Skip to main content

            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า

            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด
            ศรัทธาต่อกฎหมาย เกิดขึ้นได้ ด้วยกฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
            Fidelity to the Law

            นัยยะของมันจริงๆ คือ ฝ่ายสำนักกฎหมายธรรมชาติเถียงว่า หากกฎหมายเป็นเพียงกฎใดๆที่ออกมาด้วยอำนาจของผู้ปกครองโดยไม่เชื่อมโยงกับศีลธรรมหรือความยุติธรรมตามธรรมชาติแล้ว ย่อมทำให้ความมุ่งมาดปรารถนาในการเคารพกฎหมายของประชาชนเสื่อมลงไปได้

            การออก/สร้างกฎหมายให้คนไว้ใจแหล่ะศรัทธานั้น จึงต้องการมากกว่าการเรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย แต่ผู้ปกครองต้องสร้างกฎหมายให้ประชาชนศรัทธาด้วยการสอดคล้องกับความยุติธรรมด้วย

            ซึ่งตอนหลัง ฮาร์ท ก็จะมาอธิบาย ที่ทำให้เข้าใจชัดขึ้นว่า สำนักกฎหมายบ้านเมืองไม่ได้บอกว่ากฎหมายเป็น คำสั่งอะไรก็ได้ของผู้ปกครอง แต่ต้องเป็นกฎหมายที่เชื่อมโยงกับกฎหมายอื่นๆ เช่น ออก พรบ.ก็ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายภายในก็ไม่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้กระทั่งจะเขียนสนธิสัญญาระหว่างประเทศยังต้องอยู่ภายใต้กรอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศ Erga Omnes ด้วยซ้ำ

             หรือ รัฐสมาชิกอียูจะออกกฎหมายภายในก็ต้องดูระบบกฎหมาย Supra National ของ EU ด้วย

            ความเข้าใจผิดต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้ปกครอง (เฉยๆ) นั้นตกยุคไปนานมาแล้ว ที่ชัดสุดก็คือ หลังชัยชนะของการปลดแอกประเทสอาณานิคมทั้งหลาย เช่น การต่อสู้ของมหาตมะคานธีด้วยวิถีแห่งสันติอหิงสา เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำสั่งของรัฐธิปัตย์ที่ไร้ความยุติธรรม ย่อมไม่นำมาสู่การเคารพกฎหมายโดยประชาชน

การกำหนดอนาคตตนเองของประชานด้วยอารยะขัดขืนได้รับการยอมรับตามระหว่างประเทศอย่างชัดเจนในยุคปลดแอกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ดู http://www.un-documents.net/a25r2625.htm)

นี่ตอบได้ด้วยว่าทำไม มหาตมะ คานธี ไม่ได้โนเบลสันติภาพ ก็เพราะตอนที่ทำ โลกตะวันตกมองว่านี่คือ คนที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายบั่นทอนความมั่นคงของรัฐ(ผู้ปกครอง) แต่เมื่อประชาชนชนะ รัฐอาณานิคมทยอยปลดแอกสำเร็จ จนเกิดปฏิญญา และ กติการสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ล้วนยอมรับ

            "สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของปวงชน" 

จึงเป็นการเริ่มต้นของ การยอมรับวิธีการต่อต้านรัฐโดยสันติวิธีตามเจตจำนงของประชาชน

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จึงได้รับโนเบลสาขาสันติภาพ แม้จะตกเป็นจำเลยในประเทศตนเองก็ตาม
 

            https://www.youtube.com/watch?v=ZzbKaDPMoDU

            เวลาพูดถึงความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน จึงพูดในประสบการณ์และความสัตย์ซื่อต่อกฎหมายและหลักการโดยเฉพาะในยุโรป

ส่วนสหรัฐเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่ามุ่งมั่นผลักดันสิทธิมนุษยชนเฉพาะนอกเขตอำนาจของตัวเอง

 

การซื่อสัตย์ต่อกฎหมาย จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายนั้นเป็นที่ยอมรับของประชาชน

 

            โดยประชาชนจะต่อต้านต่อผู้ปกครองเฉพาะกฎหมาย/นโยบายที่ไร้ความยุติธรรมเท่านั้น มิใช่มุ่งล้มการปกครองทั้งหมด จึงต้องยอมรับผลของกฎหมายในการกระทำต่อต้านนั้น และยอมอยู่ใต้ระบบกฎหมายและความยุติธรรมหลัก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคารพกฎหมายอย่างสุดซึ้ง มิได้มุ่งทำลายกฎหมาย โครงสร้างทั้งมวลของรัฐทิ้งเสียทั้งหมด แบบ "อนาธิปไตย"

 

ศรัทธาต่อกฎหมาย จึงเกิดขึ้นได้ด้วย กฎหมายที่ยุติธรรมเชื่อมโยงกับศีลธรรมทางสังคม (สำนักกฎหมายธรรมชาติ) และยึดโยงกับกฎหรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (สำนักกฎหมายบ้านเมือง)
            ซึ่งไม่อยากพูดอะไรเยอะน่ะครับ เพราะหนังสือนิติปรัชญาจำนวนมาก ของอาจารย์ที่เคารพก็เขียนทำให้เกิดความเข้าใจต่อ สำนักกฎหมายบ้านเมืองคลาดเคลื่อนอยู่เยอะมาก

            รศ.ดร.ไชยันตร์ รัชชะกูล ผู้สอน นิติปรัชญา ระดับมหาบัณฑิต จึงมีดำริว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ ควรเขียนนิติปรัชญารุ่นใหม่ ที่ไม่ตกหลุม

            คู่ตรงข้ามของ สำนักกฎหมายบ้านเมือง Vs สำนักกฎหมายธรรมชาติ
            เพราะในยุคหลังที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และสิทธิมนุษยชนเป็นค่านิยมหลักของโลก ทั้งสองสำนักได้เดินทางมาบรรจบกันแล้ว แม้ในเบื้องต้นจะมีจุดเริ่มคนละฟากฝั่งกัน

พวกบอกว่า คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ คือ กฎหมาย จึงเป็นพวกสำนักกฎหมายก่อนศตวรรษที่ 19 

ครับ นักกฎหมายไทยล้าหลังไปเกือบ 2 ศตวรรษ

อย่างไรก็ดีการทำให้คนทั้งสังคมเชื่อมมั่นศรัทธาและอยากปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปได้ยาก การเอากำลังหรืออำนาจกฎหมายเข้าไปบังคับปิดปากก็เป็นการขัดหลักการประกันเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

ดังนั้น "ทุกคน" คงยาก ทำได้มากสุด คือ โดดเดี่ยวพวกสุดโต่ง อะครับ 
คือ ต้องทำให้ความ คลั่ง........ เป็นสิ่งที่ไม่ "ชิค ชิค คูล คูล" ให้ได้ในท้ายที่สุด
เพราะในยุคโพสต์แมทีเรียล เซลฟ์รีเฟรกชั่นสำคัญสุด ถ้าทำแล้วดูไม่ดี ไม่เท่ห์ คนอื่นไม่สนใจ ก็อายกันเลยทีเดียว เพราะ หน้าตาภาพลักษณ์ คือต้นทุนสำคัญในการอยู่กับสังคมไทย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว