลุ่มน้อยใช้อำนาจการเมืองผูกขาดเศรษฐกิจกันนี่แหละ   ถ้าจะแก้ความขัดแย้งทางการเมือง จะต้องจัดการปัญหาทางเศรษฐกิจ นั่นคือ การกำกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดน้อยราย ที่เป็นผู้กุมอำนาจด้วยเสมอ

หากจะสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคง ก็ต้องเพิ่ม "ส่วนแบ่ง" ทางเศรษฐกิจให้คนจำนวนมากเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย   มวลชน จึงจะกลายเป็น พลเมือง ที่ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

ส่วนโนเบลนี่ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่อง "การกำหนดวาระการเมืองของชนชั้นนำยุโรป"   การมอบรางวัลปีนี้ให้กับ นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่ชี้เรื่องความฟอนเฟะของการกำกับสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 
ซึ่งทำงานให้/เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับ ผู้อำนวยการสตรีฝรั่งเศส IMF จึงเป็นการ เอาคืนของ ชนชั้นนำยุโรป 

 
 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห