Skip to main content

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับการกำกับตลาดไม่ให้ล้มเหลวด้วยนั่นเอง 

การผูกขาดด้วยผู้เล่นน้อยรายในตลาด (Oligopolies) เกิดจากบรรษัทที่อยู่ในตลาดธุรกิจนั้นแทนที่จะแข่งขันกันแต่กลับมีแนวโน้มจะ “ฮั้ว” กันเพื่อมิให้เกิดการต่อสู้ฆ่าฟันกันเองจนพังพาบกันไปทุกฝ่าย   ในงานของ ศ.ชอง ติโรล ได้ยกตัวอย่างภาคธุรกิจการเงินที่มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวนน้อยตกลงกันเพื่อมิให้ปล่อยสินค้า โปรโมชั่น หรือบริการบางอย่าง ออกมาตัดราคา หรือสร้างแรงจูงใจลุกค้ามาก จนเกิดการต้องหั่นกำไรเข้าสู้

ตลาดที่ไม่มีการแข่งขัน สร้างผลเสียที่เกิดขึ้นนอกจากที่รู้กันอย่างแน่ชัด คือ ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลงเพราะขาดการแข่งขันแย่งชิงลูกค้า แต่สิ่งที่ใหญ่กว่า คือ กลไกตลาดที่จะผลักดันให้บรรษัทปรับตัว คิดค้นนวัตกรรมทางการบริหาร หรือบริการ ใหม่ๆ เพื่อทำให้บรรษัทมีศักยภาพในการผลิต ให้บริการกับลูกค้า อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง และเป้าหมายสูงสุด คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพจึงไม่เกิดขึ้น

การกำกับผูกขาดน้อยรายนั้นทำผ่านเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น กฎหมายแข่งขันทางการค้า/ป้องกันการผูกขาด  แต่อย่างที่ทราบกันว่า ตลาดธุรกิจบริการ (Services) ไม่เหมือนกับ ตลาดธุรกิจสินค้า (Goods)   เนื่องจากการบางธุรกิจต้องมีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมระบบการให้บริการระหว่างบรรษัทต่างๆที่ให้บริการลูกค้าแต่ละยี่ห้อ   ภาคบริการจึงมักมีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับควบคุม เช่น การสื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

การสร้างระบบกำกับตลาด (Market Regulation) ใน กฎหมายป้องกันการผูกขาด หรือ กฎหมายการลงทุน หรือกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศภาคบริการ   กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (Corporate) ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนไม่น้อยกล่าวถึงการบริหารแบบบรรษัทภิบาล หรือการสร้างกลไกรัฐหรือ องค์กรอิสระมากำกับเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล แล้วนำไปสู่การแข่งขันในตลาดเพิ่มประสิทธิภาพ

สิ่งที่เป็นผลผลิตของเรื่องนี้โดยตรง คือ ประมวลจริยธรรมของบรรษัทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Code of Conduct on Corporate Social Responsibility - CSR) ซึ่งมีเนื้อหาหลักคือ การบริหารภายในทุกขั้นตอนรวมไปถึงกิจกรรมต่อสังคมภายนอกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน

ตัวอย่างภาคการเงินที่เห็นกันเยอะมาก คือ การตบแต่งบัญชีเพื่อหลอกลวงผู้ถือหุ้น และผลักภาระความเสียหายไปจากผู้บริหาร จนผลนำไปสู่วิกฤตกาลทางการเงินครั้งใหญ่ที่รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีคนทั้งรัฐมาพยุง    รวมไปถึงกรณีบริษัทที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน จนเป็นคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจนบรรษัทต้องจ่ายค่าเสียหายกระเทือนผู้ถือหุ้น แต่ที่สำคัญกว่า คือ ทำให้คนในท้องถิ่นตาย และเกิดความขัดแย้งวุ่นวายตามมา

ในกระแสกฎหมายระหว่างประเทศทั้งทางเศรษฐกิจหรือสิทธิมนุษยชน ล้วนเห็นความสำคัญของบรรษัทและสร้างกฎหมายแล้วนำไปปรับสร้างกลไกภายในรัฐจำนวนมาก เพื่อป้องกันมิให้การกระทบกระทั่งของการทำธุรกิจของบรรษัทสร้างความขัดแย้งลุกลามตามมาจนคุกคามสันติภาพ

ถามว่าเกี่ยวข้องอย่างไร   ในศาสตร์แห่งการจัดการความขัดแย้ง มักจะเริ่มต้นด้วยการมองหาสาเหตุว่า ผู้เล่นกลุ่มใดที่ไม่ลงรอยกัน มีผลประโยชน์ใดที่ขัดกันอยู่ และปัญหานั้นมีกติกาวางกรอบการแข่งขัน หรือระงับข้อพิพาทอย่างไร   โดยปฏิเสธมิได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองไทยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ 

ศ.ดร.เบนเนดิค แอนเดอร์สัน ผู้เขียน Imagined Community วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยว่า สาเหตุสำคัญมาจากชนชั้นนำไทยที่ผูกขาดอำนาจอยู่ไม่กี่กลุ่มแบบ "Oligarchy" กำลังทะเลาะกันเพราะยังแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว    ซึ่งเราก็เห็นภาวะหวาดระแวงนี้

สอดคล้องกับ ศ.ดร.ดันแคน แม็คคาร์โก้ ที่วิเคราะห์ว่า ชนชั้นนำไทยที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจก็เนื่องมาจากการมีอิทธิพลการเมืองเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (Network>>>>>) ซึ่งเราก็เห็นเป็นระยะว่ามีพลังเหนือกว่าการกำกับของกฎหมายทั้งหลายมาก

เช่นเดียวกับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ย้ำเตือนให้ระวังการ "เกี้ยเซี๊ยะ" ของชนชั้นนำ ไม่กี่กลุ่มที่เมื่อตกลงผลประโยชน์กันลงตัวหลังฉาก  แม้หน้าฉากจะเล่นละครไปให้มวลชนมีหวัง แต่สุดท้ายอาจเป็นเพียงฝันลมๆแล้งๆได้

การผูกขาดอำนาจของคนกลุ่มน้อย ทำให้เกิดวิกฤตในสังคมการเมือง เนื่องจากสร้างวิกฤตความชอบธรรม และทำลายระบบต่างๆ ตามครรลองประชาธิปไตย สาเหตุหลักของความขัดแย้งและด้อยพัฒนา ก็เพราะคนกลุ่มน้อยใช้อำนาจการเมืองผูกขาดเศรษฐกิจกันนี่แหละ   ถ้าจะแก้ความขัดแย้งทางการเมือง จะต้องจัดการปัญหาทางเศรษฐกิจ นั่นคือ การกำกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดน้อยราย ที่เป็นผู้กุมอำนาจด้วยเสมอ

หากจะสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคง ก็ต้องเพิ่ม "ส่วนแบ่ง" ทางเศรษฐกิจให้คนจำนวนมากเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย   มวลชน จึงจะกลายเป็น พลเมือง ที่ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

ส่วนโนเบลนี่ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่อง "การกำหนดวาระการเมืองของชนชั้นนำยุโรป"   การมอบรางวัลปีนี้ให้กับ นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่ชี้เรื่องความฟอนเฟะของการกำกับสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 
ซึ่งทำงานให้/เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับ ผู้อำนวยการสตรีฝรั่งเศส IMF จึงเป็นการ เอาคืนของ ชนชั้นนำยุโรป 

 
 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจรัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคงขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)
ทศพล ทรรศนพรรณ
พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมบริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศลอาการ พร่องความดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาชนบทถือเป็นภารกิจของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคต้านภัยคอมมิวนิสต์ที่ต้องการขจัดภัยคุกคาม ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้มี น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก เพื่อขับไล่พวกที่ปลุกระดมโดยอาศัยความแร้นแค้นเป็นข้ออ้างให้ฝ่อไปเพราะเชื่อว่าเมื่อ “การพัฒนา” มาถึง คอมมิวนิสต์ก็จะแทรกซึมไม่ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน
ทศพล ทรรศนพรรณ
            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด