Skip to main content

การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว

สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ กระแสแบ่งแยกดินแดนมาแรงมากถึงขนาด เช่น คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศห้ามหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นติดธงสัญลักษณ์แคมเปญประกาศอิสรภาพคาตาลัน ซึ่งหมายความว่า การติดธงสัญลักษณ์จะช่วยให้พรรคที่ใช้ประเด็นแบ่งแยกดินแดนหาเสียงได้ประโยชน์จากตราสัญลักษณ์นี้   และก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำพิพากษาว่า โรงเรียนที่อยู่ในการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นคาตาลุนญ่าบังคับใช้ภาษาคาตาลันสอนวิชาต่างๆมากไป ต้องใช้ภาษาสเปนมากขึ้น ด้วย

คำถาม คือ ทำไมรัฐที่มั่นคงและมีบูรณภาพแห่งดินแดนมาช้านานจึงยังหลงเหลือไฟครุกรุ่นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางเชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์

หากวิเคราะห์จากฟากประชาชน สเปนก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นในยุโรปนัก คือ พรรคฝ่ายขวาสมาทานนโยบายเศรษฐกิจแบบลดรายจ่ายภาครัฐ ส่งเสริมบรรษัทและนายทุน   ส่วนพรรคมวลชนฝ่ายซ้ายก็ดูแลสมาชิกสหภาพรุ่นเก๋าจนคนรุ่นใหม่เสื่อมศรัทธาในพรรค 

ความล้มเหลวของพรรคการเมืองระดับชาติสเปน ทำให้คนผิดหวัง จึงถวิลหา "พรรคทางเลือกที่สาม" จนสเปนเกิดพรรคใหม่ที่ชื่อว่า “Podemos” (เราทำได้) ขึ้นมา

พรรค Podemos นี้เน้นโจมตีนโยบายพรรคเก่าๆที่คงนโยบายสร้าง ความเหลื่อมล้ำ รัดเข็มขัด และผูกขาดอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ   แล้วมามุ่งตอบสนองมวลชนอย่างถูกที่ถูกเวลา ตามความต้องการของมวลชน   กระแสตอบรับ Podemos จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแคว้นที่ไม่มีปัญหา "ชาติพันธุ์" ถึงขั้นเป็นความขัดแย้งอยากแยกดินแดน   

แต่ในแคว้นที่มีรากเหง้าความขัดแย้งจากปัญหาชาติพันธุ์ ความอ่อนด้อยของพรรคทั้งสองทำให้เกิด “ความแหลมคม” ของสถานการณ์ เนื่องจากในแคว้นเหล่านี้ไม่น้อยมีความรู้สึกว่าไม่ด้อยกว่า คนคาสตีญ่า(แถบเมืองหลวงมาดริด) หรือคนอัลดาลูซ(แคว้นใหญ่สุดทางตอนใต้ใกล้อัฟริกา) และรู้สึก “แปลกแยก” จากคนสเปน มิได้มีสำนึกว่าเป็นคนชาติ เอสปันญ่อล เหมือนคนสเปนทั่วไป   จึงอยากจะออกแยกดินแดนออกไปบริหารงานเองดีกว่ากอดคอล่มสลายไปพร้อมกับเศรษฐกิจที่ร่อแร่ของสเปนในภาพรวม

สิ่งที่ต้องระลึกอย่าง คือ 19 เขตปกครองท้องถิ่นของสเปน มีความหลากหลายทางการเมืองมาก สเปนน่าจะถือว่าเป็นประเทศยุโรปที่มีการรวมศูนย์อำนาจน้อยสุด เนื่องจากมีการออกแบบเขตการปกครองระดับท้องถิ่นที่มีอำนาจการในการปกครองตนเองสูง สามารถบริหารจัดการนโยบายต่างๆได้อย่างเป็นอิสระมาก ริเริ่มโครงการและสวัสดิการทั้งหลายต่างไปจากเขตปกครองอื่นได้   หากจะเทียบเคียงก็ใกล้กับมลรัฐต่างๆในสหรัฐอเมริกา   โดยทั้งหมดอยู่ในร่มของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ความต้องการอิสระและการปกครองตนเองสูงมีที่มา สืบเนื่องจากความเจ็บปวดในช่วงสงครามกลางเมืองที่นายพลฟรังโกที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มอุดมการณ์ฝ่ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยลง แล้วสถาปนารัฐชาตินิยมฟาสซิสต์ขึ้นมา กดความแตกต่างหลากหลายในทุกภูมิภาคไว้ใต้ท้อปบู้ธนานนับ 40 ปี หลังจากระบอบเผด็จการล่มไปพร้อมกับความตายของฟรังโกในปี 1975 กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้มีการคิดค้นการสร้างสมดุลระหว่าง “อำนาจรัฐบาลส่วนกลาง” กับ “อำนาจรัฐบาลเขตปกครองท้องถิ่น” ให้เกิดความสมดุลเพื่อลดความตึงเครียดและความขัดแย้งภายในประเทศไว้เป็นสำคัญ จนกระทั่งประกาศใช้ในปี1978 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน   รัฐธรรมนูญสเปนจึงเป็นการลดความขัดแย้งของคนในชาติด้วยการ ขีดแบ่ง และจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ลงตัว

แต่เมื่อถึงระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในยุคนี้ที่ เศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายในชีวิตประจำวันของทุกคน การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ประชาชนพุ่งเป้าไปที่ความล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งขั้ว ซ้าย-ขวา ทำให้ประชาชนในแคว้นที่มีสำนึกเรื่องชาติที่แปลกแยกไปจากส่วนกลางอยู่แล้ว เริ่มหวนกลับมาคิดว่า จะฝากอนาคตไว้กับชนชั้นนำสเปน หรือจะแยกออกมาแล้วจัดการกันเอง ให้รอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจที่โหมซัดไปทั่วยุโรปใต้ได้อย่างไร

ดังนั้นชนชั้นนำและนักการเมืองท้องถิ่นในแคว้นที่มีประเด็นเรื่องชาติพันธุ์อยู่แล้ว เลยถือโอกาสเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในการปลุกกระแสแยกดินแดนไปเลย   ซึ่งก็ทำอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเปิดเผยเลยทีเดียว  อย่าง คาตาลุนญ่า บาสก์ และกาลีเซียง พรรคมวลชนที่มีกระแสดีระดับประเทศอย่าง Podemos ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับ กระแส "แยกดินแดน" หรือ "ชาติพันธุ์นิยม" ซึ่งมาแรงกว่า เพราะสามารถเชื่อมกลับไปยังรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ได้

การผลักดันแคมเปญโดยรัฐบาลแคว้นและนักการเมืองท้องถิ่นทำกันมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดระบอบเผด็จการ ก็มีการใช้จ่ายเพื่อสร้างการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกเช่นกัน  

การเมืองท้องถิ่น เลยใช้ประเด็นแยกดินแดนนี้มาหาเสียงแทนนโยบายอื่นๆ โดยผลักดันว่า ถ้าแยกมาบริหารเองจะดีกว่าไปผูกติดกับรัฐบาลกลางมาดริด และกลบความเน่าในที่เกิดจากการบริหารระดับท้องถิ่นเองด้วย

การเล่นเรื่องแยกดินแดน ได้ผลเนื่องจาก ประชาชนเบื่อหน่ายการบริหารงานแบบรวมศูนย์ของรัฐราชการสเปน และนักการเมืองท้องถิ่นก็เบี่ยงความเกลียดชังของประชาชนในแคว้นให้มุ่งไปโจมตีรัฐบาลกลาง พรรคระดับชาติ โดยฉวยใช้นโยบายชาตินิยมมาเป็นกุญแจสู่ชัยชนะ

การปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐราชการ และการตอบสนองความต้องการของมวลชนจึงเป็นวิธีการป้องกันกระแสแบ่งแยกดินแดนที่ยั่งยืน

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว